Technology IT

ล้ำสุดในไทย กทปส. พาลมหายใจสะอาดสู่คนไทยด้วย เทคโนโลยีโลล่า จุดเปลี่ยนการเฝ้าระวังไฟป่าที่ช่วยระงับเหตุได้ทันเวลา แก้ปัญหาได้ทันที

สถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่สูงเกินมาตรฐาน ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนแค่ในเมืองใหญ่ ๆ หรือในเขตอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ได้ปกคลุมไปแทบทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งแหล่งกำเนิด PM 2.5 มากกว่าครึ่งมาจากการเผาในที่โล่งแจ้ง ซึ่งรวมถึงการเกิด “ไฟป่า” ต้นตอของปัญหาหมอกควันพิษส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพจากการสูดดม PM2.5 ที่เพิ่มโอกาสการเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจหรือปัญหาทัศนวิสัยในการคมนาคมขนส่ง ที่เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน อีกทั้งยังทำให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรอันมีค่า แม้ที่ผ่านมาภาครัฐและเอกชน จะตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหานี้ แต่ก็ยังอยู่ในภาวะของการ “ตั้งรับ” และ “บรรเทา” จำเป็นต้องมีมาตรการและแนวทางป้องกันและแก้ไขในระยะยาว

หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าไม่ค่อยได้ผลเพราะการแจ้งเตือนการเกิดไฟป่าค่อนข้างล่าช้าและไม่ทันเหตุการณ์ จึงทำให้คณะนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ AIT เกิดแนวคิดในการพัฒนาแพลตฟอร์มไอโอที มาช่วยเฝ้าระวังไฟป่าและมลพิษทางอากาศ ซึ่งวันนี้ ดร.อดิสรณ์ เลิศสินทรัพย์ทวี จะพาไปทำความรู้จักและอินไซต์กับนวัตกรรมแพลตฟอร์ม www.วัดฝุ่น.ไทย ที่เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีคลื่นความถี่ต่ำ “โลล่า” เพื่อก้าวข้ามปัญหาการป้องกันไฟป่าในประเทศไทย

กทปส. ส่งทุนพา “โลล่า” จากห้องวิจัย สู่การใช้งานจริง

ดร.อดิสรณ์ ได้เล่าถึงที่มาที่ไปของโครงการว่า แต่เดิมการเฝ้าระวังไฟป่าทำโดยชาวบ้านที่เป็นอาสาสมัครเดินเท้าเข้าป่าสำรวจและสังเกตความผิดปกติจากกลุ่มควันที่ลอยขึ้นมา ซึ่งค่อนข้างยากลำบากเพราะบางแห่งอยู่ลึกมาก ยากแก่การเข้าไปถึง ส่วนเจ้าหน้าที่ที่สถานีควบคุมไฟป่าก็จะอาศัยข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ที่ได้จากการบันทึกตำแหน่งความร้อน (hot spot) จากระบบดาวเทียม ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งต่อเพื่อทำการวิเคราะห์และประมวลผล หากพบว่าพื้นที่นั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดไฟป่า หรือ มีไฟป่าเกิดขึ้นแล้ว ก็จะแจ้งข้อมูลต่อไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าทำการระงับเหตุ แต่เนื่องจากดาวเทียมโคจรพาดผ่านประเทศไทยเพียง 2 ครั้งต่อวัน ทำให้การรายงานข้อมูลไม่ต่อเนื่องและไม่ Real time การวิเคราะห์ข้อมูลและแจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่จึงเกิดความล่าช้าครึ่งวัน – 1 วัน ส่งผลให้หลายครั้งไม่สามารถเข้าระงับเหตุได้ทันเวลา นอกจากนี้ ก็มีเครื่องมือตรวจวัดมลพิษทางอากาศของกรมควบคุมมลพิษที่สามารถรายงานคุณภาพอากาศ เช่น ความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 และก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ได้อย่างต่อเนื่องและค่อนข้าง Real Time แต่เนื่องด้วยตัวเครื่องมีงบประมาณสูงทำให้จำนวนเครื่องตรวจวัดไม่เพียงพออีกทั้งยังมีข้อจำกัดหลายประการที่ทำให้ไม่สามารถนำไปติดตั้งในพื้นที่ห่างไกลได้

จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คณะวิจัยจาก AIT ได้ผุดแนวคิดทำแพลตฟอร์ม “www.วัดฝุ่น.ไทย” พร้อมพัฒนาโมเดลตรวจจับไฟป่าจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ ซึ่งสามารถตรวจจับไฟป่าและแจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่ควบคุมไฟป่าและอาสาสมัครชุมชนเพื่อช่วยดับไฟป่าได้อย่างทันท่วงที ซึ่งในเบื้องต้น ได้ทำเป็นต้นแบบ (Prototype) ขึ้นมาก่อน โดยเริ่มต้นพัฒนาตั้งแต่ปี 2559 เรื่อยมา

“โลล่า” กับการก้าวข้ามข้อจำกัด ทำงานได้แม้ในพื้นที่อับสัญญาณ

ดร.อดิสรณ์ เล่าถึงการทำงานของระบบว่า หลัก ๆ จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่วางไว้ตามจุดต่างๆ เพื่อตรวจวัดคุณภาพอากาศ จากนั้นจะส่งข้อมูลผ่านแพลตฟอร์มไอโอทีมารวบรวมไว้ในฐานข้อมูลบนคลาวด์ เพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงลึกด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) เพื่อให้สามารถทราบสาเหตุและชนิดของกลุ่มหมอกควันและนำมาพัฒนาเป็นโมเดลในการตรวจจับไฟป่าสำหรับแจ้งเตือนภัยโดยรายงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าระงับเหตุได้ทันท่วงที ขณะเดียวกันก็สามารถรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศเพื่อเตือนภัยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหามลพิษทางอากาศและวิกฤตหมอกควันได้อีกด้วยแต่ปัญหาคือพื้นที่ป่าหลายแห่งอยู่ในพื้นที่อับสัญญาณ ไม่มีอินเทอร์เน็ตเข้าถึง ทำให้ไม่สามารถติดตั้งเซ็นเซอร์ได้ ทางคณะวิจัยจึงขอรับการสนับสนุนทุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. เพื่อนำเทคโนโลยี “โลล่า” (LoRa) มาช่วยในการส่งข้อมูลจากพื้นที่เสี่ยงภัยที่อาจจะเกิดไฟป่า ซึ่ง LoRa หรือ LoRaWAN นี้เป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย สามารถส่งสัญญาณทางไกล หรือ “Long Range (LoRa)” ได้ไกลถึง 10-15 กิโลเมตร ทำงานอยู่บนย่านความถี่ 920-925 MHz ที่ได้รับอนุญาตจาก กสทช. ซึ่งเป็นคลื่นวิทยุที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อรองรับกับการรับ-ส่งสัญญาณในระดับที่ต่ำมาก โดยนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับแพลตฟอร์มไอโอที ทำให้สามารถติดตั้งอุปกรณ์ไอโอที หรือเซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศได้ในพื้นที่ที่ห่างไกลที่ไม่มีทั้งอินเทอร์เน็ตและไฟฟ้าได้

“จุดเด่นของเทคโนโลยีโลล่า นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและขยายพื้นที่การใช้งาน IOT ในการเฝ้าระวังไฟป่าให้สามารถใช้ได้ทั้งในพื้นที่เสี่ยงและห่างไกลแล้ว อุปกรณ์ยังมีราคาไม่แพง ติดตั้งง่าย และสามารถตรวจวัดคุณภาพอากาศได้แบบ Real Time แต่ก็มีความท้าทายอยู่ตรงที่จะออกแบบอุปกรณ์อย่างไรให้มีเสถียรภาพ ทนทาน สามารถเข้าไปอยู่ในป่าลึกๆ ได้ และถ้าเกิดความเสียหายขึ้นจะทำอย่างไรให้อุปกรณ์ฟื้นตัวกลับมาด้วยตัวเองโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปแก้ไข เพราะการเข้าพื้นที่ต้องใช้เวลาเดินเท้า 2-3 ชั่วโมง ซึ่งด้วยการสนับสนุนจาก กทปส. ไม่เพียงช่วยผลักดันผลงานวิจัยที่อยู่ในห้องแล็บให้สามารถเป็นจริงได้แล้วยังช่วยให้มีทุนสำหรับนำในการพัฒนาอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับแอปพลิเคชันและเหมาะสมกับการใช้งานอีกด้วย ปัจจุบันมีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพอากาศไปแล้วมากกว่า 100 จุด ในเขตพื้นที่ป่า พื้นที่อุทยาน ชุมชนชนบทที่ได้รับผลกระทบจากควันไฟป่า ครอบคลุมหลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงราย ลำพูน และตาก ผู้ที่สนใจสามารถติดตามสถานการณ์หมอกควันและมลพิษทางอากาศได้ทางเว็บไซต์ www.วัดฝุ่น.ไทย และ “www.hazemon.in.th” อีกทั้งยังเปิดให้นักวิจัย คณาจารย์ และนักศึกษาสามารถดาวน์โหลดข้อมูลเพื่อทำการศึกษาวิจัยได้ด้วย”

พลังความร่วมมือของชุมชน กลไกสู่ความยั่งยืน

ดร.อดิสรณ์ ขยายความเพิ่มเติมว่า แม้เทคโนโลยีจะเข้ามาเป็นตัวช่วยอย่างมากในการเฝ้าระวังไฟป่า แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้แพลตฟอร์มสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืน คือ ความร่วมมือร่วมใจของชุมชนในพื้นที่ ซึ่งก่อนที่ทีมงานจะเข้าไปติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ จะมีการประสานงานไปยังชุมชนก่อน จากนั้นก็จะเข้าไปอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนเกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์ การติดตั้ง และการดูแลรักษาซึ่งจะช่วยให้ทางชุมชนได้มีส่วนร่วมกับโครงการตั้งแต่ต้น ทำให้ชุมชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ ช่วยเฝ้าระวังเป็นหูเป็นตา และช่วยดูแลรักษาอุปกรณ์ ซึ่งคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการเกิดความยั่งยืน

กทปส. ส่งต่อพลังหนุน ส่งทุนสร้างสรรค์สังคมไทย

โครงการการพัฒนาแพลตฟอร์มไอโอทีสำหรับการเฝ้าระวังไฟป่าและมลพิษทางอากาศด้วยเทคโนโลยีโลล่า คือหนึ่งในตัวอย่างความสำเร็จของโครงการที่ได้รับทุนจาก กทปส. ซึ่งแต่ละปี กทปส. จะมีการจัดสรรเงินทุนปีละหลายพันล้านบาทเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและสาธารณะในวงกว้าง โดยเปิดให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีคุณสมบัติตามที่ กทปส. กำหนด สามารถยื่นข้อเสนอโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุน เพื่อขอรับการจัดสรรเงินจากกองทุนได้ สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://btfp.nbtc.go.th/

กรุงศรี จับมือ สจล. เร่งพัฒนา Tech Ecosystem ร่วมขับเคลื่อนประเทศด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม

supersab

Recent Posts

“โค้ก” ซีโร่ กลิ่นวานิลลา: เขย่าตลาดเครื่องดื่ม เติมความซ่าส์ หอมหวานลงตัว เอาใจ Gen Z

โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…

6 hours ago

Epson ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นแท่นผู้นำคนใหม่

บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…

7 hours ago

รฟม. ลุยตรวจเข้ม ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีม่วง

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…

8 hours ago

LINE MAN MART ผนึกกำลัง Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายบริการช้อปปิ้งออนไลน์สู่ 1,400 สาขา จัดเต็มส่วนลดสุดปังทุกสัปดาห์!

LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…

11 hours ago

พฤกษา จับมือ รพ.วิมุต มอบสิทธิพิเศษดูแลสุขภาพลูกบ้านตลอดปี 2568 ตอกย้ำผู้นำอสังหาฯ สร้างชุมชนสุขภาพดี

พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…

11 hours ago

HONOR Magic7 Pro 5G ยอดขายพุ่งทะยาน 2.4 เท่า สะท้อนความเชื่อมั่นเทคโนโลยี AI

ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…

12 hours ago