ทรู คอร์ปอเรชั่น (True) แกะกล่อง 6 นวัตกรรมทำถึง ผู้ชนะโครงการ “e-Waste HACK BKK 2024” ได้แก่ 3 ทีมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3 ทีมระดับอุดมศึกษา แจ้งเกิดนวัตกรรุ่นใหม่ ครีเอทผลงานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยการรีไซเคิลชิ้นส่วน e-Waste ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ ได้จริง ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และสาธารณสุข
จาก “เมล็ดพันธุ์ความคิด” สู่โอกาสเติบโตเป็น “ต้นไม้แห่งนวัตกรรม” เพราะเมล็ดพันธุ์ความคิด (Idea Seed) ที่แข็งแรง จะเติบใหญ่และแตกกิ่งก้านเป็นต้นไม้แห่งนวัตกรรม (Inno Tree)…โครงการ “e-Waste HACK BKK 2024” ได้คัดสรร 3 ทีมสุดท้ายในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กับสุดยอดไอเดียพลิกฟื้นขยะ e-Waste จากพลังสมองคนรุ่นใหม่ที่มีโอกาสพัฒนาเป็นนวัตกรรมคืนคุณค่าแก่สังคมในอนาคต ได้แก่
1.เครื่องฟอกอากาศ สู่เครื่องดักจับคาร์บอน โดย ทีม One Day Miracle plus+ โรงเรียนวิสุทธรังษี จ.กาญจนบุรี
ทุกวันนี้ กทม. ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณ 43 ล้านตันต่อปี และยังคาดว่าในปี 2573 กทม. จะปล่อยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นเป็น 10 เท่า แต่กลับกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้เพียงเล็กน้อย
ด้วยเทคโนโลยี Direct Air Capture (DAC) ที่ตัวเครื่องนั้นใช้ E-Waste มาพัฒนาถึง 90% ลดต้นทุนไป 27,900 บาท เมื่อเทียบกับการผลิต 1 เครื่อง
สามารถนำไปใช้ในกระบวนการผลิตเป็นก๊าซ Ethylene สำหรับภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเคมี พลาสติก และการผลิต ช่วยลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาลและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานอุตสาหกรรม
2.เครื่องกรองฝุ่น PM 2.5 โดย ทีม Undustrial โรงเรียนชลกันยานุกูล จ.ชลบุรี
จากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมฝุ่น PM 2.5 ใน กทม. ที่ติดอันดับ 3 ของโลกที่มีฝุ่นมากที่สุด และวันนี้คน กทม. สูดดมฝุ่นเข้าไปเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 1,370 มวนต่อวัน
โดยแนวคิดเครื่องกรองฝุ่น PM 2.5 ของ ทีม Undustrial นั้นทำงานปรับความสามารถในการกรองอากาศตามค่าฝุ่นได้อัตโนมัติ พร้อมแอปพลิเคชัน สำหรับติดตามค่าฝุ่นตามสถานีรถประจำทาง และระบบแจ้งเตือนค่าฝุ่นที่หน้าจอ Widget มือถือ
นอกจากนี้แอปฯ ยังสามารถรายงานสถานะไส้กรอง พัดลม การเก็บกระแสไฟฟ้า ปริมาณฝุ่น
ทั้งนี้เครื่องกรองฝุ่น PM 2.5 ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการทำงาน สามารถลดปริมาณฝุ่นใน กทม ได้ 65% ลดต้นทุนได้ 4,189 บาท/ต่อเครื่อง ด้วยการใช้ E-Waste เป็นวัสดุในการผลิต
3.ตู้คลินิกเพื่อชุมชนอัจฉริยะ โดย ทีม XTremeX โรงเรียนดรุณสิกขาลัย โครงการ วมว. โรงเรียนสิริรัตนาธร โรงเรียนอุดมศึกษา กรุงเทพฯ และโรงเรียนสระบุรีวิทยาคม จ.สระบุรี
ปัจจุบันอัตราส่วนของแพทย์ต่อประชากร อยู่ที่ 1 ต่อ 312 คน ทำให้หลายคนเข้าไม่ถึงบริการทางการแพทย์ จึงพัฒนาตู้คลินิกเพื่อชุมชนอัจฉริยะ ให้บริการตรวจวัดสุขภาพเบื้องต้น (วัดอุณหภูมิ ส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก ตรวจวัดความดัน) ปรึกษาแพทย์ทางไกลผ่านวิดีโอคอลล์ และจ่ายยาเบื้องต้น เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำกัดในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ และช่วยลดการเดินทางไปยังสถานพยาบาล
โดยผลตรวจเบื้องต้นจะเชื่อมกับ แอปฯ หมอดี ช่วยให้แพทย์เข้าถึงข้อมูลสุขภาพคนไจ้ได้ คาดว่าจะรองรับการดูแลสุขภาพได้ 96 เคส/วัน/ตู้
สำหรับการพัฒนา นำ E-Waste มาทำเป็นตู้คลินิกอัจฉริยะ พร้อมเปลี่ยนตู้โทรศัพท์เก่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ มาติดตั้งอุปกรณ์เข้าไป ช่วยให้ชุมชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และยังเข้าไปติดตั้งที่โรงเรียนต่างๆ ได้อีกด้วย
e-Waste HACK BKK 2024 ในระดับอุดมศึกษา
ต้นไม้แห่งนวัตกรรม ผลงานพร้อมใช้จริง ตอบโจทย์วิถีชีวิตชาวกรุงกว่า 3 เดือนบนเส้นทางแห่งการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม โครงการ e-Waste HACK BKK ของทั้ง 3 ทีมในระดับมหาวิทยาลัยที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย และได้รับทุนในการพัฒนาผลงานต้นแบบ เรียนรู้ แก้ไข ผ่านการทดสอบอย่างเข้มข้น จนสามารถใช้งานได้จริง วันนี้ ทั้ง 3 ทีมได้เดินทางมาถึงโค้งสุดท้ายกับรอบ Final Pitch ในวัน Demo Day ประกอบด้วย
1.Intelligence Bin โดย ทีมปั๊กกะป๊อก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปี 2566 คนกรุงทิ้งขยะ 3.2 ล้านตัน ซึ่งเป็นขยะรีไซเคิลได้ถึง 12% และหลายตนยังทิ้งขยะโดยไม่แยก
ถังขยะอัจฉริยะที่สามารถแยกขยะด้วยระบบกล้องจับภาพ และเทคโนโลยี AI ประมวลผลที่คัดแยกขยะออกจาก Background หรือวัตถุอื่นได้ เพื่อแก้ไขปัญหาขยะล้นเมือง ส่งผลให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม และปัญหาด้านสุขภาพ
โดย AI จะตรวจจับว่าขยะแต่ละชิ้นเป็นขยะอะไร และแยกไปในถังขยะที่เหมาะสม มีความแม่นยำ 99.2% และทำงานออฟไลน์ได้ ส่วนถังขยะจะเชื่อมต่อกับ Maps และแสดงสถานะให้ผู้รัชผิดชอบรู้ว่าใกล้เต็มหรือยัง หรือว่าเต็มแล้ว ก็จะส่งแจ้งเตือนไปหาผู้รับผิดชอบ
ทั้งนี้ คาดว่าจะช่วยนำขยะกลับไปใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ลดเวลาทำงานของเจ้าหน้าที่ได้ 4-6 ชั่วโมงต่อวัน
2.ผลงาน BKK BIN+ โดย ทีม IoT E-Waste จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
กทม. มีขยะมากถึง 12,748 ตันต่อวัน และมากกว่า 32% เป็นขยะมูลฝอย ที่ต้องเผาหรือฝังกลบ
ถังขยะอัจฉริยะที่สามารถแยกขยะด้วยระบบกล้องจับภาพ อุปกรณ์ IoT และเทคโนโลยี AI ประมวลผล แยกขยะ ได้ 4 ประเภท ได้แก่ ขยะเปียก ขยะทั่วไป ขวดพลาสติกและขวดแก้ว รวมทั้งกระป๋อง พร้อมระบบแจ้งเตือนเมื่อขยะเต็มอีกด้วย เพื่อแก้ไขปัญหาปริมาณขยะในกรุงเทพฯ จำนวนมหาศาล อันนำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อม
อีกทั้งยังมีระบบแลกแต้มรับรีวอร์ด เช่น นำไปแลกคูปอง True Coffee
3.ผลงานระบบ AI EYE โดย ทีม AiHUB จาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ทุก 15 นาที มีคนเสียชีวิตบนท้องถนนใน กทม. 5 คน นอกจากนี้ยังรถติด 1 ใน 10 ของโลก จากปัญหาดังกล่าวมาจากปัจจัยทั้ง การไม่เคารพกฎจราจร ขาดจิตสำนึก และการบริหารจัดการไม่ดี
AI-Eye ที่ใช้ E-Waste 90% มาพัฒนา สามารถใช้ตรวจจับรถวิ่งบนทางเท้า ฝ่าไฟแดง จอดในที่ห้ามจอด รถวิ่งเร็วเกินกำหนด โดยเข้ามาทำงานตรวจสอบความปลอดภัยบนท้องถนน ตรวจจับผู้ฝ่าฝืนกฎจราจร ควบคุมไฟจราจรอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี AI และอุปกรณ์ IoT รวมถึงระบบจัดเก็บข้อมูลและแสดงผล เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดและการไม่เคารพกฎจราจร
โดยระบบสามารถเข้าไปปลั๊กอินกับระบบเดิมของ กทม. ได้ และสามารถเก็บข้อมูลลง Database ได้ เป็นการช่วยบริหารจัดการระบบไฟจราจรอัจฉริยะ
ตั้งเป้าจะแก้ปัญหาการจราจร 70% และช่วยชีวิตคนจากอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ 700 คนต่อปี
ดร.ปิยาภรณ์ ภาสกานนท์ หัวหน้าสายงานด้านความยั่งยืนองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ทรู คอร์ปอเรชั่น มีความมุ่งมั่นจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีแบบครบวงจรมากว่า 10 ปี และในปีนี้ ได้ยกระดับการจัดการ e-Waste ไปอีกขั้น เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เสนอไอเดีย นำขยะ e-Waste มาต่อยอดเป็นนวัตกรรม กับโครงการ “e-Waste HACK BKK 2024” ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี สะท้อนให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่ มีความเป็น Digital Talent เปี่ยมด้วยความรู้ ทักษะ และความคิดสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยี ซึ่งเมื่อมาผสมกับความตื่นตัวและใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม จึงเป็นการจุดพลังความเป็นนวัตกรในตัวเองที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง พัฒนาผลงานเพื่อยกระดับการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ให้ดีขึ้น ซึ่งจะยังคงมีการติดตามและวัดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป”
รางวัล และทุนการศึกษา สำหรับผู้ชนะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
- รางวัลชนะเลิศ
- ทุนการศึกษามูลค่า 10,000 บาท
- โควต้าเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ (ทุกคนในทีม)
- ประกาศนียบัตร
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
- ทุนการศึกษามูลค่า 5,000 บาท
- สิทธิ์ในการยื่นสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ รอบ TCAS1
(ทุกคนในทีม) - ประกาศนียบัตร
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
- ทุนการศึกษามูลค่า 2,000 บาท
- สิทธิ์ในการยื่นสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ รอบ TCAS1 (ทุกคนในทีม) พร้อมทั้งประกาศนียบัตร
- ประกาศนียบัตร
รางวัล และทุนการศึกษา ผู้ชนะระดับอุดมศึกษา
- รางวัลชนะเลิศ
- ทุนการศึกษามูลค่า 50,000 บาท
- ทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาโทเต็มจำนวน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ (ทุกคนในทีม)
- ประกาศนียบัตร
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
- ทุนการศึกษามูลค่า 20,000 บาท
- ประกาศนียบัตร
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
- ทุนการศึกษามูลค่า 10,000 บาท
- ประกาศนียบัตร