การ์ทเนอร์ อิงค์ เผยผู้บริหารด้านซัพพลายเชน (CSCOs) ต้องเพิ่มกลยุทธ์ในการลดอัตราการหยุดชะงักให้กับห่วงโซ่อุปทานโดยการลดความเสี่ยงในพื้นที่หน้างานการผลิต ผลวิจัยของการ์ทเนอร์ยังแสดงให้เห็นว่าองค์กรที่ปรับตัวรับมือกับการหยุดชะงักมีแนวโน้มเจอปัญหานี้น้อยกว่าหนึ่งในสามเมื่อเทียบกับองค์กรอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน
การ์ทเนอร์ได้กำหนดพื้นที่หน้างานของห่วงโซ่อุปทานอันประกอบไปด้วยจำนวนผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตต่าง ๆ และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกับห่วงโซ่อุปทาน ณ ปัจจุบัน โดยแสดงถึงจุดสัมผัสต่าง ๆ ที่อาจเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงได้กับห่วงโซ่อุปทาน
ซูซี่ เพทรูสิค ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยแนวปฏิบัติด้านห่วงโซ่อุปทานของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ผู้บริหารด้านซัพพลายเชนควรลดพื้นที่หน้างานของห่วงโซ่อุปทานโดยเน้นกระบวนการทำงานให้ง่ายขึ้นและลดการเคลื่อนย้ายต่าง ๆ ภายในห่วงโซ่อุปทานขององค์กร รวมถึงจำนวนไซต์ทำงานและซัพพลายเออร์ในเครือข่าย เนื่องจากโอกาสเกิดความเสี่ยงที่สูงขึ้น หน้างานการผลิตที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่จะได้รับผลกระทบมากกว่าหน้างานขนาดเล็กที่เป็นเสมือนสินทรัพย์ขององค์กร แม้ผู้บริหารซัพพลายเชนจะไม่สามารถควบคุมปริมาณเหตุการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น แต่พวกเขาสามารถคุมขนาดของเป้าหมายที่องค์กรต้องการได้”
ธุรกิจห่วงโซ่อุปทานจำนวนมากเกิดการหยุดชะงักได้ง่ายเป็นเพราะการกำหนดเป้าหมายขนาดใหญ่ โดยองค์กรต้องใช้เวลาหลายทศวรรษในการขยายธุรกิจและกระจายความเสี่ยงไปทั่วทั้งเครือข่ายทั่วโลก ขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพของต้นทุนให้มากขึ้น หลายกระบวนการกลายเป็นความซับซ้อนและต้องขนย้ายสินค้าและวัสดุมากมายในห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ระบบเกิดการหยุดชะงักได้ง่าย
หลายองค์กรในธุรกิจซัพพลายเชนเผชิญกับปัญหาการหยุดชะงักน้อยลงในปัจจุบัน เพราะมีการจัดการควบคุมพื้นที่หน้างานแหล่งผลิตของห่วงโซ่อุปทานโดยจำกัดจำนวนจุดสัมผัสที่เหตุการณ์ความเสี่ยงอาจเกิดขึ้นในองค์กร นั่นคือ จำกัดจำนวนผู้ให้บริการขนส่ง วิธีการจัดส่งและช่องทางจัดส่งให้น้อยลง ตลอดจนเว้นระยะห่างระหว่างผู้ผลิต โรงงาน คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าที่ดีมากยิ่งขึ้น โดยกระบวนการเหล่านี้กำลังได้รับการปรับใหม่และทำให้ใช้งานง่ายยิ่งขึ้น
“การควบคุมการหยุดชะงักสร้างความสมดุลด้านความเสี่ยงต่อสภาวะแวดล้อมทั้งหมดร่วมกับหลายเหตุการณ์ความเสี่ยงที่เกิดจากมหันตภัยร้ายเพียงหนึ่งเดียว เป้าหมายไม่ใช่การรวมทุกอย่างไว้ในที่เดียว แต่คือการค้นพบเป้าหมายในขนาดที่เหมาะสมแก่องค์กร ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง” เพทรูสิค กล่าวเพิ่มเติม
การฝังกลไกควบคุมการหยุดชะงักเพื่อสร้างการรับรู้
ในส่วนของกลไกควบคุมการหยุดชะงัก เพื่อลดปัญหาการหยุดชะงักคือส่วนหนึ่งของขั้นตอนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ต้องนำมาพิจารณาควบคู่ไปกับต้นทุน คุณภาพ และความรวดเร็วในการผลิต อย่างไรก็ตามสิ่งนี้ไม่ใช่การละทิ้งเป้าหมายและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเดิมในทศวรรษที่ผ่านมา แต่แทนที่ด้วยการที่ผู้บริหารด้านซัพพลายเชนจะสามารถกำหนดการเพิ่มประสิทธิภาพด้านต้นทุนใหม่ที่รวมถึงการคำนวณค่าใช้จ่ายในการหยุดชะงักอย่างต่อเนื่อง
เพทรูสิค ยังกล่าวอีกว่า “ความมุ่งมั่นในการสร้างหน้างานการผลิตที่เหมาะสมที่สุดไม่ได้แปลว่าคุณจะไม่สามารถขยายมันได้อีกต่อไป แต่หมายถึงผู้บริหารด้านซัพพลายเชนต้องเลือกการวางแผนที่ชาญฉลาดและกระจายความเสี่ยงทั้งหมด พวกเขาต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมในปัจจุบันว่ามีความยากในด้านการดำเนินการและยากยิ่งขึ้นในการสร้างความน่าเชื่อถือด้านการขนส่ง รวมถึงบริการที่สร้างกำไรให้แก่ลูกค้า โดยควรดำเนินการทันทีเพื่อไม่ให้เกิดการหยุดชะงักตามมาภายหลัง”
การสร้างกลไกการหยุดชะงักช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความได้เปรียบด้านการแข่งขัน
องค์กรที่ปรับตัวรับมือกับการหยุดชะงักจะได้รับประโยชน์ในหลากหลายด้าน ทั้งการลดค่าใช้จ่ายในห่วงโซ่อุปทานเนื่องจากประสบปัญหานี้น้อยลง และเมื่อเกิดการหยุดชะงักเครือข่ายการทำงานทั้งหมดจะเตรียมพร้อมรับมือและกู้คืนได้ในเวลาอันสั้น
“ประโยชน์ที่ใหญ่ที่สุด คือ ความได้เปรียบด้านการแข่งขันที่ได้สร้างขึ้น กลไกลการหยุดชะงักมีความพร้อมและรอให้บริการลูกค้าเพื่อเติมเต็มช่องว่างในจุดที่คู่แข่งกำลังเสียรังวัด เพราะพวกเขามัวแต่ยุ่งกับการตอบสนองต่อความเสี่ยงมากเกินไป” เพทรูสิค กล่าวสรุป
ในยุคที่ผู้บริโภคใส่ใจในแบรนด์ที่สะท้อนรสนิยมและความสนใจของตัวเองมากขึ้น "Lifestyle Brand" หรือ "แบรนด์ไลฟ์สไตล์" จึงกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยสร้างความผูกพันอันแข็งแกร่งกับลูกค้า โดยนำเสนอมากกว่าแค่สินค้าหรือบริการ แต่เป็นการนำเสนอ "วิถีชีวิต" ที่ลูกค้าใฝ่ฝัน จากรายงาน Business of Fashion (BoF)…
AIS จับมือ OPPO เปิดตัว OPPO Find X8 Series สมาร์ทโฟนแฟลกชิป รุ่นล่าสุด ในราคาเริ่มต้นเพียง 18,999 บาท พร้อมมอบข้อเสนอสุดพิเศษให้กับลูกค้า AIS…
ออเนอร์ กรุ๊ป เปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมสุดหรู "Once Wongamat" บนทำเลทองวงศ์อมาตย์ ชูจุดเด่นการออกแบบที่ผสานความหรูหรา และความยั่งยืนเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ กลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ ออเนอร์ กรุ๊ป (Honour Group)…
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มอบประกันอุบัติเหตุจากกรุงไทย แอกซ่า ฟรี 30 ต้อนรับเทศกาลปีใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม - 31 ธันวาคม 2567…
พฤกษา โฮลดิ้ง ไม่หยุดยั้งที่จะสร้างสรรค์สังคมแห่งโอกาสที่เท่าเทียม เดินหน้าสู่ปีที่ 6 ของโครงการ “บ้านใส่ใจเพื่อคนพิการ By PRUKSA” โดยผนึกกำลังร่วมกับ โรงพยาบาลวิมุต และ อินโนโฮม คอนสตรัคชัน ในเครือ…
บาร์บีคิวพลาซ่า จับมือ วิตอะเดย์ สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการน้ำดื่มผสมวิตามิน ส่ง "วิตอะเดย์ กะหล่ำปลี วอเตอร์" รสชาติสุดว้าว พร้อมดึงพี่ GON ร่วมสร้างสีสัน เอาใจสายเฮลท์ตี้ แถมโปรโมชั่นสุดคุ้มชุดประหยัดหมู 2…