กระทรวง อว. ส่ง 220 นวัตกรรม ช่วยประชาชน 44 จังหวัด ยกคุณภาพชีวิตได้กว่า 1.1 แสนคน

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เคลื่อนทัพนวัตกรรมเพื่อสังคมร่วมกับเครือข่ายและหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม 10 แห่งทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายในการสร้างนวัตกรด้านสังคมผ่านการบ่มเพาะและให้คำปรึกษาภายใต้ระบบพี่เลี้ยง เพื่อผลักดันแนวคิดสู่ต้นแบบหรือโครงการนำร่องเป็นผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่สร้างผลกระทบเชิงสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรมในพื้นที่เป้าหมาย และสามารถพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน ด้วยการนำนวัตกรรมไปแก้ปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

จากการดำเนินงานของ NIA สามารถสร้างนวัตกรทางสังคมจากกิจกรรมสร้างระบบนิเวศ จำนวน 1,389 คน และพัฒนาผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงในพื้นที่ จำนวน 220 ผลงาน ครอบคลุม 44 จังหวัด และมีผู้ได้รับประโยชน์จากผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม 117,410 คน และสามารถสร้างผลตอบแทนทางสังคมเชิงพื้นที่ ได้กว่า 3.25 เท่า

กอช. ร่วมมือ เนคเทค สวทช. พัฒนาระบบบริการสมาชิกด้วยเทคโนโลยี สอดรับแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
Digital Dialogue เปิดตัว CUBIKA Big Insights โซลูชันจัดการ Big Data เจาะกลุ่มองค์กรระดับเอ็นเตอร์ไพรส์

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า “หนึ่งในนโยบายและยุทธศาสตร์หลักของกระทรวง อว. คือ การขับเคลื่อนการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ ที่มุ่งเน้นสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมผ่านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้กลายเป็นชุมชนนวัตกรรมและมีนวัตกรในชุมชน

การใช้นวัตกรรมเพื่อสังคมเข้าไปช่วยแก้ปัญหาในชุมชน ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทุนทางสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรม เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร วิสาหกิจเริ่มต้น และวิสาหกิจชุมชน การแก้ไขปัญหาความยากจนในทุกมิติ ด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ รวมถึงการกระจายความเจริญสู่ระดับภูมิภาค เพื่อให้เป็นแหล่งสร้างงานสร้างรายได้ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศบนความสามารถของคนในพื้นที่

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์มหาชน) หรือ NIA ดำเนินการบริหารและจัดการทุนในการสร้างและใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและสังคมท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ภายใต้ “โครงการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน” ซึ่งเป็นโครงการ flagship สำคัญ โดยมีตัวชี้วัดหนึ่งคือ การนำผลงานนวัตกรรมด้านสังคมไปใช้งานในชุมชนหรือพื้นที่เป้าหมาย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน ท้องถิ่นในการพัฒนาศักยภาพ การพึ่งตนเองและ การจัดการตนเองบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรรม (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า “นอกจากการส่งเสริมและสนับสนุนในเกิดการพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศแล้ว NIA ยังให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งด้านรายได้ สุขภาพ การศึกษา และการเข้าถึงบริการและสวัสดิการของรัฐ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม จึงได้จัดตั้ง “หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมเชิงพื้นที่” ขึ้น ตั้งแต่ปี 2562 โดยดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งกระจายตัวตามกลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ

เพื่อบูรณาการงานด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ อบรมบ่มเพาะเพิ่มความสามารถด้านนวัตกรรมให้กับชุมชนและผู้ประกอบการทางสังคม จนสามารถพัฒนา “ผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม” ที่ตอบโจทย์ปัญหาและตรงตามความต้องการของสังคมหรือชุมชน และนำไปสู่โมเดลการแก้ปัญหาสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ทั้งนี้ สามารถสร้างนวัตกรทางสังคมจากกิจกรรมสร้างระบบนิเวศ จำนวน 1,389 คน และพัฒนาผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงในพื้นที่ จำนวน 220 ผลงาน ครอบคลุม 44 จังหวัด และมีผู้ได้รับประโยชน์จากผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม 117,410 คน ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมเชิงพื้นที่ หรือ Social Return on Investment, SROI เท่ากับ 3.25 เท่า”

“ตัวอย่างผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา เช่น “หนังสือเงียบจากผ้าทอ: Bloom Quiet Book” จากชมรมบูรณาการคนพิการอย่างยั่งยืน จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำภาคเหนือตอนล่าง โดยเป็นหนังสือที่ทำจากผ้า ด้านในประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการเล่น มีการออกแบบที่เน้นการเสริมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ผ่านเทคโนโลยี AR ที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้ที่สมจริงมากขึ้น ทำให้ชมรมซื้อผ้าทอมือจากกลุ่มทอผ้าบ้านน้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น 12% เกิดการจ้างงานผู้พิการ ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้ว่างงานจากวิกฤตโควิดมากกว่า 160 คน และมีรายได้เพิ่มมากกว่า 5,000 บาท/เดือน

“รถพุ่มพวงผักปลอดสารพิษ” จากหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น การสั่งจองล่วงหน้าทางออนไลน์ ระบบสมาชิก ตารางการเดินรถ ระบบการจัดการสินค้า และการรวบรวมสินค้าเกษตรในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีมาจำหน่าย ซึ่งมีเกษตรกรและร้านค้าได้รับประโยชน์จำนวน 30 ราย ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ “ชุดวาดเขียนสำหรับเด็กตาบอด: เล่นเส้น” จากหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำภาคกลาง ที่ใช้เส้นไหมพรมในการสร้างเส้นนูนที่เด็กสามารถสัมผัสได้ทันทีที่วาด ซึ่งได้ดำเนินการในโรงเรียนสอนคนตาบอด

สำหรับในปี 2565 นี้ NIA ยังเดินหน้าทำงานร่วมกับหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมเชิงพื้นที่ จำนวน 10 หน่วย ซึ่งประกอบด้วย หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำกลุ่มจังหวัด 8 หน่วย (มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา และมหาวิทยาลัยนเรศวร) และหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมที่มุ่งเน้นการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ 2 หน่วย (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์) เพื่อร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ วิเคราะห์มิติปัญหาสังคมในพื้นที่โดยอาศัยประโยชน์จากภาพอนาคตของพื้นที่ สร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่เอื้อต่อการเติบโตของนวัตกรรม และสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกแก่สังคมได้อย่างยั่งยืนต่อไป” ดร.พันธุ์อาจ กล่าวทิ้งท้าย

supersab

Recent Posts

vivo V50 เปิดตัวแล้ว มาพร้อมกล้อง ZEISS 50MP ในราคาเริ่มต้น 15,999 บาท

เปิดตัว vivo V50 สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดในตระกูล V Series ที่มาพร้อมคอนเซปต์ "ถ่ายที่รักอย่างโปร" ชูจุดเด่นกล้อง ZEISS ความละเอียด 50 ล้านพิกเซลรอบด้าน อัดแน่นด้วยฟีเจอร์ AI…

15 minutes ago

LINE MAN เผยเทรนด์ “ชาไทย Specialty” แรงจัด! ยอดสั่งพุ่ง 81% ร้านใหม่ผุด 205%

กระแสชาไทย Specialty ฟีเวอร์! ข้อมูลจาก LINE MAN เผยให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด "ชาไทย Specialty" ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่มียอดสั่งซื้อทะยาน 81% ร้านใหม่ตบเท้าเปิดตัวเพิ่มขึ้นถึง…

4 hours ago

China Unicom to Blanket 300+ Cities with 5G-Advanced by 2025, While Thailand Leads APAC’s 5G Revolution

China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…

5 hours ago

AIS ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนวิทยุ สร้างมหานครสวยงาม ปลอดภัย

AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…

5 hours ago

“Trumpism 2.0” กระแทกโลก! สกสว. ชี้ไทยต้องเร่งเครื่อง BCG Economy ดันนวัตกรรมรับมือ ตั้งเป้าปั้นไทยเป็นฮับเทคโนโลยีอาเซียน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน

ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…

5 hours ago

องค์กร 61% กังวลความปลอดภัยคลาวด์ ฟอร์ติเน็ตแนะใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์-เสริมทักษะรับมือภัยคุกคามยุคใหม่

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…

6 hours ago