การขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญที่จะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องมีการรวมพลังจากทุกภาคส่วน โดยทรู ดิจิทัล พาร์ค สถานที่บ่มเพาะสตาร์ทอัพ ได้ร่วมกับบริษัท นิวเอนเนอร์จี้ เน็กซัส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดโครงการ “Decarbonize Thailand Startup Sandbox” หรือ DTS พื้นที่โอกาสสำคัญสำหรับองค์กรชั้นนำและสตาร์ทอัพในการทดสอบนวัตกรรมเพื่อเร่งความเร็วให้อุตสาหกรรมของไทยบรรลุเป้าหมายในการลดคาร์บอน พร้อมสร้างอุตสาหกรรมใหม่จากคาร์บอนร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย (Thailand’s Zero Carbon Economy) รองรับความยั่งยืนในระยะยาว
โดยพันธมิตรองค์กรชั้นนำของไทยที่ให้การสนับสนุนโครงการ “Decarbonize Thailand Startup Sandbox” ประกอบด้วย กลุ่ม บี.กริม, เครือเจริญโภคภัณฑ์, บมจ.ไออาร์พีซี, บมจ. ปตท., บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ให้ความเห็นสอดคล้องกันว่า การมีพื้นที่เชื่อมต่อสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพกับภาคอุตสาหกรรม จะช่วยให้องค์กรก้าวสู่เป้าหมายการลดคาร์บอนได้เร็วยิ่งขึ้น จากไอเดียและนวัตกรรมใหม่ ๆ ของเหล่าสตาร์ทอัพ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีและมีความคล่องตัวสูง ทำงานได้รวดเร็ว ทำให้องค์กรลดระยะเวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพได้ทำงานร่วมกับองค์กรชั้นนำ เพื่อให้เข้าใจกระบวนการทำงานรู้ถึงปัญหาและพัฒนานวัตกรรมมาตอบโจทย์ความต้องการในเชิงพาณิชย์ได้ดียิ่งขึ้น
นพเดช กรรณสูต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานการลงทุน นวัตกรรม และความยั่งยืน กลุ่ม บี.กริม กล่าวว่า ได้ร่วมส่งเสริมสตาร์ทอัพในโครงการจำนวน 2 บริษัท ที่ต่างสร้างเทคโนโลยีตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมในการมุ่งไปสู่การลดคาร์บอน ได้แก่ PAC Corporation จากประเทศไทย เป็นผู้พัฒนาและสร้างโซลูชั่นด้านพลังงานในระบบปรับอากาศ และการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรม และ ANNEA จากประเทศเยอรมนี มุ่งเน้นเรื่องการสร้างประสิทธิภาพการผลิตพลังงานหมุนเวียน ด้วยเครือข่ายอัจฉริยะ ซึ่งทั้งสองรายต่างมีผลิตภัณฑ์และบริการที่ดี แต่อาจจะยังไม่ตอบโจทย์ตลาดทั้งหมด จึงแนะนำให้จัดทำ Innovation framework ทบทวนแผนกลยุทธ์การทำตลาด ปรับให้มีความเหมาะสมกับตลาด ร่วมค้นหาจุดเด่นเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ พร้อมกับใช้ Voice of Customer (VoC) ในการประเมินผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์และบริการตอบโจทย์ตลาดและกลุ่มลูกค้า โดยมีแผนต่อยอดพัฒนาสตาร์ทอัพ ทั้งการพัฒนาแพคเกจโซลูชั่น ในรูปแบบพันธมิตรทางธุรกิจ หรือการทำร่วมลงทุน (Joint ventures) ต่อไป
“กลุ่ม บี.กริม มีนโยบายมุ่งไปสู่ net zero ในปี 2050 โดยการมุ่งไปสู่การสร้างพลังงานสะอาด พลังงานทดแทนทั้ง การใช้โซลาร์เซลล์ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงได้ส่งเสริมพื้นที่ปลูกป่า พร้อมร่วมพัฒนาเทคโนโลยีในการกักเก็บคาร์บอนจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าไอน้ำ ตลอดจนการร่วมสนับสนุนตลาดซื้อขายคาร์บอน ซึ่งการร่วมหาโซลูชั่นขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050 และ Net-Zero ภายในปี 2065 ตามนโยบายของรัฐบาล จำเป็นต้องใช้การร่วมมือจากหลายภาคส่วน และต้องเลือกใช้เทคโนโลยีให้มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยในปัจจุบันมีหลายเทคโนโลยีที่กำลังศึกษา แต่ต้องเป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม ตอบโจทย์ภาคประชาชน และมีต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งบริษัทก็จะเดินหน้าผลักดันในเรื่องนี้ต่อเนื่องในทุกปี” นพเดช กล่าว
ด้าน สมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล และสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า การได้เข้าร่วมในงาน DTS ทำให้เห็นไอเดียใหม่ ๆ จากสตาร์ทอัพทั้งของไทยและต่างประเทศ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอย่างมาก และมีแนวคิดเชื่อมโยงกับการก้าวสู่ Net Zero ได้เกินความคาดหมาย แต่สิ่งที่นำเสนอบางอย่างก็ยังไม่ตอบโจทย์ขององค์กรทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การได้ทำงานร่วมกันจะทำให้สตาร์ทอัพมีความเข้าใจและเห็นภาพการทำงานขององค์กรขนาดใหญ่มากขึ้น รวมถึงได้มุมมองและโจทย์ เพื่อสตาร์ทอัพจะได้นำไปพัฒนาโซลูชั่นใหม่ ๆ มาตอบโจทย์ในเชิงพาณิชย์ เพราะเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันบางอย่างยังมีข้อจำกัดทางเทคนิค และไม่เพียงพอสำหรับการบรรลุเป้าหมาย Net Zero จึงต้องมีการพัฒนาเพิ่มจึงจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากขึ้น
“ประโยชน์หลัก ๆ ที่ได้จากเวทีในลักษณะนี้จะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างองค์กรกับสตาร์ทอัพ และได้พัฒนาความสามารถพิเศษ คนในองค์กรก็ได้ up skill และ re skill หากมีการลงทุนต่อยอดก็ได้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ สร้างโอกาสทางธุรกิจทำให้มีการจ้างงานเกิดขึ้น และองค์กรที่เฟ้นหาสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ มาร่วมงานก็ไม่ต้องเสียเวลาในการคัดเลือก เพราะมีการสกรีนมาแล้วระดับหนึ่ง ซึ่งเครือซีพีเปิดพื้นที่ให้กับสตาร์ทอัพอยู่แล้ว การมีเวทีแบบ DTS ช่วยให้ได้ Speed คือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เร็วขึ้น และได้ Scale ขยายผลได้เร็ว อีกทั้งองค์กรใหญ่บางครั้งอาจจะไม่คุ้นชินในการทำงานกับสตาร์ทอัพ ซึ่งเวทีนี้จะเปิดให้ได้ทำงานร่วมกัน เป็นการสนับสนุนให้ระบบนิเวศมีความแข็งแกร่ง” สมเจตนา กล่าว
อนุชา สมจิตรชอบ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า การบรรลุเป้าหมาย Net Zero เป็นเรื่องใหญ่และมีความสำคัญมาก ซึ่งการมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ จะทำให้กระบวนการผลิตดีขึ้นเรื่อย ๆ และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ โดยไออาร์พีซีมองว่าไอเดียใหม่ ๆ หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ มักมาจากสตาร์ทอัพ หรือคนรุ่นใหม่ จึงพร้อมร่วมเป็นพาร์ทเนอร์นำเครื่องไม้เครื่องมือและสิ่งที่องค์กรมีความแข็งแรงมากกว่าเข้าไปสนับสนุน รวมถึงเรื่องของเงินทุน เพราะในโลกการธุรกิจยุคใหม่ไม่มีใครทำทุกอย่างคนเดียวได้ สิ่งใดที่สตาร์ทอัพ หรือพันธมิตรเก่ง มีความชำนาญ มีความคล่องตัวกว่า ก็ต้องจับมือกันพัฒนาทำให้ระบบนิเวศมีความแข็งแกร่ง และเติบโตไปด้วยกัน ซึ่งไออาร์พีซีพร้อมเปิดบ้านให้ทุกคนเข้ามาคุยนำเสนอแนวคิดที่เหมาะกับธุรกิจขององค์กรได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ ความท้าทายในการเฟ้นหาหรือลงทุนในสตาร์ทอัพคือ มีไอเดียบรรเจิด แต่อาจมีปัญหาในเรื่องของเติบโต และต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์
การมีโครงการแบบ DTS ช่วยทำให้กลุ่มคนที่มองเรื่องเดียวกัน องค์กรไม่ต้องวิ่งไปหาสตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และทำให้เราสามารถบอกโจทย์ได้โดยตรง ถือเป็นการคัดเลือกที่เร็วมาก รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายมาช่วยสนับสนุนกันได้ง่ายขึ้น เรามองว่าเสน่ห์ของสตาร์ทอัพคือ มีพลังเต็มเปี่ยมและมีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งการมีพาร์ทเนอร์แบบนี้ทำให้องค์กรเหนื่อยน้อยลง มีคนช่วยคิดหาไอเดียใหม่ ๆ แทนองค์กรที่ต้องโฟกัสกับงานประจำอยู่แล้ว วันนี้เราต้องปรับวิธีคิดแบบเดิม ๆ ต้องหาโซลูชั่นที่ดีที่สุดจากไอเดียของคนรุ่นใหม่ การที่องค์กรใหญ่เปิดรับจากข้างนอกเข้ามา ทำให้ได้ความเร็วในการตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสีย อันนี้เราจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีคิด เพราะอยู่เฉยเราก็แทบจะถอยหลัง และแม้จะก้าวด้วยตัวเองก็อาจจะช้าอยู่ดี แต่การก้าวไปกับคนที่มีความยืดหยุ่น รวดเร็ว มีไอเดียใหม่ ๆ จะทำให้เติบโตไปด้วยกัน
ขณะที่ นิชฌาน ภิรมย์สวัสดิ์ Venture Capitalist and Head of Partnerships จาก PTT ExpresSo กล่าวว่า บริษัทได้จับคู่สนับสนุนสตาร์ทอัพ TIE-con จากประเทศไทย ที่พัฒนาระบบอนุรักษ์พลังงานในอาคารด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และโซลูชั่นระบบจัดการพลังงานอัจฉริยะภายในอาคารและโรงงานด้วย IoT (Internet of Thing) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อลดการใช้พลังงานในอาคาร และวางแผนการบำรุงรักษาระบบพลังงานในอาคารได้อย่างแม่นยำ และ ReJoule จากประเทศสหรัฐฯ จัดทำระบบวัดคุณภาพของแบตเตอรี่ระดับเซลล์ เพื่อวัดสุขภาพของแบตเตอรี่ว่ามีสุขภาพดีหรือไม่ ซึ่ง PTT ExpresSo ได้นำมาต่อยอดใช้งานกับบริษัทลูก “NUOVO PLUS” ของ ปตท. ที่มีการพัฒนาแบตเตอรี่ EV โดยนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้วัดตั้งแต่การผลิต เพื่อให้มีความมั่นใจว่าแบตเตอรี่ของ NUOVO PLUS มีความน่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
“เราอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการต่อยอดทางธุรกิจกับสตาร์ทอัพทั้งสองทีม โดยเบื้องต้นกำลังพิจารณาร่วมกับ TIE-con ในการสร้างพันธมิตร เพื่อขยายธุรกิจใหม่ในการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับ Boiler และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงส่งมอบองค์ความรู้ในระบบการผลิตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในทุกโรงงาน ส่วน ReJoule สามารถร่วมต่อยอดสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจ Electric Vehicles ของ ปตท. ได้ในอีกหลายห่วงโซ่ ทั้งหมดเป็นการร่วมตอบโจทย์การลดคาร์บอน มุ่งไปสู่พลังงานสะอาดที่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในเมืองไทยและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่ง ExpresSo ยังมีนโยบายร่วมส่งเสริมเทคโนโลยีและการหาโซลูชั่นร่วมลดคาร์บอนให้ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยต้องเป็นโซลูชั่นที่เหมาะสมที่สุดสำหรับจุดเด่นและขีดจำกัดของประเทศไทย และ Emerging Economies เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมด้านนี้ ให้สามารถขยายผลไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านและในตลาดเกิดใหม่ เพื่อร่วมมือการสร้างพลังงานสะอาดในโลกระยะยาว” นิชฌาน ระบุ
วันนี้ (26 พฤศจิกายน 2567) นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม…
LINE GAME ส่งเกมมือถือตัวใหม่ล่าสุด "LINE ไอเดิล เรนเจอร์" เกมแนว Idle RPG เอาใจเกมเมอร์สายชิล เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลาม ทะยานขึ้นสู่อันดับ…
มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ ร่วมกับสภากาชาดไทย และภาคีเครือข่ายจิตอาสา ร่วมมอบความอบอุ่น ส่งต่อความห่วงใยผู้ยากไร้และด้อยโอกาสในกิจกรรม “หนาวนี้ทำดีเพื่อพ่อ” จ.กาญจนบุรี วันนี้ (26 พ.ย. 67) นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ ประธานมูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ได้ร่วมกิจกรรมกับสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย…
เตรียมตัวพบกับ realme C75 สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดที่ไม่ได้มาเล่นๆ พร้อมทลายทุกขีดจำกัดของความทนทาน ด้วยมาตรฐานการกันน้ำกันฝุ่นระดับ IP69 เจ้าแรกและเจ้าเดียวในเซกเมนต์ พร้อมชูโรงด้วยดีไซน์สุดแข็งแกร่ง การันตีคุณภาพระดับโลกด้วยใบรับรองจาก TÜV Rheinland เปิดตัวอย่างเป็นทางการ 3 ธันวาคมนี้…
สหพัฒนพิบูล ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเจ้าดัง "มาม่า" เดินหน้ารุกตลาดคนรุ่นใหม่ จับมือ Netflix และนักร้องสาวสุดฮอต "อิ้งค์ วรันธร" เปิดตัวแคมเปญสุดพิเศษ "มาม่า OK X Netflix Squid…
YouTrip (ยูทริป) ประกาศเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดที่เชื่อมต่อ YouTrip เข้ากับ Google Pay ให้นักเดินทางไทยสัมผัสประสบการณ์การชำระเงินแบบไร้สัมผัสที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น ผ่านอุปกรณ์ Android โดยไม่ต้องพกบัตรให้ยุ่งยาก ไม่ต้องพกบัตร! จ่ายสะดวกทั่วโลกด้วยปลายนิ้ว…