กรุงศรี ฟินโนเวต เปิดกองทุนใหม่ในชื่อ FINNOVERSE เดินหน้าลงทุนในกลุ่ม Decentralized Technology ตั้งแต่ Web3, Blockchain, DeFi, GameFi และ Metaverse วางแผนลงทุน 3 ปี ด้วยเงินทุน 1,000 ล้านบาท ด้าน Finnoventure Fund I ปัจจุบันมีพอร์ตการลงทุน 16 บริษัท และมีแผนปั้น 4 บริษัท เข้าตลาดหลักทรัพย์เร็วๆ นี้ ส่วนแผนปีหน้าเตรียมเปิดกองทุนใหม่ลงทุนสตาร์ทอัพระดับ Seed
แซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด มองว่า การเปิดกองทุน FINNOVERSE จะช่วยทรานส์ฟอร์มธนาคารเข้าสู่บล็อกเชนได้ นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเรื่องการจัดการระบบภายในธนาคาร เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในอนาคต นอกจากนี้บล็อกเชนยังช่วยลดต้นทุนในการให้บริการ เช่น ให้ระบบทำการจับคู่ลูกค้ากับผลิตภัณฑ์หรือบริการได้เองโดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล
สำหรับธุรกิจกลุ่ม Decentralized Technology นั้นจะใช้เงินลงทุนปีละ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นเวลา 3 ปี ทั้งหมด 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถูกแบ่งออกเป็น 5 ขา ได้แก่
Fund of Funds: โดยจะเลือกลงทุนใน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อิสราเอล เกาหลีใต้ และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
DeFi: มองหาธุรกิจที่ทำบริการใหม่ๆ และ Use Case ที่มีโอกาสเติบโต
Major Key Use Cases: ลงทุนในกลุ่ม GameFi / NFT / Metaverse / Web 3 ซึ่งในกลุ่มนี้ได้มีการลงทุนกับ Zipmex ในรอบ Series B
Protocol: ลงทุนกับ Blockchain สำหรับพัฒนาธุรกิจธนาคารในอนาคต
Infrastructure: ในกลุ่มนี้ได้ลงทุนกับ ADDX แพลตฟอร์มที่สามารถแปลงกองทุนปิดให้เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ในรอบ Pre-Series B
ซึ่งการลงทุนใน 5 ขานี้ เป็นกลยุทธ์เปลี่ยนธุรกิจธนาคารให้เป็น Banking as a service (BaaS) ที่มีทั้งการปล่อยสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มที่ไปลงทุน รองรับการถือสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าธนาคาร การออก Utility Token รวมไปถึงการวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ Bahtcoin ในอนาคต
สำหรับกลุ่ม Metaverse จะยังเป็นการลงทุนเพื่อนเรียนรู้ และเข้าไปทดลองทำธุรกิจในโลกเสมือนเพื่อรองรับอนาคต ส่วน GameFi จะลงทุนเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมด้านการชำระเงิน (Payment) และการดึงคนที่เล่นเกมเข้ามาเป็นลูกค้าในอนาคต
สำหรับ Finnoventure Fund I กองทุน 3,000 ล้านบาท ยังคงเน้นการลงทุนในสตาร์ทอัพไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระดับซีรีส์ A ขึ้นไป โฟกัสกับ 3 กลุ่มธุรกิจ คือ FinTech, Ecommerce และ Automotive () ปัจจุบันลงทุนไปแล้ว 16 บริษัท ในพอร์ตมีบริษัทที่เติบโตเป็นยูนิคอร์นไปแล้วอย่าง Flash Express และ Grab ที่ล่าสุดเข้าตลาดของสหรัฐได้สำเร็จ ส่วนอีก 4 บริษัท ที่คุณแซม ตั้งใจจะผลักดันเข้าตลาดหลักทรัพย์เร็วๆ นี้ ได้แก่ FINNOMENA, Wisesight, BUILKONE และ OMISE
สำหรับ Automotive นั้นปัจจุบันยังไม่อยู่ในพอร์ตการลงทุน เนื่องจากยังหาธุรกิจที่เหมาะสมกับการลงทุนไม่ได้ โดย คุณแซม กล่าวว่า “กำลังมองธุรกิจ EV อยู่ 2-3 บริษัท ที่สามารถสเกลต่อไปได้ ล่าสุดมีบริษัทที่พัฒนารถจักรยานยนต์ไฟฟ้า กับธุรกิจ EV Charger เข้ามาพูดคุยด้วย ซึ่งคาดว่าในอีก 1-2 ปีนีจะได้เห็นการลงทุนในกลุ่มนี้มากขึ้น”
*ผลการดำเนินงานของกองทุน Finnoventure Fund I นับแต่เริ่มเปิดกองทุนเมื่อเดือนธันวาคม 2564 ด้วยขนาดกองทุน 3,000 ล้านบาท มีการลงทุนไปแล้ว 2,620 ล้านบาท ยอดโอนแล้วที่ 1,560 ล้านบาท ล่าสุด มีการอนุมัติการลงทุนจากคณะกรรมการเรียบร้อยแล้ว 8 บริษัท (สำเร็จแล้ว 7 ราย และกำลังเจรจา 1 ราย) ใช้เงินลงทุนไปแล้ว 326.3 ล้านบาท
นอกจากกองทุน Finnoventure Fund I และ FINNOVERSE แล้ว กรุงศรี ฟินโนเวต ยังมีแผนจะเปิดกองทุนเพิ่มในปีหน้า 2566 ประมาณ 1,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนกับสตาร์ทอัพที่อยู่ในช่วงตั้งไข่เพื่อช่วยผลักดันให้เกิดการเติบโตและสเกลต่อไปได้ในอนาคต
“ปัจจุบันสตาร์ทอัพไทยขาดตอน ไม่มี Seed เข้ามาในระบบมากนัก ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดการที่ไม่มี dtac accelerate จึงไม่เกิดการ Incubate สตาร์ทอัพหน้าใหม่เข้ามาในระบบ ซึ่ง กรุงศรี ฟินโนเวต กำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยสตาร์ทอัพกลุ่มนี้ให้เติบโตและลงทุนได้ในระยะยาว” แซม กล่าว
นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และนายอรรถวิท รักจำรูญ กรรมการฯ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ลงพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือ…
บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) หรือ BSRC เปิดบ้านต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากหลากหลายสำนักที่เดินทางมาเยี่ยมชมโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Press Visit “BSRC:…
บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย ภายใต้คำมั่นสัญญา “ชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้” โดย นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ รับรางวัล…
Krungthai COMPASS มีมุมมองต่อยอดขายรถยนต์ไทยในปี 2567-68 อาจอยู่ในระดับต่ำที่ปีละ 0.6-0.61 ล้านคัน ลดลงจากค่าเฉลี่ยในอดีต (ปี 2564-66) เกือบ 25% โดยมีแรงกดดันหลักจาก 1) กำลังซื้อของผู้บริโภคที่แผ่วลง…
Huawei Cloud ผงาดขึ้นแท่นผู้นำระดับโลกในบริการคอนเทนเนอร์ คว้าอันดับ 1 ในรายงาน Omdia Universe: Cloud Container Management & Services, 2024-25 ตอกย้ำความเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยี…
ในยุคที่ผู้บริโภคใส่ใจในแบรนด์ที่สะท้อนรสนิยมและความสนใจของตัวเองมากขึ้น "Lifestyle Brand" หรือ "แบรนด์ไลฟ์สไตล์" จึงกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยสร้างความผูกพันอันแข็งแกร่งกับลูกค้า โดยนำเสนอมากกว่าแค่สินค้าหรือบริการ แต่เป็นการนำเสนอ "วิถีชีวิต" ที่ลูกค้าใฝ่ฝัน จากรายงาน Business of Fashion (BoF)…