StartUp

NIA พาเปิดโปรไฟล์ไทยแลนด์ปี 2023 กับจุดแข็งด้านการจัดตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพ จุดหมายปลายทางสำคัญ แจ้งเกิดสตาร์ทอัพไทย – ต่างชาติ พร้อมโอกาสเติบโต

หลายปีที่ผ่านมา “สตาร์ทอัพ” ถูกกำหนดเป็นแผนสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจระดับชาติ มีการผลักดันกฎหมาย และสิทธิประโยชน์ให้เอื้อต่อผู้ทำธุรกิจ อีกทั้งยังได้เห็นนวัตกรรมที่เกิดจากสตาร์ทอัพที่มีความสามารถในหลากหลายแขนง สิ่งที่น่าสนใจในอีกมิติหนึ่งคือการสยายปีกของกลุ่มยูนิคอร์นที่ไม่ว่าจะเป็นแฟลชเอ็กเพรส ไลน์แมนวงใน หรือ แอสเซนด์ที่สามารถระดมทุนได้หลายพันล้านบาท นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นหนึ่งแลนด์มาร์คสำคัญที่เหมาะแก่การจัดตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพด้วยจุดแข็งที่เอื้อและตอบโจทย์ทิศทางการลงทุนใหม่ของโลก ทั้งการมีโลเคชันที่อยู่ใจกลางภูมิภาค ใกล้ตลาดใหญ่อย่างอาเซียน ประเทศจีน และประเทศอินเดีย ทำให้สตาร์ทอัพที่ดำเนินธุรกิจในไทยสามารถเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ได้หลากหลาย ในขณะเดียวกันยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง ทั้งค่าครองชีพ ไลฟ์สไตล์ การสนับสนุนจากภาครัฐในหลากหลายมิติที่จะช่วยผลักดันให้เกิดธุรกิจสตาร์ทอัพหน้าใหม่ โดยมีไฮไลต์ที่น่าสนใจ ดังนี้

ไทยแลนด์เมืองสตาร์ทอัพติดอันดับโลก

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยถึง ผลการจัดอันดับดัชนีระบบนิเวศทางสตาร์ทอัพโลก ประจำปี 2566 (Global Startup Ecosystem Index 2023) โดย StartupBlink ศูนย์กลางข้อมูลด้านระบบนิเวศสตาร์ทอัพที่ครอบคลุมทั่วโลก ได้มีการจัดอับดับ 100 ประเทศ และ 1,000 เมืองที่มีระบบนิเวศทางสตาร์ทอัพที่ดีที่สุด โดยประเทศไทยอยู่อันดับที่ 52 ของโลก ขึ้นจากปีที่ผ่านมา 1 อันดับ ในขณะเดียวกันกรุงเทพฯ ขยับขึ้นมาเป็นอันดับที่ 74 ของโลก จาก 1,000 เมืองที่มีระบบนิเวศทางสตาร์ทอัพที่ดีที่สุด โดยขยับขึ้นมามากถึง 25 อันดับ แซงหน้าประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เป็นอันดับ 3 ของอาเซียน และยังมีเชียงใหม่ ภูเก็ต และพัทยา ที่ติดท็อป 1,000 เมืองที่มีระบบนิเวศทางสตาร์ทอัพที่ดีที่สุด พ่วงด้วยความโดดเด่นด้านอุตสาหกรรมการขนส่งที่รั้งอันดับ 43 ของโลก สะท้อนให้เห็นถึงระบบนิเวศทางสตาร์ทอัพของไทยที่เติบโตขึ้น

โตได้ไม่หยุด มียักษ์ใหญ่พร้อมซัพพอร์ต

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของธุรกิจสตาร์ทอัพที่ขาดไม่ได้ คือ เงินทุน ซึ่งไทยมีบริษัทยักษ์ใหญ่จำนวนมากพร้อมเป็น Corporate Venture Capital (CVC) ที่เน้นลงทุนในสตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่น่าสนใจ อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเสริมแกร่งด้านกลยุทธ์ และความสามารถในการแข่งขันของบริษัทแม่ เช่น SCB 10X หนึ่งในกลุ่มธนาคารแห่งแรกๆ ที่ปรับตัวตามสถานการณ์ที่นวัตกรรมและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด โดยมีเป้าหมายในการเป็น VC ชั้นนำระดับประเทศ และระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมผลักดันให้เกิดการสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพใหม่ๆ และผลักดันไปสู่ระดับยูนิคอร์น AddVentures by SCG ที่มุ่งค้นหานวัตกรรมจากสตาร์ทอัพทั่วโลกมาเสริมประสิทธิภาพของ SCG ผ่านการเสาะหานวัตกรรมมาใช้และการพัฒนาให้เกิดธุรกิจใหม่ Krungsri Finnovate ที่เดินหน้าสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพด้านฟินเทคและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้านการธนาคารทั้งในประเทศไทย และระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีเป้าหมายปั้นสตาร์ทอัพให้ขึ้นแท่นยูนิคอร์นให้ได้มากที่สุด และมุ่งสร้างระบบนิเวศของเศรษฐกิจไทยและภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้มีความยั่งยืน อีกทั้งยังมีกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and Innovation-Based Enterprise Development Fund; TED Fund) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่สนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายใหม่ ให้สามารถดำเนินธุรกิจบนฐานขององค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมเป็นตัวเร่งในการเพิ่มปริมาณการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน และก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มีความก้าวหน้าและยั่งยืน

นโยบายรัฐพร้อมเร่งเครื่องรัฐสตาร์ทอัพให้แข็งแกร่ง

หลายหน่วยงานภาครัฐพร้อมสนับสนุนสตาร์ทอัพไทยให้สามารถเติบโตและแข่งขันได้ทั้งตลาดในและต่างประเทศ เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ในฐานะ “ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม (Focal Conductor)” และอำนวยความสะดวกให้ระบบนิเวศนวัตกรรมเอื้อต่อศักยภาพการทำงาน ผ่านการส่งเสริมทั้งเงินทุนและองค์ความรู้ในการสร้างธุรกิจนวัตกรรมที่มุ่งเน้นใน 5 สาขา ได้แก่ เกษตร อาหาร การแพทย์ ท่องเที่ยว และซอฟต์พาวเวอร์ และยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นสะพานเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อผลักดันไทยสู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรม โดยทำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรอีกหลายหน่วยงานทั้งที่อยู่ภายใต้กระทรวง อว. และหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa ฯลฯ

Big Campaign ตอกย้ำไทยให้เป็นพื้นที่น่าลงทุน

ประเทศไทยมีแผนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจที่ส่งเสริมระบบนิเวศสตาร์ทอัพไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีเมกะโปรเจกต์ที่ รองรับการเติบโตและการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมของสตาร์ทอัพ ไม่ว่าจะเป็น BCG Model ที่รัฐบาลใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 3 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความยั่งยืนของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และเพิ่มศักยภาพในการพึ่งพาตนเอง นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการพัฒนาใน 2 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ 1) การพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) ที่มีอยู่แล้วในประเทศ เพื่อสร้างการเติบโตระยะสั้นและระยะกลาง ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ท่องเที่ยวระดับคุณภาพ เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอาหารมูลค่าเพิ่มสูง และ 2) การพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ที่สนับสนุนให้เกิดเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า โดยตั้งเป้าให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ได้แก่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ การบิน ดิจิทัล การแพทย์ครบวงจร และเชื้อเพลิงคุณภาพและเคมีชีวภาพ นอกจากนี้ ยังมีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่เป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรมทันสมัยใน 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ซึ่งมีภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมรองรับสตาร์ทอัพได้อีกจำนวนมาก

เวียดนามปรับลดอัตราอากรโต้การทุ่มตลาดสินค้าน้ำตาลไทยจาก 42.99% เหลือ 25.73% และอากรตอบโต้จาก 4.65% เหลือ 0% ปัจจัยบวกหนุนส่งออกน้ำตาลไทยไปเวียดนาม

เรียกได้ว่าการเกิดขึ้นและเติบโตของสตาร์ทอัพในเมืองไทยยังคงมีโอกาสอย่างต่อเนื่อง ด้วยหลากหลายปัจจัยทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่พร้อมใจยกระดับระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อโมเดลธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตได้เร็ว รวมถึงเมืองต่าง ๆ ที่มีความโดดเด่นด้านไลฟ์ไสตล์และภูมิศาสตร์ที่รอต้อนรับนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติ

supersab

Recent Posts

vivo V50 เปิดตัวแล้ว มาพร้อมกล้อง ZEISS 50MP ในราคาเริ่มต้น 15,999 บาท

เปิดตัว vivo V50 สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดในตระกูล V Series ที่มาพร้อมคอนเซปต์ "ถ่ายที่รักอย่างโปร" ชูจุดเด่นกล้อง ZEISS ความละเอียด 50 ล้านพิกเซลรอบด้าน อัดแน่นด้วยฟีเจอร์ AI…

2 hours ago

LINE MAN เผยเทรนด์ “ชาไทย Specialty” แรงจัด! ยอดสั่งพุ่ง 81% ร้านใหม่ผุด 205%

กระแสชาไทย Specialty ฟีเวอร์! ข้อมูลจาก LINE MAN เผยให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด "ชาไทย Specialty" ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่มียอดสั่งซื้อทะยาน 81% ร้านใหม่ตบเท้าเปิดตัวเพิ่มขึ้นถึง…

5 hours ago

China Unicom to Blanket 300+ Cities with 5G-Advanced by 2025, While Thailand Leads APAC’s 5G Revolution

China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…

7 hours ago

AIS ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนวิทยุ สร้างมหานครสวยงาม ปลอดภัย

AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…

7 hours ago

“Trumpism 2.0” กระแทกโลก! สกสว. ชี้ไทยต้องเร่งเครื่อง BCG Economy ดันนวัตกรรมรับมือ ตั้งเป้าปั้นไทยเป็นฮับเทคโนโลยีอาเซียน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน

ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…

7 hours ago

องค์กร 61% กังวลความปลอดภัยคลาวด์ ฟอร์ติเน็ตแนะใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์-เสริมทักษะรับมือภัยคุกคามยุคใหม่

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…

7 hours ago