Sustainability

Huawei เร่งผลักดันกรีนเทคโนโลยีทุกมิติ ร่วมมุ่งสู่ประเทศไทยดิจิทัลที่ยั่งยืนรับเทรนด์โลกสีเขียว

ในปี 2024 ประเด็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการพัฒนาที่ยั่งยืนจะไม่ได้เป็นแค่การทำเพื่อภาพลักษณ์ขององค์กรอีกต่อไป แต่กลายเป็นประเด็นสำคัญระดับโลกและในระดับประเทศ ทั้งในภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากกฎและข้อบังคับเกี่ยวกับความยั่งยืนจากหน่วยงานระดับโลก รวมถึงการค้าระหว่างประเทศจะเริ่มมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐาน เพื่อวางมาตรฐานใหม่ให้ธุรกิจลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

เทรนด์เรื่องนี้ทำให้ทุกภาคส่วนในประเทศไทยต้องปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญ และหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนเป็นไปอย่างรวดเร็วก็คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอัจฉริยะ ซึ่งจะช่วยในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีศักยภาพ โดยหัวเว่ยถือเป็นหนึ่งในองค์กรภาคเอกชนที่ผลักดันเรื่องกรีนเทคโน โลยีมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาดโดยตรง และด้านนวัตกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคองค์กรด้วยการปรับกระบวนการทำงานในภาพรวม ซึ่งจะช่วยพาทุกฝ่ายก้าวสู่เป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างแข็งแกร่งในอนาคต

ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงเทรนด์เรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนในปัจจุบันและเทคโนโลยีที่ตอบรับ Net Zero ว่า “ในปัจจุบันนี้ ถ้าเรามองเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Emission) ในภาพรวม จะพบว่าหลัก ๆ แล้วมาจาก 3 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกที่มีสัดส่วนใหญ่ที่สุดคือเทคโนโลยีในอดีตที่ยังใช้งานมาถึงปัจจุบันสำหรับการผลิตพลังงาน รองลงมาคือกลุ่มภาคอุตสาหกรรมทั้งหลายที่ยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และกลุ่มที่สามคือภาคคมนาคม สำหรับในส่วนของเทคโนโลยี ถ้าเรามองไปที่เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตพลังงาน (ในประเทศไทย) จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา เพราะเริ่มมีการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งหน่วยงานรัฐของไทยต่างก็ผลักดันเทคโนโลยีเรื่องความยั่งยืนไปในทิศทางเดียวกัน โดยเทคโนโลยีกรีนกลุ่มแรก ๆ คือกลุ่ม Smart PV ที่มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ทั้งในระดับโรงไฟฟ้าและภาคครัวเรือน ในขณะเดียวกันก็ยังมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก เทคโนโลยีกรีนที่มีความสำคัญเป็นกลุ่มที่สองคือเทคโนโลยีสมาร์ทกริด ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการนำพลังงานไปใช้อย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเทคโนโลยีกรีนกลุ่มที่สามคือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความชาญฉลาดเข้ามาเพื่อใช้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการทำงาน ผ่านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล รวมถึงการนำมาสร้างพลังงานใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ”

เขาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีสัดส่วนในการผลิตคาร์บอนฟุตปริ้นท์เพียงแค่ประมาณ 2% จากภาพรวมทั้งหมด แต่ในขณะเดียวกันกลับมีบทบาทในการช่วยลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ให้กับภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้มากถึง 15-20% โดยอุตสาหกรรมไอซีทีน่าจะช่วยผลักดันให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับอุตสาหกรรมได้มากถึง 12,100 ตัน ภายในปี ค.ศ. 2030

“ปัจจัยหลักในการผลักดันเรื่องกรีนเทคโนโลยีจะมาจาก 3 ส่วน ปัจจัยแรกคือนโยบายจากภาครัฐที่ผลักดันตามมาตรฐานใหม่ของ Net Zero และเร่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงวิธีการผลิตพลังงานในภาคเอกชน ปัจจัยที่สองคือเงินทุน โดยเราได้เห็นเงินทุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสำหรับสนับสนุนด้านกรีน เช่น การปล่อยเงินกู้จากภาคธนาคารสำหรับโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ หรือการจัดเตรียมงบประมาณสำหรับการปรับเปลี่ยนไปสู่บริษัทสีเขียวของภาคองค์กร เป็นต้น และปัจจัยที่สามคือปัจจัยที่เกี่ยวกับธุรกิจทั้งหลาย ซึ่งมีแรงกดดันทั้งจากปัจจัยภายนอกของตลาด ประเด็นเรื่องคาร์บอนเครดิต หรือการตกลงกันระหว่างธุรกิจ” ดร.ชวพล กล่าวเสริม

ในด้านเทคโนโลยีหลักของหัวเว่ยที่มีส่วนช่วยเรื่องการลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์โดยตรง ประกอบด้วย เทคโนโลยีคลาวด์และโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ Smart PV ทั้งนี้ เทคโนโลยีคลาวด์สามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานและวิธีการเข้าถึงตลาด ซึ่งจะช่วยลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ของเทคโนโลยีที่ใช้ รวมถึงการประกอบธุรกิจในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ เทรนด์เรื่องการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นก็มีส่วนช่วยผลักดันเทคโนโลยีคลาวด์ในประเทศไทยและยังมีส่วนช่วยดึงการลงทุนเข้ามาในประเทศอีกด้วย โดยหัวเว่ยได้ลงทุนด้านกรีน ดาต้าเซ็นเตอร์เพื่อให้บริการด้านคลาวด์ในประเทศไทยถึง 3 แห่ง และยังได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั้งในระดับโลกและในประเทศไทยเพื่อสร้างอีโคซิสเต็มด้านคลาวด์ที่แข็งแกร่ง รวมทั้งสร้างความแตกต่างที่ชัดเจนในการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

สำหรับเทคโนโลยี Smart PV ของหัวเว่ยคือ เทคโนโลยีที่ตอบโจทย์เรื่องการสร้างพลังงานสะอาดโดยตรง จะเห็นได้ว่าแทบทุกภาคอุตสาหกรรมกำลังปรับตัวใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงอสังหาริมทรัพย์ในระดับครัวเรือนโครงการใหม่ ๆ ที่เริ่มมีการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น โดยหัวเว่ยได้นำเสนอโซลูชัน 1+4+X FusionSolar ที่ให้ความสำคัญกับทั้งเรื่องการจัดเก็บพลังงาน การนำไปใช้งาน และความปลอดภัยในการใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นผลจากการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ย คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 23,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2022 เพื่อทำให้เทคโนโลยีของหัวเว่ยมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในการลดคาร์บอน
ฟุตปริ้นท์ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้อย่างเต็มที่

ทั้งนี้ หัวเว่ยมองว่าองค์ประกอบสำคัญในการมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนคือ เทคโนโลยี ความสามารถของคน รวมถึงการเน้นเรื่องการนำความอัจฉริยะเข้ามาใช้ในภาคธุรกิจเพื่อปรับตัวรับกับความยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็ยังมีศักยภาพในการแข่งขันและสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้บริโภคได้อย่างควบคู่กัน สำหรับในประเทศไทย ภาครัฐก็สนับสนุนในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นอย่างดี และภาคเอกชนก็ให้ความสำคัญกับเทรนด์นี้อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งหัวเว่ยก็ให้ความสำคัญกับการลงทุนเรื่องเทคโนโลยีที่สนับสนุนเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย สอดคล้องกับพันธกิจที่ว่า “เติบโตในประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย”

เส้นทางสู่ “Net Zero” ของอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ

supersab

Recent Posts

China Unicom to Blanket 300+ Cities with 5G-Advanced by 2025, While Thailand Leads APAC’s 5G Revolution

China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…

1 hour ago

AIS ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนวิทยุ สร้างมหานครสวยงาม ปลอดภัย

AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…

1 hour ago

“Trumpism 2.0” กระแทกโลก! สกสว. ชี้ไทยต้องเร่งเครื่อง BCG Economy ดันนวัตกรรมรับมือ ตั้งเป้าปั้นไทยเป็นฮับเทคโนโลยีอาเซียน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน

ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…

1 hour ago

องค์กร 61% กังวลความปลอดภัยคลาวด์ ฟอร์ติเน็ตแนะใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์-เสริมทักษะรับมือภัยคุกคามยุคใหม่

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…

2 hours ago

เปิดเทรนด์ “Conscious Travel” สัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ยุคสมัยที่โรงแรมเป็นเพียง "ที่นอน" ได้ลาจากไปแล้ว! นักท่องเที่ยวไทยยุคใหม่กำลังมองหาประสบการณ์ที่มากกว่าการพักผ่อน พวกเขาต้องการสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น และใส่ใจความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เทรนด์ "Conscious Travel" หรือการเดินทางอย่างมีสติกำลังมาแรง สะท้อนผ่านพฤติกรรมการพักผ่อนที่ยาวนานขึ้นในโรงแรม พร้อมแสวงหาประสบการณ์สุดพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล เจาะลึกเทรนด์นักท่องเที่ยว จากรายงาน Changing…

2 hours ago

ไชน่า ยูนิคอม ผนึกกำลัง หัวเว่ย เร่งเครื่อง 5G-Advanced ทั่วเอเชีย

ไชน่า ยูนิคอม ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญในการพัฒนาเครือข่าย 5G ไปอีกขั้น ด้วยการเปิดตัวแผนปฏิบัติการ 5G-Advanced อย่างเป็นทางการ ในงานแถลงข่าว "Powering the Asian Winter Games with…

2 hours ago