นายกรัฐมนตรีไทยและมาเลเซีย ร่วมเป็นสักขีพยานการแลกเปลี่ยนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง ดีป้า และ MDEC เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนแนวทางและความสำเร็จในการดำเนินงานด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่ช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรม และเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล อีกทั้งเป็นความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัพกับความท้าทายในการแข่งขันทางการค้าท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ดาโตะ เซอรี อันวาร์ บิน อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย…
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เร่งปั้นสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยสู่ตลาดโลก หลังปีที่ผ่านมานวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกมีการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในปี 2566 จะมีโอกาสเติบโตสูงขึ้นทั้งส่วนการผลิตรถยนต์และยอดจำหน่าย นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในราคาที่เข้าถึงได้ การพัฒนารูปแบบยานพาหนะ เช่น ตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า เรือ - รถโดยสารสาธารณะ สถานีชาร์จแบตเตอรี่ไฟฟ้า โฮมชาร์จเจอร์ ฯลฯ…
Thai Union ประกาศเข้าร่วมลงทุนร่วมกับผู้ร่วมทุนเชิงกลยุทธ์รายอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมในบริษัท อัลกามา (Algama) จากประเทศฝรั่งเศสในรอบการระดมทุนซีรีย์เอ โดยอัลกามาสามารถระดมทุนได้ทั้งสิ้น 13 ล้านยูโร ทั้งนี้ ไทยยูเนี่ยนได้ลงทุนผ่านกองทุน Venture Fund ของบริษัท บริษัท อัลกามา ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2556…
NIA เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น “ประเทศแห่งนวัตกรรม” และติดอันดับ 1 ใน 30 ของประเทศที่มีความสามารถด้านนวัตกรรมของโลก ภายในปี 2573 ด้วยการเร่งปั้นสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการด้านนวัตกรรม พร้อมส่งเสริมการสร้างระบบนวัตกรรมแห่งชาติที่เข้มแข็งภายใต้ 4 กลยุทธ์ ได้แก่ พัฒนาระบบนวัตกรรมไทยเป็นระบบที่เปิดกว้าง พลิกโฉมระบบการเงินนวัตกรรมไทยสร้างระบบข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม และองค์กรสมรรถนะสูงที่พร้อมต่อความเปลี่ยนแปลง ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า NIA กล่าวว่า ภาพรวมนวัตกรรมไทย ปี 65 ที่ผ่านมามีสัญญาณที่ค่อนข้างแรง หากดูจากดัชนีนวัตกรรมของประเทศไทย พบว่า ปี 2018 ดีมาก ประเทศไทยขยับมาที่อันดับ 44 ของโลก จากนั้นมาอยู่ที่ 43 และไม่ขยับอีกเลย ส่วนหนึ่งเพราะติดกับดักรายได้ปานกลาง ซึ่งการที่ยืนอยู่ได้เป็นเพราะภาคเอกชนลงทุนกับงานวิจัยและนวัตกรรมมากกว่าภาครัฐ ซึ่งมากกว่า 80% เป็นภาคเอกชนลงทุน ทำให้เห็นว่าสตาร์ทอัพไทยมีเอกชนเข้าไปลงทุนมาก สำหรับแผนของประเทศไทยนั้นมีเป้าจะเป็นประเทศแห่งนวัตกรรม และติดอันดับ 30 ภายในปี 2573 -7 เทรนด์นวัตกรรม ปี 66 สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน "ในปีที่ผ่านมา เราได้อันดับ 1 ด้านการส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ แต่เราไม่ได้เป็นผู้ออกแบบหมายความว่าประเทศไทยเป็นเพียงผู้รับจ้างการผลิต" รัฐ-เอกชน ต้องแชร์ข้อมูลกัน สำหรับภาคเอกชนของไทยนั้นอยู่ในระดับ Wrold class มีการเงินที่ให้กับสตาร์ทอัพในการเติบโตอยู่ในอันดับที่ 14 ของโลก ทั้งนี้จากอันดับที่เกิดขึ้นนั้นไม่สอดคล้องกับการเติบโตของจำนวนสตาร์ทอัพไทย จึงเป็นไปได้ว่ามีการไปลงทุนกับสตาร์ทอัพนอกประเทศ แต่หากมาดูกฎระเบียบมีส่งเสริมภาคเอกชนนั้น ยังต้องปรับอีกมาก เพราะกฎระเบียบนั้นไม่เอื้อต่อการทำงานของภาคเอกชน จะต้องปรับให้ส่งเสริมสตาร์ทอัพไทยเติบโตได้ดีมากขึ้น ให้สเกลอัพได้ง่ายขึ้น ดร.พันธุ์อาจ กล่าวว่า หลังจากนี้เอกชนกับภาครัฐจำเป็นต้องมาแชร์ข้อมูลกัน โดยภาครัฐจะต้องค่อยๆ แก้กฎหมาย ขณะที่ภาคเอกชนช่วยกันผลักดันให้เกิดสตาร์ทอัพหน้าใหม่มากขึ้น และเข้าถึงเงินทุนได้มากขึ้น อีกประเด็นที่จะส่งผลกระทบไปถึงปีหน้า คือ ประเทศไทยไม่ดึงดูดให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนด้านวิจัยและนวัตกรรม ประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนภาพลักษณ์ที่ให้คนเห็นมากกว่าด้านอาหารและการท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบัน กทม. มีความพร้อมรองรับชาวต่างชาติ เพราะอยู่ในช่วงสร้างพื้นที่นวัตกรรมใจกลางเมือง ขณะที่ Startup City จาก 1,000 เมืองทั่วโลก ประเทศไทยติดอันดับถึง 4 เมือง โดยมี กทม. ติดอันดับที่ 99 นอกจากนั้นมี ภูเก็ต เชียงใหม่ และ พัทยา ซึ่งติดอยู่ใน Top 300 ซึ่งประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมที่ดึงดูด เมืองน่าอยู่ ไลฟ์สไตล์เหมาะสม แต่จะทำอย่างไรให้คนอยากเข้ามาลงทุนมากขึ้น ทั้งด้าน Visa หรือ BOI นอกจากนี้ยังต้องมีข้อมูลเข้าถึงคนต่างชาติมากขึ้น ปัจจุบัน NIA เริ่มทำย่านโยธีเป็นด้านนวัตกรรม Medical ซึ่งคนที่เข้ามาก็จะได้สิทธิพิเศษด้าน BOI มากขึ้น…
SPACE-F โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย เปิดรับสมัครสตาร์ทอัพจากทั่วโลกเข้าร่วมในโครงการเป็นปีที่ 4 โดยสตาร์ทอัพที่สนใจสามารถส่งใบสมัครได้ภายในวันที่ 23 ธันวาคม 2565 สตาร์ทอัพที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการในปีที่ 4 นี้ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ โครงการบ่มเพาะ ซึ่งมีระยะเวลา 6 เดือน และโครงการเร่งการเติบโตทางธุรกิจ มีระยะเวลา 4 เดือน ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทางโครงการสเปซ-เอฟได้จัดงาน Demo Day แสดงผลงานของสตาร์อัพในประเภทโครงการบ่มเพาะในปีที่ 3 จำนวน 7 บริษัทด้วยกัน -องค์กรพันธมิตรตอกย้ำความสำเร็จ “Decarbonize Thailand Startup Sandbox” บรรลุเป้าหมาย Net Zero ดร.คริสโตเฟอร์ ออแรนด์ หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมแบบเปิด…
ครั้งแรก! ในประเทศไทยกับการเปิดตัวโครงการ “Thailand Accelerator” มุ่งเน้นช่วยให้สตาร์ทอัพไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดมทุนได้ และเร่งให้เติบโตอย่างรวดเร็ว ภายใต้การผนึกกำลังความร่วมมือครั้งยิ่งใหญ่จากพันธมิตรภาคเอกชนในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงหน่วยงานจากภาครัฐ และ Mentor ระดับโลก เพื่อเป็นสะพานเชื่อมพาสตาร์ทอัพไทยที่มีศักยภาพให้ก้าวสู่เวทีระดับภูมิภาคอย่างแข็งแกร่ง เปิดรับสมัครตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนธันวาคม 2565 พร้อมประกาศผลการคัดเลือก 10 บริษัทผู้ผ่านเข้าร่วมโครงการ ในเดือนมกราคม 2565 อรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท Techsauce Media ได้เผยว่า “การลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup Funding) มีส่วนสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup) เติบโตและไปต่อได้…
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เตรียมความพร้อมในการส่งเสริมสตาร์ทอัพไทยเดินหน้าทำความร่วมมือกับชาติยุโรป ได้แก่ สาธารณรัฐโปรตุเกส และราชอาณาจักรสวีเดน เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมที่จำเป็นสำหรับผลักดันให้สตาร์ทอัพไทยมีโอกาสเติบโตในเวทีนานาชาติได้มากขึ้น เช่น ความร่วมมือในการผลักดันสตาร์ทอัพด้านอาหารภายใต้โครงการ SPACE-F เพื่อขยายผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารและการเกษตรสู่ตลาดโปรตุเกส ความร่วมมือในการจัดงาน Startup X Innovation Thailand Expo 2023…
88 SANDBOX เดินหน้าเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้สตาร์ทอัพไทย ผ่านงาน 88 Match & Mentor ครั้งที่ 3 HACK THE FUTURE รวมรวมและคัดเลือกสตาร์ทอัพสาย Metaverse I Gaming | Blockchain | Edtech เพื่อเปิดโลกอนาคต ตอกย้ำความสำคัญของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีแห่งอนาคตต่าง ๆ ที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ในโลกยุคใหม่ที่ธุรกิจไม่ได้เป็นเพียงการแข่งขันกันแค่ตัวเองหรือคู่แข่งในตลาดซึ่งมีอยู่มากมาย แต่กำลังแข่งอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี่ต่างๆ มากมาย ด้วยเหตุนี้ 88 Match & Mentor ครั้งที่ 3 HACK THE FUTURE จึงเกิดขึ้นภายใต้กิจกรรม Talk Session The…
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เดินหน้าส่งเสริมและสนับสนุนสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมไทยผ่านโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า (Thematic Innovation) เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ภายใต้งบประมาณกว่า 200 ล้านบาท โดยมุ่งสนับสนุนธุรกิจนวัตกรรมใน 6 สาขา 1) อาหารมูลค่าสูงสำหรับส่งออก2) ความมั่นคงทางอาหาร3) เศรษฐกิจการหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ4) พลังงานสะอาด5) ธุรกิจดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์…
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคเกษตรไทยผ่านโครงการ “Inno4Farmers 2022” เป็นปีที่ 3 โดยมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมและพัฒนาศักยภาพของสตาร์ทอัพด้านการเกษตรให้พัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ภาคการเกษตรอย่างตรงจุด และสามารถขยายฐานธุรกิจเพื่อเติบโตได้ไปพร้อมกัน สำหรับปีนี้มีสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการจำนวน 7 ทีม ซึ่งแต่ละทีมมีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยี มีโอกาสนำเสนอแนวคิด/โซลูชั่นและร่วมทำงานจริงกับองค์กรพันธมิตรภาคการเกษตรชั้นนำของประเทศ พร้อมโอกาสการเชื่อมโยงกับภาครัฐ เอกชน และนักลงทุนในการต่อยอดธุรกิจผ่านเวทีนำเสนอผลงานและแผนธุรกิจต่อนักลงทุนและผู้ที่สนใจนวัตกรรมด้านการเกษตร โดยสตาร์ทอัพผู้ชนะได้รับรางวัล…
This website uses cookies.