ภาพรวมตลาดอสังหาฯ ยังคงเผชิญความท้าทายรอบด้าน ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศที่ยังไม่มีแนวโน้มฟื้นตัวในเวลาอันใกล้ ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภค รวมถึงต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ปรับราคาขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ที่ต้องประเมินความเสี่ยงทางการเงินกับความคุ้มค่าให้รอบคอบมากขึ้น ขณะที่ภาพรวมราคาที่อยู่อาศัยยังคงไม่ปรับขึ้น หลังผู้ประกอบการพยายามตรึงราคาเพื่อให้สอดคล้องกับกำลังซื้อของผู้บริโภค บ้านเดี่ยวยังได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบเดียวที่ดัชนีราคาเติบโตในไตรมาสที่ผ่านมา ด้านตลาดเช่ายังคงมาแรง ความต้องการเช่าโตถึง 88%…
การรับรู้และการเปิดกว้างของสังคมกับความหลากหลายทางเพศในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับมากขึ้น เห็นได้จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง "Pride Month” หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งได้รับผลตอบรับและเปิดรับความเท่าเทียมทางเพศมากขึ้น โดยผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQIA+ มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจต่าง ๆ ไม่น้อย ข้อมูลล่าสุดจาก LGBT Capital ณ สิ้นปี 2562 ระบุว่าผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQIA+ กว่า 371 ล้านคนทั่วโลก (อายุ 15 ปีขึ้นไป) มีอำนาจการใช้จ่ายรวมกันถึง 3.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยคิดเป็นผู้บริโภค LGBTQIA+ ชาวไทย 3.6 ล้านคน…
สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในปี 2565 เริ่มกลับมาฟื้นตัว หลังชะลอตัวต่อเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โดยตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบยังคงเป็นกลุ่มที่นำตลาด ขณะที่ตลาดคอนโดเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว กรุงเทพฯ และปริมณฑล : การโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงม.ค.-ก.พ. ปี 2565 หดตัวน้อยลง จากกลุ่มแนวราบอย่างบ้านเดี่ยวบ้านแฝดที่ฟื้นตัวได้ดี ขณะที่คอนโดมือหนึ่งยังชะลอตัว รวมถึงหน่วยที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ในช่วงม.ค.-เม.ย. 2565 ฟื้นตัวดีขึ้น จากกลุ่มแนวราบที่เริ่มมีการเปิดตัวมากขึ้นตามแผนของผู้ประกอบการ…
ผลสำรวจของ EIC สะท้อนว่าตลาดที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างช้า ๆ จากการเลื่อนแผนการซื้อที่อยู่อาศัยออกไป และคนส่วนใหญ่มองว่าการฟื้นตัวของตลาดยังต้องอาศัยมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อ ขณะที่พฤติกรรมในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่สนใจแนวราบที่ระดับราคาเข้าถึงได้ และตลาดบ้านมือสองยังได้รับความสนใจค่อนข้างมาก -เดลต้า นำร่องใช้ระบบควบคุมการจัดการอาคาร VTScada ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-สำนักงานสลากฯ พร้อมขาย สลากฯผ่านแพลตฟอร์ม “สลากดิจิทัล” เริ่ม 2 มิ.ย. นี้ ตลาดที่อยู่อาศัยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ…
รายงานจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยเผยว่า ปี 2565 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ที่ใช้เวลาเพียง 17 ปีนับจากปี 2548 ในการเปลี่ยนผ่านเป็นสังคมสูงอายุ สวนทางกับอัตราเด็กเกิดใหม่ที่ต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด สำนักงานสถิติแห่งชาติแสดงข้อมูลจำนวนการเกิดประจำปี 2564 พบว่า มีประชากรเกิดทั้งหมด 544,570 คน ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่มีการเก็บสถิติ และเป็นปีแรกที่ประเทศไทยมีการเกิดน้อยกว่าการตาย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 รวมไปถึงการที่คนไทยครองตัวเป็นโสดมากขึ้นหรือชะลอการมีบุตรจึงส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของจำนวนประชากร วางแผนพักผ่อนในอนาคต เกษียณแล้วไปไหนดี? จากแนวโน้มข้างต้นส่งผลให้ผู้บริโภคทั้งที่ครองตัวเป็นโสดหรือไม่มีบุตรหลาน เริ่มหันมาตระหนักถึงการวางแผนช่วงบั้นปลายชีวิตมากขึ้น ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study…
วิถีชีวิตดิจิทัลกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตปัจจุบัน โดยมีตัวแปรสำคัญอย่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 นวัตกรรมเข้ามามีบทบาทและเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต รวมถึงรูปแบบธุรกิจไปสู่บริบทใหม่ที่ทุกคนต้องปรับตัวเข้าหา ซึ่งทำให้ผู้คนปรับตัวให้คุ้นเคยกับการใช้ชีวิตแบบรักษาระยะห่างและดูแลสุขอนามัยมากขึ้น และยังทำให้ทัศนคติบางอย่างเปลี่ยนไปเช่นกัน เห็นได้จากแบบสอบถาม DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด ที่เผยให้เห็นทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากผลกระทบของโควิด-19 โดย 2 ใน 3 ของผู้บริโภค (66%)…
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กินเวลานานกว่า 2 ปี รวมถึงวิกฤติโลกร้อนที่รุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกบริบทของการใช้ชีวิต และการทำงาน ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเทรนด์โลกวิถีใหม่ ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นวิถีชีวิตปกติของวันนี้ หรือ ‘Now Normal’ ที่ทุกคนเริ่มคุ้นเคย เรียนรู้ที่จะวางแผน และปรับชีวิตให้เข้ากับสถานการณ์ที่คาดเดาไม่ได้ เอสซีจี ในฐานะ Innovative leader ในวงการวัสดุก่อสร้าง อาคารและที่อยู่อาศัยจึงนำแนวคิด “นวัตกรรมอัจฉริยะ เพื่อคุณภาพชีวิตและการอยู่อาศัยที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน” (SCG for Smart Living, Smart…