ก้าวสู่ยุคดิจิทัลเต็มตัว องค์กรต่างเร่งปรับตัว "ปัญญาประดิษฐ์" หรือ AI กลายเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (CITU) เผยเคล็ดลับสู่ความสำเร็จ ชู "กลยุทธ์ AI" ผสาน "จริยธรรม" และ "ธรรมาภิบาล" ปูทางสู่ปี 2025 ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจ…
เรากำลังอยู่ ณ จุดเปลี่ยนที่สำคัญมากๆ ในการพลิกโฉมด้วย AI และองค์กรธุรกิจทั้งหลายต่างมุ่งหวังที่จะเร่งสร้างรายได้ให้แก่องค์กรด้วยการใช้ AI ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่สร้างโลกยุคใหม่ก็ว่าได้ แต่ AI ก็มาพร้อมกับความท้าทายที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในบรรดาความท้าทายเรื่องใหญ่ที่สุดอีกหลายๆ เรื่องของการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันตั้งแต่ยุคที่แข่งกันนำองค์กรสู่ระบบคลาวด์ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา และความท้าทายเรื่องใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งที่ว่านั้นก็คือ การบริหารจัดการข้อมูล AI ที่มีมากมายมหาศาล องค์กรธุรกิจหลายๆ องค์กรตระหนักดีว่าการลงทุนเพื่อทำเรื่อง AI ให้ใช้งานได้ดีนั้น มีเรื่องใดบ้างที่จำเป็นต้องทำ และได้ปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณที่ต้องใช้ให้สอดคล้องกับความจำเป็นที่ต้องทำ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องดี อ้างถึงข้อมูลของ Statista คาดการณ์ว่าตลาด AI ในประเทศไทยในปี 2024 จะมีมูลค่าสูงถึงเกือบ 5 หมื่นล้านบาท และคาดว่าระหว่างปี 2024-2030 จะเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 17.96% ซึ่งจะส่งให้มูลค่าตลาดอยู่ที่ราว 133,000 ล้านบาทในปี 2030 แม้ว่าการเติบโตดังกล่าวจะไปในแนวทางที่ถูกต้อง แต่การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จขึ้นเป็นผู้นำหรือเป็นผู้ล้าหลังในการทำ AI นั้น ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรนั้นลงทุนใช้จ่ายกับการทำระบบ AI อย่างไร แล้วเรื่องสำคัญที่สุดในลิสต์รายการด้านไอทีที่ต้องลงทุนเพื่อทำระบบ AI ให้มีประสิทธิภาพสำหรับ CIO ที่มีความเข้าใจเรื่อง AI เป็นอย่างดีคือเรื่องใด คำตอบคือ ระบบสตอเรจเพื่อบริหารจัดการข้อมูล ที่มีอยู่มากมายมหาศาล และเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการทำ AI…
การ์ทเนอร์ รายงานว่า 80% ของ CIO จะมีตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนขององค์กรไอที ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ไม่เกิน 2570 กฎระเบียบด้านไอทีกำลังยกระดับความร้อนแรงขึ้นทั่วโลก สหภาพยุโรปกำลังเป็นแกนนำ แต่ก็ไม่ได้ไปเพียงลำพัง เพราะสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาเพิ่งอนุมัติกฎที่จะกำหนดให้บริษัทมหาชนบางแห่ง ต้องรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สถิติ 80% ที่เอ่ยไปข้างต้น มีเพียง 43% ของผู้บริหารเท่านั้น…
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ขยายเวลาการเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานธุรกิจบริการดิจิทัล (CIO) เพื่อขับเคลื่อนแผนงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของธุรกิจต่าง ๆ ภายใต้การบริหารงานของไปรษณีย์ไทยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยขยายระยะเวลาเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 31 พฤษภาคม 2567 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมดาวน์โหลดเอกสารสมัครงานได้ทางเว็บไซต์ http://job.thailandpost.com/Home/Topic?Type=1&SubType=1&Aspx และสามารถยื่นใบสมัครพร้อมเอกสารและหลักฐานประกอบการสมัครด้วยตนเองได้ที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ชั้น 1 โซน…
ไปรษณีย์ไทย ประกาศเปิดสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานธุรกิจบริการดิจิทัล (CIO) ตั้งแต่วันนี้ - 25 เมษายน 2567 โดยผู้สมัครจะต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากสถานศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรองไว้แล้ว มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสัญชาติไทยมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี และไม่เกิน 56…
Economic Times CIO South East Asia ประกาศมอบรางวัล “Transformative CIO 2022” หรือ “Transformative Chief Information Officer ประจำปี 2565” ให้แก่ นางฐิติรัตน์ ศิริพัฒนาเลิศ…
SCB CIO มอง Greenwashing เป็นความท้าทายสำคัญของการลงทุนในธีม ESG หนุนนักลงทุนต้องพิจารณา ESG Rating ก่อนตัดสินใจลงทุนมากขึ้น ส่วนในปี 2565 กรณีบริษัทที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมัน มี ESG Rating ต่ำกว่าให้ผลตอบแทนโดดเด่นกว่า ESG Rating สูง…
จากการรักษาความปลอดภัย ไล่ไปถึงควอนตัม ปัญญาประดิษฐ์ (AI) จนกระทั่งระบบเอดจ์ขึ้นไปยังคลาวด์ เห็นได้อย่างชัดเจนว่าโลกดิจิทัลของเรากำลังพัฒนาและขยายตัวอย่างรวดเร็วด้วยอัตราที่เร็วกว่าที่เคยเป็น และด้วยการรบกวนที่มีอยู่เป็นจำนวนมากนี้ จึงกลายเป็นเรื่องยากที่จะจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ยังไม่ต้องพูดถึงการเริ่มต้นทำสิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากเฝ้าดูเรื่องเล็กน้อยอย่างบิต ไบต์ ความเร็ว การฟีดข้อมูลและอื่นๆ จากทั้งหมดที่ได้ยินมา นี่คือสิ่งที่กำลังสร้างแรงกดดันเป็นอย่างมากให้กับผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง หรือ CIOs ดังนั้น ในปีนี้ แทนที่จะพูดถึงการคาดการณ์ล่วงหน้าอย่างที่เคย…
ผลสำรวจล่าสุดจากเลอโนโว ซึ่งสำรวจบทบาทหน้าที่ของ CIO หรือ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ ทั่วโลก พบว่า บทบาทหน้าที่ของ CIO ในปัจจุบันนั้นรับผิดชอบมากขึ้นกว่าการดูแลด้านเทคโนโลยีขององค์กร แต่ยังรวมถึงช่วยกำกับดูแลการดำเนินงานของธุรกิจและแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ ทุกวันนี้เทคโนโลยีเสมือนเป็นแกนกลางหลักที่เชื่อมต่อส่วนต่าง ๆ ของธุรกิจเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นด้าน กลยุทธ์องค์กร, ไฟแนนซ์, นวัตกรรม, ปฎิบัติการณ์, หรือแม้กระทั่งการจัดหาคัดสรรพนักงาน ด้วยเหตุนี้เอง CIO ในปัจจุบันจึงมีบทบาทการทำงานที่เพิ่มขึ้น โดยต้องรับหน้าที่ทำงานร่วมกับผู้นำของแต่ละแผนกเพื่อปรับปรุงพัฒนาธุรกิจให้ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน และเมื่อเทคโนโลยีคือแกนกลางในทุกส่วนของธุรกิจ CIO…
This website uses cookies.