เราอาจจะเห็นความสำเร็จในการนำแนวทางการพัฒนาแบบ TOD (Transit Oriented Development) มาพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งสาธารณะในเมืองหลวงของประเทศต่างๆ จนดูเหมือนว่าจะมีเพียงเฉพาะเมืองหลวงและเมืองรอบปริมณฑลเท่านั้นที่มีสิทธิ์ได้รับการพัฒนาตามแนวทาง TOD แต่ความจริงแล้วการพัฒนาไม่จำเป็นต้องทำในพื้นที่ดังกล่าว โดยเกณฑ์การพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงตามแนวทาง TOD มีอยู่ 5 ประเภทดังต่อไปนี้ 1.พื้นที่ศูนย์กลางคมนาคมประจำภูมิภาค สถานีขนส่งขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางเมืองใหญ่ของแต่ละภูมิภาค เป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายการคมนาคมขนส่งผู้โดยสารขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพความคุ้มค่าในการพัฒนาตามแนวทาง TOD มากที่สุด ยกตัวอย่างในประเทศไทย…
จากวิกฤติโควิด-19 ส่งผลให้คนต้องปรับตัวในการทำงาน ไลฟ์สไตล์การทำงานของคนเปลี่ยนไป สอดคล้องกับข้อมูลจากสื่อในต่างประเทศที่มองว่า วิถีการทำงานของคนในอนาคตจะเปลี่ยนไป เป็นการทำงานในรูปแบบ Smart Office มากขึ้น หมายความว่าการทำงานหลังจากนี้พนักงานจะสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้ ด้าน เอสอาร์ที แอสเสท เป็นรัฐวิสาหกิจหน่วยงานแรกๆ ของไทยที่ตัดสินใจปรับรูปแบบการทำงานเป็น Smart Office ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท ไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล…
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development หรือ TOD) ได้รับความสนใจในนโยบายการพัฒนาเมืองสมัยใหม่ โดยการใช้ ‘สถานีรถไฟ’ เป็นศูนย์กลางควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสาน (Mixed Use) จัดสรรให้มีทั้งพื้นที่อยู่อาศัย ร้านค้า สำนักงาน และพื้นที่สาธารณะ รวมทั้งบริการพื้นฐานต่างๆ เพื่อใช้พื้นที่ทุกตารางเมตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด แนวการพัฒนารูปแบบดังกล่าวช่วยสร้างโอกาสในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนให้ใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ การพัฒนาขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพสูงจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น…
เอสอาร์ที แอสเสท บริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินธุรกิจด้านการบริหารและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟ ยืนยันชัดไม่เคยมีแนวคิดที่จะทุบ รื้อ ทำลาย สถานีหัวลำโพงแต่อย่างใด พร้อมพัฒนาสถานีหัวลำโพงเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในเมือง และยังคงอนุรักษ์สถานีหัวลำโพง และจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ไว้อย่างครบถ้วน -BMN ผนึก J&T Express ในแคมเปญ “ANYWHERE MRT ANYWHERE J&T”…
This website uses cookies.