NIA ให้ความสำคัญและพร้อมสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 หรือแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน เชียงใหม่ ในวิกฤตสูดอากาศฤดูหนาว!! เมื่อความชุกของฝนลดลง เริ่มได้สัมผัสสายลมเย็นที่พัดผ่านเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ฤดูหนาวและเทศกาลแห่งความสุขกำลังวนมาอีกครั้ง แน่นอนว่าหลายจังหวัดทางภาคเหนือจะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเชียงใหม่ที่นับว่าเป็นจังหวัดมีเสน่ห์เป็นลำดับต้นๆ ของโลก เรียกได้ว่าเป็นช่วง High-Season ที่กระตุ้นให้เศรษฐกิจคึกคักเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจด้านการท่องเที่ยวจะได้รับประโยชน์ แต่ธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องในพื้นที่ต่างก็ได้รับเม็ดเงินจากบรรดานักท่องเที่ยวผู้มาเยือนถิ่นล้านนาด้วยเช่นกัน แต่ขณะเดียวกัน ฤดูหนาวกลับเป็นฤดูกาลที่คนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือต้องต่อสู้กับฝุ่นควัน PM…
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีทั้งการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์อย่างกว้างขวาง โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรสูงถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั่วประเทศ และมีการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารอันดับที่ 13 ของโลก ด้วยมูลค่า 1.3 ล้านล้านบาท แต่ถึงแม้จะส่งออกได้มากจนติดอันดับโลก เกษตรกรไทยกลับยังประสบปัญหาด้านรายได้ เนื่องจากประสิทธิภาพการทำเกษตรต่ำสวนทางกับต้นทุนการผลิตที่สูง อีกทั้งยังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานและไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความท้าทายที่เหล่าสตาร์ทอัพด้านการเกษตรจะต้องนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยยกระดับและสร้างคุณค่าใหม่ให้กับภาคเกษตรไทย และหากถามถึงเทคโนโลยีที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับเกษตรไทยได้แบบก้าวกระโดด นาทีนี้คงหนีไม่พ้น “ดีพเทค” หรือเทคโนโลยีเชิงลึก วันนี้…
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ถูกจัดให้เป็นอันดับที่ 1 จากเวที 2022-2023 Thailand’s Most Admired Company ในกลุ่มองค์การมหาชน (นวัตกรรม + เทคโนโลยี) ที่ได้รับความเชื่อมั่น การจดจำ และการยอมรับสูงสุดในเชิงภาพลักษณ์ รวมถึงความพึงพอใจในการให้บริการ…
NIA เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น “ประเทศแห่งนวัตกรรม” และติดอันดับ 1 ใน 30 ของประเทศที่มีความสามารถด้านนวัตกรรมของโลก ภายในปี 2573 ด้วยการเร่งปั้นสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการด้านนวัตกรรม พร้อมส่งเสริมการสร้างระบบนวัตกรรมแห่งชาติที่เข้มแข็งภายใต้ 4 กลยุทธ์ ได้แก่ พัฒนาระบบนวัตกรรมไทยเป็นระบบที่เปิดกว้าง พลิกโฉมระบบการเงินนวัตกรรมไทยสร้างระบบข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม และองค์กรสมรรถนะสูงที่พร้อมต่อความเปลี่ยนแปลง ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า NIA กล่าวว่า ภาพรวมนวัตกรรมไทย ปี 65 ที่ผ่านมามีสัญญาณที่ค่อนข้างแรง หากดูจากดัชนีนวัตกรรมของประเทศไทย พบว่า ปี 2018 ดีมาก ประเทศไทยขยับมาที่อันดับ 44 ของโลก จากนั้นมาอยู่ที่ 43 และไม่ขยับอีกเลย ส่วนหนึ่งเพราะติดกับดักรายได้ปานกลาง ซึ่งการที่ยืนอยู่ได้เป็นเพราะภาคเอกชนลงทุนกับงานวิจัยและนวัตกรรมมากกว่าภาครัฐ ซึ่งมากกว่า 80% เป็นภาคเอกชนลงทุน ทำให้เห็นว่าสตาร์ทอัพไทยมีเอกชนเข้าไปลงทุนมาก สำหรับแผนของประเทศไทยนั้นมีเป้าจะเป็นประเทศแห่งนวัตกรรม และติดอันดับ 30 ภายในปี 2573 -7 เทรนด์นวัตกรรม ปี 66 สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน "ในปีที่ผ่านมา เราได้อันดับ 1 ด้านการส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ แต่เราไม่ได้เป็นผู้ออกแบบหมายความว่าประเทศไทยเป็นเพียงผู้รับจ้างการผลิต" รัฐ-เอกชน ต้องแชร์ข้อมูลกัน สำหรับภาคเอกชนของไทยนั้นอยู่ในระดับ Wrold class มีการเงินที่ให้กับสตาร์ทอัพในการเติบโตอยู่ในอันดับที่ 14 ของโลก ทั้งนี้จากอันดับที่เกิดขึ้นนั้นไม่สอดคล้องกับการเติบโตของจำนวนสตาร์ทอัพไทย จึงเป็นไปได้ว่ามีการไปลงทุนกับสตาร์ทอัพนอกประเทศ แต่หากมาดูกฎระเบียบมีส่งเสริมภาคเอกชนนั้น ยังต้องปรับอีกมาก เพราะกฎระเบียบนั้นไม่เอื้อต่อการทำงานของภาคเอกชน จะต้องปรับให้ส่งเสริมสตาร์ทอัพไทยเติบโตได้ดีมากขึ้น ให้สเกลอัพได้ง่ายขึ้น ดร.พันธุ์อาจ กล่าวว่า หลังจากนี้เอกชนกับภาครัฐจำเป็นต้องมาแชร์ข้อมูลกัน โดยภาครัฐจะต้องค่อยๆ แก้กฎหมาย ขณะที่ภาคเอกชนช่วยกันผลักดันให้เกิดสตาร์ทอัพหน้าใหม่มากขึ้น และเข้าถึงเงินทุนได้มากขึ้น อีกประเด็นที่จะส่งผลกระทบไปถึงปีหน้า คือ ประเทศไทยไม่ดึงดูดให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนด้านวิจัยและนวัตกรรม ประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนภาพลักษณ์ที่ให้คนเห็นมากกว่าด้านอาหารและการท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบัน กทม. มีความพร้อมรองรับชาวต่างชาติ เพราะอยู่ในช่วงสร้างพื้นที่นวัตกรรมใจกลางเมือง ขณะที่ Startup City จาก 1,000 เมืองทั่วโลก ประเทศไทยติดอันดับถึง 4 เมือง โดยมี กทม. ติดอันดับที่ 99 นอกจากนั้นมี ภูเก็ต เชียงใหม่ และ พัทยา ซึ่งติดอยู่ใน Top 300 ซึ่งประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมที่ดึงดูด เมืองน่าอยู่ ไลฟ์สไตล์เหมาะสม แต่จะทำอย่างไรให้คนอยากเข้ามาลงทุนมากขึ้น ทั้งด้าน Visa หรือ BOI นอกจากนี้ยังต้องมีข้อมูลเข้าถึงคนต่างชาติมากขึ้น ปัจจุบัน NIA เริ่มทำย่านโยธีเป็นด้านนวัตกรรม Medical ซึ่งคนที่เข้ามาก็จะได้สิทธิพิเศษด้าน BOI มากขึ้น…
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดข้อมูล 7 เทรนด์นวัตกรรม ปี 2566 ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับไทยและในระดับโลก ได้แก่ ขาขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ด้านพลังงาน การฟื้นสร้างอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอากาศยาน ผู้เล่นใหม่จากวงการเทคโนโลยีเชิงลึก การกลับมาผงาดอีกครั้งของญี่ปุ่นด้วยซอฟต์พาวเวอร์ ปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์เนื้อหาจากข้อมูล เข้าสู่ยุคใหม่ของเทคโนโลยีอาหาร และการลงทุนขนานใหญ่ในเทคโนโลยีความมั่นคง 1.ขาขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ด้านพลังงาน (New…
หากพูดถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก จะเห็นได้ว่ากระแสของยานยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ ซึ่งกระแสความนิยมนี้เกิดขึ้นจากการที่ประชาคมโลกให้ความสำคัญกับปัญหาวิกฤตพลังงานและภาวะโลกร้อนที่เกิดเป็นข้อตกลงในสนธิสัญญาปารีส (COP 21) โดยสมาชิกทั้ง 195 ประเทศจะร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20-25% ในปี 2030 ทำให้หลายประเทศเริ่มประกาศแนวนโยบายยกเลิกการใช้รถยนต์สันดาปที่ใช้แหล่งพลังงานจากน้ำมัน (Internal Combustion Engine; ICE) ไปสู่ยานยนต์ไร้มลพิษที่ใช้พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle; EV)…
NIA พร้อมเดินหน้าส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมใน ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (Yothi Medical innovation district; YMID) สู่ศูนย์กลางพัฒนานวัตกรรมการแพทย์และการวิจัยในภูมิภาค หลังทคว้ารางวัล “WOW 2022 Awards” ประเภทโครงการจากภาครัฐ สาขาย่าน/ชุมชน ซึ่งจัดโดยสมาคมสถาปนิกสยามฯ เพื่อเชิดชูโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง พัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คน ส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนในมิติต่าง ๆ…
ปิดฉากเป็นที่เรียบร้อยสำหรับการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC 2022) ที่ปีนี้ประเทศไทยได้รับโอกาสในการเป็นเจ้าภาพ และหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจที่สุดก็หนีไม่พ้นวาระแห่งความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดและนโยบาย “BCG Model” ของรัฐบาลไทยที่ต้องการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ประสบความสำเร็จเร็วขึ้นด้วยการเปิดพื้นที่ให้ภาคเอกชน เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ ที่มีความพร้อมและกำลังลงทุนในเทคโนโลยี มาร่วมส่งเสริมความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจกับการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยนวัตกรรม ยิ่งไปกว่านั้นการจัดประชุมครั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้ไทยได้แสดงออกถึงดีเอ็นเอทางนวัตกรรมผ่านศิลปวัฒนธรรมด้านอาหารไทย ของที่ระลึก การแสดง ฯลฯ และหนึ่งในนวัตกรรมที่มีการเปิดตัวและเรียกความน่าสนใจไม่น้อย นั่นก็คือ “นวัตกรรมยานยนต์รถและเรือไฟฟ้าเพื่อใช้รับ…
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ขับเคลื่อนแนวพระราชดำริด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้วยวิทยาศาสตร์…
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เตรียมความพร้อมในการส่งเสริมสตาร์ทอัพไทยเดินหน้าทำความร่วมมือกับชาติยุโรป ได้แก่ สาธารณรัฐโปรตุเกส และราชอาณาจักรสวีเดน เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมที่จำเป็นสำหรับผลักดันให้สตาร์ทอัพไทยมีโอกาสเติบโตในเวทีนานาชาติได้มากขึ้น เช่น ความร่วมมือในการผลักดันสตาร์ทอัพด้านอาหารภายใต้โครงการ SPACE-F เพื่อขยายผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารและการเกษตรสู่ตลาดโปรตุเกส ความร่วมมือในการจัดงาน Startup X Innovation Thailand Expo 2023…
This website uses cookies.