ETDA ลงพื้นที่เชียงใหม่ จัดใหญ่ Pitching Day รอบชิงชนะเลิศ กับ Hack for GOOD เร่งเฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรม เพื่อคนเมืองเชียงใหม่

ETDA ลงพื้นที่เชียงใหม่ จัดใหญ่ Pitching Day รอบชิงชนะเลิศ กับ Hack for GOOD เร่งเฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรม เพื่อคนเมืองเชียงใหม่

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) พร้อมพาร์ทเนอร์คนสำคัญ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA), สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เทศบาลนครเชียงใหม่, ย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก (SMID), หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และ เทคซอส มีเดีย ลงพื้นที่จัดใหญ่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ หรือ Pitching Day เวทีแห่งการประชันไอเดียรอบสุดท้าย เพื่อหาสุดยอดนวัตกรรม โซลูชัน ระบบ หรือแอปพลิเคชัน ที่ช่วยแก้ไขปัญหาพัฒนาเมืองเชียงใหม่ พลิกโฉมและยกระดับคุณภาพชีวิตคนในพื้นที่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ณ ห้อง NSP Rice Grain Auditorium อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU STeP)

สกสว. และ ส.อ.ท. ร่วมขับเคลื่อนโครงการ ‘กองทุนอินโนเวชั่นวัน’ หนุนสตาร์ทอัพ – SMEs เข้มแข็ง เสริมสร้าง ศก. ไทย

ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า กิจกรรม Pitching Day ที่จัดขึ้นในวันนี้ (29 เม.ย.) ถือเป็นกิจกรรมโค้งสุดท้ายของการแข่งขัน ภายใต้กิจกรรมแคมเปญสำคัญ“Hack for GOOD Well-Being Creation นวัตกรรมดี เมืองดี ชีวิตดี เมืองเชียงใหม่” ที่ ETDA พร้อมด้วยพาร์ทเนอร์ทั้งภาครัฐ เอกชน จัดขึ้น เพื่อเฟ้นหาสุดยอด นวัตกรรม โซลูชัน ระบบ หรือ แอปพลิเคชัน ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา พัฒนาและยกระดับชีวิตคนเมืองเชียงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งครั้งนี้จะเป็นการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ

ทั้ง 15 ทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย ได้แก่

  • ทีม Blockchain-based Wellness PHR & Health Data Management Platform
  • ทีม Daywork Smart Escort
  • ทีม Dietz Telemedicine Station
  • ทีม Fitsloth
  • ทีม Happo – Your Mental Test Kit
  • ทีม Kaset Market (เกษตร มาร์เก็ต)
  • ทีม OmegaAI
  • ทีม ProWam (Pro-Active Precision Water Management)
  • ทีม S.T. Care
  • ทีม Smile Migraine
  • ทีม Talk to PEACH
  • ทีม Trident Intelligence Management System
  • ทีม We Chef Food Truck Platform
  • ทีม เชียงใหม่ ลดเผา ลดฝุ่น
  • ทีม โปรแกรมบริหารคลินิก และสถานพยาบาล ศูนย์บริการสุขภาพ Miracle Clinic System

จะต้องร่วมประชันไอเดีย นำเสนอนวัตกรรม โซลูชัน ระบบ หรือแอปพลิเคชันของแต่ละทีม ในรูปแบบ Pitching โดยมีเวลานำเสนอทีมละ 5 นาทีต่อเหล่าคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ให้เกียรติมาร่วมตัดสิน ไม่ว่าจะเป็น ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA), คุณปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA, รศ.ดร.พญ.ศิริอนงค์ นามวงศ์พรหม ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และหัวหน้าศูนย์นวัตกรรมการแพทย์และสุขภาพ (MEDCHIC), รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.), คุณพิศุทธ์ พิศุทธกุล ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่, ผศ.ดร.มณิษวาส จินตพิทักษ์ รองหัวหน้าสํานักวิชาการศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี สํานักวิชาศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด และ พญ.ลลนา ก้องธรนินทร์ แพทย์ด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน Influencer นักแสดงและพิธีกร เป็นต้น

ภายใต้โจทย์สุดท้าทาย 3 หัวข้อหลักที่ครอบคลุมเรื่อง Good Home – บ้าน (เมือง) สะอาดดี ด้วยนวัตกรรมเปลี่ยนเมืองเชียงใหม่ ยกระดับมาตรฐานด้านสุขอนามัยและความสะอาดของพื้นที่ Good Healthcare – บริการสุขภาพดี ด้วยนวัตกรรมที่ยกระดับบริการสุขภาพ เพื่อให้คนเชียงใหม่เข้าถึงบริการ สุขภาพได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค Covid-19 และ Good Food for Health – อาหารการกินดี ด้วยนวัตกรรมที่จะช่วยให้อาหารการกินในเมืองเชียงใหม่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นไปในแนวทางเพื่อสุขภาพมากขึ้น ตั้งแต่ต้นทางวัตถุดิบปลอดสาร ไปจนถึงความหลากหลายของอาหารที่จะทำให้สุขภาพผู้บริโภคดีขึ้น เป็นต้น ซึ่งแต่ละทีมจะต้องนำเสนอนวัตกรรม โซลูชัน ระบบ หรือ แอปพลิเคชัน ที่สอดคล้องกับโจทย์ในข้อใดข้อหนึ่ง

เกณฑ์การตัดสินในครั้งนี้ จะพิจารณาทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่

  1. ด้านการแก้ไขปัญหาและความน่าสนใจของนวัตกรรม โซลูชัน ระบบ หรือแอปพลิเคชัน
  2. ด้านผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อจังหวัดเชียงใหม่
  3. ด้านความเป็นไปได้ของของนวัตกรรม โซลูชัน ระบบ หรือแอปพลิเคชัน
  4. ด้านความพร้อมของทีม
  5. ด้านการวางแผนธุรกิจ
  6. ด้านการนำเสนอ หรือ Pitching

ที่สำคัญจะต้องเป็นนวัตกรรม โซลูชัน ระบบ หรือแอปพลิเคชันที่สามารถทำได้จริงและนำไปใช้กับจังหวัดเชียงใหม่ได้อย่างเหมาะสม

สำหรับทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับเงินรางวัล 400,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และ ประกาศนียบัตร, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 300,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และ ประกาศนียบัตร, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 ได้รับเงินรางวัล 150,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และ ประกาศนียบัตร และรางวัลขวัญใจกรรมการ 2 รางวัล รางวัลละ 75,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร

ทั้งนี้ ทีมผู้ชนะทั้ง 5 ทีมจะได้รับ AWS Credit พร้อมทั้งโอกาสในการทดสอบนวัตกรรมกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่และการสนับสนุนต่อยอดจาก Partner อื่นแก่ทีมผู้ชนะและทีมที่เข้าร่วมกิจกรรม และพิเศษสุด ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้รับโอกาสพิเศษในการเข้าร่วมต่อยอดแผนธุรกิจต่อไปในเวทีระดับประเทศในงาน Techsauce Global Summit 2023 เพื่อเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่ช่วยผลักดันและพัฒนานวัตกรรมในระดับประเทศต่อไป

ประชาชนหรือผู้ที่สนใจ สามารถติดตามภาพบรรยากาศทั้งหมดของกิจกรรม Hack for GOOD Well-Being Creation นวัตกรรมดี เมืองดี ชีวิตดี เมืองเชียงใหม่” ได้ที่ https://www.etda.or.th/th/hackforgood หรือ เพจเฟซบุ๊ก ETDA Thailand: https://www.facebook.com/ETDA.Thailand

Scroll to Top