เทคโนโลยีการสื่อสารและการสร้างแบบจำลองสามมิติในถ้ำ ประโยชน์ต่อการรับมือพิบัติภัยและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

เทคโนโลยีการสื่อสารและการสร้างแบบจำลองสามมิติในถ้ำ ประโยชน์ต่อการรับมือพิบัติภัยและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

จากกรณี 13 หมูป่า ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เมื่อปี 2561 ปัญหาในขณะนั้นคือ ไม่สามารถสื่อสารกับคนภายในถ้ำได้ ยกเว้นมีการลากสายนำสัญญาณเข้าไปที่โถง อีกประเด็นคือการกู้ชีวิตเด็กทั้ง 13 คน ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจนว่า บริเวณผู้ที่ติดค้างอยู่ในโพรงถ้ำอยู่ตำแหน่งใด เพราะฉะนั้นการจะเจาะเข้าไปในถ้ำนั้นมีโอกาสเกิดความผิดพลาดสูง

เทคโนโลยีการสื่อสาร การสร้างแบบจำลองเพื่อทำแผนที่ภายในถ้ำอย่างละเอียด และให้สามารถระบุตำแหน่งในถ้ำได้ เชื่อมต่อระหว่างผู้ที่อยู่ภายในและนอกถ้ำได้ จึงมีความสำคัญอย่างมาก

เทคโนโลยีการสื่อสารและการสร้างแบบจำลองสามมิติในถ้ำ ประโยชน์ต่อการรับมือพิบัติภัยและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

Biztalk : สร้างรายได้จาก Metaverse
“ไมโล นมถั่วเหลือง” เปิดตัวในไทยที่แรก เจาะตลาดคุณแม่ยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพลูก

ด้านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ดังกล่าว จึงเดินหน้าทำโครงการศึกษาแนวทางการใช้คลื่นความถี่สำหรับระบบสื่อสารรวมทั้งการสร้างแบบจำลองสามมิติและระบุตำแหน่งในถ้ำ ผ่านการขอทุนวิจัยจาก กทปส. ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. เพื่อเตรียมพร้อมในสถานการณ์ภาวะฉุกเฉินและพิบัติภัย และต่อยอดการใช้ประโยชน์ของโครงการฯ สู่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ประกอบไปด้วย

เทคโนโลยีการสื่อสารจากภายนอกถ้ำ: โดยการติดตั้งสถานีสื่อสารบนเขา เพื่อให้สื่อสารลงไปได้ตลอดแนวโพรงถ้ำ

เทคโนโลยีการสื่อสารและการสร้างแบบจำลองสามมิติในถ้ำ ประโยชน์ต่อการรับมือพิบัติภัยและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

การพัฒนาระบบสื่อสารแบบดิจิทัลที่อยู่ภายในโพรงถ้ำ: โดยการจำลองไมโครเซลล์ (Microcell) คล้ายกับระบบเซลลูลาร์ (Cellular) เข้าไปอยู่ในแต่ละจุดของโพรงถ้ำ ซึ่งระบบจะสามารถถ่ายถอดสัญญาณในระยะทางที่เหมาะสมได้ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางโค้ง
(ใช้เครื่องมือ RF Signal Generator ย่านความถี่ 100 kHz – 3 GHz ทำหน้าที่ส่งคลื่นความถี่ในย่าน LF, MF, HF, VHF และ UHF ส่งผ่านสายอากาศที่ได้รับการออกแบบขึ้นมาเฉพาะย่านความถี่ใช้งาน เพื่อส่งคลื่นความถี่เข้าไปในพื้นที่ที่กำหนดภายในถ้ำ)

เทคโนโลยีการสื่อสารและการสร้างแบบจำลองสามมิติในถ้ำ ประโยชน์ต่อการรับมือพิบัติภัยและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

กำหนดตำแหน่งภายในถ้ำแบบ ละติจูด ลองจิจูด: ซึ่งปกติภายนอกถ้ำจะสามารถทำได้ผ่านดาวเทียม แต่ภายในถ้ำเป็นการใช้ระบบที่สามารถคำนวณตำแหน่งภายในถ้ำแต่ละจุด้วยความแม่นยำ ผ่านอุปกรณ์ไจโรสโคป (Gyroscope) เข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์ และ อุปกรณ์วัดระยะทางด้วยเลเซอร์ อยู่ในชุดเดียวกัน ประกอบกับการใช้ GPS ความละเอียดสูงอ้างอิง

การสแกนภาพด้วยแสงเลเซอร์: สามารถสแกนภาพในระนาบแนวราบได้ 360 องศา ระนาบแนวตั้ง 270 องศา ภาพที่ได้ออกมาจะเป็นภาพเสมือนจริง สามารถวัดขนาดความกว้างและความสูงของโพรงถ้ำได้ว่ามีขนาดเท่าไร ทำให้ได้แผนที่ถ้ำที่สมบูรณ์แบบ

เทคโนโลยีการสื่อสารและการสร้างแบบจำลองสามมิติในถ้ำ ประโยชน์ต่อการรับมือพิบัติภัยและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

“ทุกถ้ำในประเทศไทยที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือยังไม่มีการสำรวจ ระบบนี้จะช่วยให้เราสามารถทำแผนที่ถ้ำได้อย่างสมบูรณ์แบบ” รศ. ดร.รังสรรค์ วงศ์สรรค์ สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี และ หัวหน้าโครงการศึกษาแนวทางการใช้คลื่นความถี่สำหรับระบบสื่อสารรวมทั้งการสร้างแบบจำลองและระบุตำแหน่งในถ้ำ กล่าว

ขณะที่นักท่องเที่ยวสามารถรู้ว่าตนเองอยู่ในตำแหน่งใดของถ้ำ กรณีเกิดภัยพิบัติ หรือจำเป็นต้องค้นหา เจ้าหน้าที่กู้ภัยจะรู้ตำแหน่งที่ต้องเข้าไปปฏิบัติการได้ ในกรณีที่ต้องเจาะโพรงถ้ำ ก็จะรู้ว่าจุดไหนที่ผนังถ้ำบางที่สุดและเจาะง่ายที่สุด

“เราหวังว่า หากกรมอุทยานฯ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า นำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ และเก็บแผนที่ถ้ำได้ทั้งประเทศ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวและกู้ภัยได้” รศ. ดร.รังสรรค์ กล่าว

เทคโนโลยีการสื่อสารและการสร้างแบบจำลองสามมิติในถ้ำ ประโยชน์ต่อการรับมือพิบัติภัยและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

เลือกถ้ำเชียงดาวทดสอบระบบ

สำหรับการทดสอบระบบสื่อสารและสร้างแบบจำลองสามมิติภายในถ้ำครั้งนี้นั้นทางทีมวิจัยเลือกถ้ำหลวงเชียงดาว เป็นสถานที่ในการทดสอบ เนื่องจากเป็นถ้ำที่สมบูรณ์ มีขนาดใหญ่ อยู่ในการดูแลของกรมอุทยานฯ รวมถึงเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเยี่ยมชมได้ทั้งภายนอกและจ้างไกด์เพื่อเข้าไปเที่ยวด้านในถ้ำได้

“เหตุการณ์ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน กระตุ้นให้หน่วยงานจำเป็นต้องมีความพร้อมรับมือและแก้ไขสถานการณ์การเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย” ลัญจกร สุขสวัสดิ์ ผู้ช่วยหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว กล่าว

เทคโนโลยีการสื่อสารและการสร้างแบบจำลองสามมิติในถ้ำ ประโยชน์ต่อการรับมือพิบัติภัยและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

ลัญจกร กล่าวเสริมว่า การติดตั้งอุปกรณ์เพื่อทดสอบในถ้ำเชียงดาวในครั้งนี้เป็นเรื่องที่ดี ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถจัดการระบบถ้ำได้ในอนาคต เพราะหากไม่มีระบบสื่อสารและแผนที่ก็เหมือนกับการเดินเข้าไปในห้องมืด พื้นทางเดินไม่เรียบ หากไปเจอแหล่งน้ำก็ไม่รู้ว่ามีความลึกเท่าใด และจะมีเหวหรือไม่ ซึ่งการที่มีระบบเพื่อสร้างภาพจำลองแผนที่ถ้ำ ทำให้เจ้าหน้าที่เห็นภาพและรู้ว่าภายในถ้ำมีลักษณะอย่างไร สามารถระบุพิกัดและสื่อสารกับทีมงานภายนอกได้ ทำให้เกิดความปลอดภัยในการเข้าไปท่องเที่ยว รวมถึงการเข้าช่วยเหลือหากเกิดพิบัติภัยได้เป็นอย่างดี

เทคโนโลยีการสื่อสารและการสร้างแบบจำลองสามมิติในถ้ำ ประโยชน์ต่อการรับมือพิบัติภัยและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

Related Posts

Scroll to Top