การเติบโตของ ‘Digital Life & Commerce’ ต้องการนวัตกรรมมากขึ้นในปี 2022

การระบาดใหญ่ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะใช้เพื่อทำงานหรือเพื่อความบันเทิงหรือในเรื่องอื่น ๆ ล้วนเปลี่ยนมาอยู่บนออนไลน์ ซึ่งได้สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะผู้อยู่ในวงการเทคโนโลยี ข้อมูลจาก Gartner ระบุภายในปี 2567 ราว 65% ของการพัฒนาแอปพลิเคชันจะถูกพัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยี Low-Code และเริ่มเห็นได้ชัดเจนว่าการพัฒนาบริการต่าง ๆ วันนี้นั้นกำลังปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบของ Low-Code

Metaverse และ NFT ขุมทรัพย์แหล่งใหม่จากโลกเสมือนสู่โลกจริง
Crescendo Lab โซลูชันจัดการข้อมูลการตลาดอัตโนมัติ เปิดให้บริการในไทย

เราเห็นความท้าทายมากมายที่บริษัทต่าง ๆ ต้องเผชิญในปีที่ผ่านมา รวมถึงวิธีการปรับตัวของธุรกิจเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นรวดเร็วอย่างที่ไม่ปรากฎมาก่อน โดยธุรกิจจะยังให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ขับเคลื่อนกลยุทธ์ขององค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรม Digital Commerce ตามรายงานจาก Google คาดการณ์ไว้ว่า ภายในปี 2573 การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทยจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี และยังเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ให้แก่ประเทศ

เอาท์ซิสเต็มส์ แพลตฟอร์มโมเดิร์นแอปพลิเคชัน เผยแนวโน้มเทคโนโลยีในปี 2565 ที่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและ Digital Commerce โดยมีทีมไอทีเป็นผู้ขับเคลื่อนสำคัญ ดังนี้

  • องค์กรธุรกิจจะปรับใช้แพลตฟอร์มการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนา : ทุกวันนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีสามารถดึงดูดนักพัฒนาที่มีความรู้ความสามารถซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อยให้เข้าไปทำงานได้มากกว่าบริษัทอื่น ๆ ดังนั้นองค์กรธุรกิจทั่วไปจึงจำเป็นต้องมองหาหนทางใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันโดยอาศัยบุคลากรที่มีอยู่ และหลาย ๆ องค์กรก็เริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับใช้เทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำงานให้กับทีมงานฝ่ายพัฒนา เพื่อให้สามารถทุ่มเทเวลาและความพยายามไปกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างเต็มศักยภาพ แทนที่จะต้องวุ่นวายกับแง่มุมที่ซ้ำซากจำเจของการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยเทคโนโลยีที่ว่านี้จะรองรับงานทั่วไปที่สำคัญสำหรับการพัฒนา และมีการอัพเดตอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีคลาวด์รุ่นล่าสุด ทั้งยังสามารถปรับขนาดโดยอัตโนมัติ และใช้ประโยชน์จากคอนเทนเนอร์และ Kubernetes เพื่อให้ทีมงานฝ่ายพัฒนาสามารถนำเสนอสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชันระดับโลก พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วเพื่อตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป โดยมีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ ทั้งยังสามารถหลีกเลี่ยงการทำงานหนักโดยไม่จำเป็น รวมไปถึงงานบำรุงรักษาที่เปล่าประโยชน์ และงานจุกจิกอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดหนี้ทางเทคนิค (Technical Debt)
  • นักพัฒนาจะมีความต้องการระบบรักษาความปลอดภัยที่เรียบง่ายและไว้ใจได้มากขึ้น : แม้ว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัย แต่กลับอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นในการสร้างโปรแกรมที่ปราศจากช่องโหว่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อองค์กรต่าง ๆ ถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) อย่างกว้างขวางในช่วงปี 2564  แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นนี้ส่งผลให้กระบวนการพัฒนาช้าลงอย่างมาก ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการเขียนโปรแกรมที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ ขณะที่บริษัทต่าง ๆ ต้องการให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเองมีระดับความปลอดภัยและความสอดคล้องตามกฎระเบียบเทียบเท่ากับ SaaS  ด้วยเหตุนี้ นักพัฒนาจึงต้องการเครื่องมือด้านการพัฒนาที่ไว้ใจได้เพื่อรับมือกับช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้น รวมไปถึงแพลตฟอร์มการพัฒนาที่รวมความปลอดภัยไว้ภายในสแต็กของเทคโนโลยีแอปพลิเคชัน และปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่นตามสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป
  • มุ่งเน้นความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการอยู่ร่วมกัน (Diversity, Equity and Inclusion – DEI) มากขึ้นสำหรับนักพัฒนา : องค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงเทคโนโลยี มีการพูดถึงประเด็นเรื่องความหลากหลายตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา และมีการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จในระดับที่แตกต่างกันไป  และในช่วงปี 2565 ผู้บริหารฝ่ายไอทีมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายในเรื่องความหลากหลาย ความเสมอภาค และการอยู่ร่วมกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคลากรที่เป็นนักพัฒนา  ทั้งนี้เนื่องจากนักพัฒนามีหน้าที่แก้ไขปัญหาบางอย่างที่ซับซ้อนที่สุดในโลก ดังนั้นบริษัทจึงต้องตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการสรรหาบุคลากรเพื่อให้มีการรับสมัครและว่าจ้างบุคลากรที่มีความหลากหลายมากขึ้นสำหรับฝ่ายไอที  เอาต์ซิสเต็มส์มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเติบโตของนักพัฒนาจากชุมชนที่หลากหลายสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยได้ร่วมมือกับหลาย ๆ องค์กร เช่น Women Who Code, Blacks in Technology Foundation และ Australian Computer Society
  • ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับ DevSecOps ในการกระตุ้นการปรับใช้แพลตฟอร์มพัฒนาแอปพลิเคชัน : ข้อกังวลใจหลักสำหรับผู้บริหารที่กำกับดูแลทีมงานฝ่ายไอทีและฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์จะยังคงเป็นเรื่องความสามารถของระบบรักษาความปลอดภัยขององค์กรในการรับมือกับความเสี่ยงทางธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก  การโจมตีของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่เพิ่มมากขึ้น การปราศจากขอบเขตที่ชัดเจนสำหรับข้อมูลขององค์กร และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการเขียนโปรแกรมโดยผู้ใช้งานทั่วไป (Citizen Developer) ส่งผลให้ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ถูกคุกคามอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน  ผู้บริหารฝ่ายรักษาความปลอดภัยสารสนเทศ (CISO) และผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ (CIO) จึงหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ดิจิทัลรูปแบบใหม่บนแพลตฟอร์มที่สามารถจัดการทุกขั้นตอนของการพัฒนาและส่งมอบแอปพลิเคชันอย่างเป็นระบบ แทนที่จะพึ่งพาการทำงานที่ไม่เป็นระบบของทีมงานต่าง ๆ ซึ่งมีระดับความรู้และทักษะที่แตกต่างกันสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ปลอดภัย
  • การใช้ DesignOps และระบบตรวจสอบเพิ่มขึ้นสำหรับแอปพลิเคชันที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย : ปี 2565 นับเป็นครั้งแรกที่งบประมาณด้านไอทีและการพัฒนาแอปพลิเคชันจะสะท้อนการทำงานในรูปแบบไฮบริด เนื่องจากประสบการณ์ของพนักงานและคู่ค้ามีความสำคัญเทียบเท่ากับประสบการณ์ของลูกค้าสำหรับการใช้งานแอปพลิเคชันในเชิงลึก ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ  ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ช่วยให้สามารถทำการบูรณาการในระดับที่ลึกขึ้นระหว่างการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และการพัฒนาแอปพลิเคชันส่วนหน้า (Front End) จึงมีแนวทางใหม่ ๆ สำหรับ DesignOps ซึ่งจะช่วยผลักดันการใช้แอปพลิเคชันอย่างแพร่หลายมากขึ้น  นอกจากนี้ ยังมีระบบตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ใช้ รวมไปถึงการรองรับมาตรฐานเปิด เช่น Open Telemetry ซึ่งช่วยให้ทีมงานฝ่ายผลิตภัณฑ์ดิจิทัลสามารถยกระดับการใช้งานของผู้ใช้ได้ง่ายดายมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
  • การจัดการทีมงานฝ่ายพัฒนาที่แยกกระจัดกระจายโดยใช้โมเดิร์นแพลตฟอร์ม : ทีมงานฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น เช่น การลาออกของพนักงานจำนวนมาก ขณะที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ก็ต้องทำงานในลักษณะที่แยกกระจัดกระจายมากขึ้น และมีการหลบเลี่ยงมาตรการควบคุมในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เกิดความยากลำบากมากขึ้นในการแนะแนว ฝึกสอน กำกับดูแล หรือแม้กระทั่งตรวจสอบคุณภาพและผลการปฏิบัติงานของทีมงานและพนักงานแต่ละคน  ผู้บริหารฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ต้องรับมือกับปัญหาท้าทายในเรื่องของความปลอดภัย การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการกำกับดูแลบุคลากรที่ไม่เคยพบปะกันเป็นการส่วนตัว  หน่วยงาน ผู้จัดการ และแม้กระทั่งพนักงานในฝ่าย CI/CD จึงต้องการที่จะทำงานบนแพลตฟอร์มที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบทุกแง่มุมและทุกขั้นตอนของการพัฒนาอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่งานที่ทำเสร็จไปจนถึงเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยที่ถูกนำมาใช้  เนื่องจากฟีเจอร์จำนวนมากเหล่านี้พร้อมใช้งานอยู่แล้วในแพลตฟอร์มการพัฒนาโมเดิร์นแอปพลิเคชัน ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าจะมีการปรับใช้แพลตฟอร์มดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับการพัฒนาแบบเดิม ๆ โดยใช้ชุดเครื่องมือการพัฒนาที่แยกเป็นส่วนเล็กส่วนน้อย ซึ่งมักจะประกอบด้วยเครื่องมือโอเพ่นซอร์สที่ไม่เชื่อมต่อกัน และขาดแนวทางการจัดการองค์รวมอย่างรอบด้าน
  • การใช้สถาปัตยกรรมคลาวด์เนทีฟในระดับที่ลึกขึ้นสำหรับระบบงานที่องค์กรพัฒนาเอง : การตัดสินใจเลือกระหว่าง “สร้างหรือซื้อ” กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่องค์กร “ปล่อยให้ผู้ใช้ซื้อบริการซอฟต์แวร์ SaaS ที่ตนเองต้องการ” ทั้งนี้เพราะการใช้ SaaS เพิ่มมากขึ้นนอกจากจะสิ้นเปลืองงบประมาณทางด้านธุรกิจแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดหนี้ทางเทคนิคในอีกรูปแบบหนึ่งด้วยเช่นกัน โดยเป็นผลมาจากความยุ่งยากซับซ้อนในการบูรณาการระบบต่าง ๆ หลายร้อยระบบเข้าด้วยกัน  ในการฟื้นฟูความคล่องตัวให้กับธุรกิจด้วยระบบที่เหมาะกับงานที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจะรองรับการใช้งานของพนักงาน คู่ค้า และลูกค้า จำเป็นที่จะต้องปรับใช้แพลตฟอร์มการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบคลาวด์เนทีฟที่ปรับขนาดได้อย่างเหมาะสม รองรับการใช้งานในลักษณะกระจัดกระจาย และช่วยให้สามารถสร้างแอปพลิเคชันประดับองค์กรที่มีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน

บริการคลาวด์คอมพิวติ้งจากผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จากที่เมื่อก่อนนี้ประมาณ 5 ปีที่แล้ว มีการนำเสนอบริการเพียงแค่ 20 บริการเท่านั้น แต่ปัจจุบันผู้ให้บริการ IaaS หนึ่งรายนำเสนอบริการเว็บและบริการที่แปลกใหม่เกือบ 250 บริการเลยทีเดียว ซึ่งสร้างความหนักใจให้กับนักพัฒนาในองค์กรธุรกิจทั่วไปที่จะต้องสร้างแอปพลิเคชันแบบคลาวด์เนทีฟ  ด้วยเหตุนี้ เพื่อเอาชนะปัญหาท้าทายดังกล่าว จึงต้องมีการปรับใช้แพลตฟอร์มการพัฒนาแบบคลาวด์เนทีฟ และ IDE ที่ใช้เบราว์เซอร์ ซึ่งจะช่วยให้ทีมงานฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์สามารถโฟกัสไปที่การจัดการผลิตภัณฑ์ดิจิทัลเพื่อเพิ่มมูลค่า แทนที่จะต้องวุ่นวายอยู่กับการจัดการโครงสร้างพื้นฐานเพียงอย่างเดียว

supersab

Recent Posts

vivo V50 เปิดตัวแล้ว มาพร้อมกล้อง ZEISS 50MP ในราคาเริ่มต้น 15,999 บาท

เปิดตัว vivo V50 สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดในตระกูล V Series ที่มาพร้อมคอนเซปต์ "ถ่ายที่รักอย่างโปร" ชูจุดเด่นกล้อง ZEISS ความละเอียด 50 ล้านพิกเซลรอบด้าน อัดแน่นด้วยฟีเจอร์ AI…

4 hours ago

LINE MAN เผยเทรนด์ “ชาไทย Specialty” แรงจัด! ยอดสั่งพุ่ง 81% ร้านใหม่ผุด 205%

กระแสชาไทย Specialty ฟีเวอร์! ข้อมูลจาก LINE MAN เผยให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด "ชาไทย Specialty" ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่มียอดสั่งซื้อทะยาน 81% ร้านใหม่ตบเท้าเปิดตัวเพิ่มขึ้นถึง…

7 hours ago

China Unicom to Blanket 300+ Cities with 5G-Advanced by 2025, While Thailand Leads APAC’s 5G Revolution

China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…

8 hours ago

AIS ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนวิทยุ สร้างมหานครสวยงาม ปลอดภัย

AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…

9 hours ago

“Trumpism 2.0” กระแทกโลก! สกสว. ชี้ไทยต้องเร่งเครื่อง BCG Economy ดันนวัตกรรมรับมือ ตั้งเป้าปั้นไทยเป็นฮับเทคโนโลยีอาเซียน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน

ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…

9 hours ago

องค์กร 61% กังวลความปลอดภัยคลาวด์ ฟอร์ติเน็ตแนะใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์-เสริมทักษะรับมือภัยคุกคามยุคใหม่

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…

9 hours ago