กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) โดย สำนักงาน กสทช. สนับสนุนทุนวิจัยให้แก่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ในการศึกษาแนวนโยบายการให้บริการและการกำกับกิจการดาวเทียมประเภทวงโคจรไม่ประจำที่ (NGSO) เพื่อการพัฒนาระบบนิเวศเศรษฐกิจอวกาศด้านดาวเทียมของประเทศไทย ชี้เศรษฐกิจอวกาศมีบทบาทต่อเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันหลายประเด็น และถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มสำคัญที่สามารถสร้างเม็ดเงินให้ประเทศพร้อมขับเคลื่อนความก้าวหน้าได้หลายมิติ อาทิ การสื่อสาร…
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของการใช้งานเครือข่าย 5G และปริมาณการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการย่านความถี่กลางสูงขึ้นเพื่อสอดรับกับความต้องการใช้งานในอนาคต โดยรายงานของสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) หัวข้อ ‘ความต้องการใช้งานย่านความถี่กลางสำหรับเครือข่าย 5G ในปี พ.ศ. 2573’ (5G-Mid-Band-Spectrum-Needs-Vision-2030) ระบุว่าความถี่ 2GHz ในย่านความถี่กลาง ถือเป็นย่านความถี่ที่ได้รับการแนะนำให้ทุกประเทศใช้งานในช่วงปี พ.ศ. 2568…
หากพูดถึงการส่งต่อความรู้สึกในยุค 6G เราไม่ได้กำลังพูดถึงเรื่องจิตใจ แต่กำลังพูดถึงด้านการส่งต่อความรู้สึกด้านประสาทสัมผัส หากจะให้ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น คนที่เล่นเปียโนเก่ง สามารถทำให้คนที่เล่นเปียโนไม่เป็น เล่นเป็นได้ทันที ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในที่เดียวกัน โดยทั้งคู่จะต้องใส่อุปกรณ์เพื่อให้เครือข่ายส่งข้อมูลเชื่อมประสาทสัมผัสแบบไร้สายไปหากันได้ หรือเราสามารถเก็บข้อมูลของคนที่มีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งไว้ในระบบ และให้ผู้ที่มาเรียนสวมใส่อุปกรณ์ก่อนจะถูกยังคับให้ทำตามท่าทางดังกล่าวได้ นั่นหมายความว่า เราสามารถเก็บข้อมูลของคนที่เก่งด้านทักษะการใช้มือ เท้า หรือส่วนอื่นๆ ของร่างกายจากทั่วโลก มาสอนคนให้เก่งได้อย่างง่ายดายขึ้น แต่อีกนัยหนึ่งนั้นหมายความว่า…
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยี 5G จะเพิ่งเริ่มต้นมาได้เพียง 2 ปี กว่าๆ แต่ปัจจุบันนักพัฒนาต่างกำลังศึกษาค้นคว้าถึงก้าวต่อไปของโลกเครือข่ายที่ฉลาดมากกว่าเดิม รวดเร็วกว่าเดิม ข้ามขีดจำกัดได้มากกว่าเดิม ล่าสุดในการประชุม Global Mobile Broadband Forum (MBBF) ครั้งที่ 13 ของหัวเว่ย ได้มีการพูดถึงการพัฒนาสู่ยุค 5.5G…