ดีแทค สรุปภาพรวมการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในปี 2565 ตอกย้ำจุดยืนของบริษัทในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Business) ซึ่งมีการดำเนินงานครอบคลุมหลายมิติ ได้แก่ การสร้างเสริมทักษะดิจิทัล ความหลากหลายและการมีส่วนร่วม ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย การบริหารจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การบริหารห่วงโซ่อุปทาน การต่อต้านคอร์รัปชัน และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หลักการดังกล่าวสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของเทเลนอร์กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายสำคัญของดีแทค และมาตรฐานสากลอื่นๆ อาทิ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UN Universal Declaration of Human Rights) และอนุสัญญาหลักขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Core Conventions)
ดีแทคติดอันดับหุ้นยั่งยืนประจำปี 2565
ดีแทคได้รับการคัดเลือกเข้าสู่รายชื่อหุ้นยั่งยืน (Thailand Sustainability Investment: THSI) ประจำปี 2565 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะบริษัทจดทะเบียนที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social and Governance: ESG) ในปีนี้ บริษัทมีคะแนนเติบโตก้าวกระโดดในมิติสิ่งแวดล้อม
ขณะเดียวกัน คะแนนในด้านสังคมและธรรมาภิบาลของบริษัทยังเติบโตจากปีก่อนหน้า เนื่องจากการดำเนินงานภายใต้นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เคารพและปกป้องสิทธิของลูกค้า และแนวทางการรับมือกับคำขอของหน่วยงานภาครัฐที่ชัดเจนโปร่งใส
นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับการประกาศรับรองเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) โดยดีแทคนั้นได้รับเลือกเป็นสมาชิกนับตั้งแต่ปี 2559 สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลของดีแทคที่มุ่งเน้นความโปร่งใส การสนับสนุนให้พนักงานกล้ารายงานสถานการณ์ที่ไม่ถูกต้องตามจริยธรรม และการไม่อดทนต่อการคอร์รัปชันทุกรูปแบบ
เผยผลสอบทานสิทธิมนุษยชน
ในยุคดิจิทัล สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมโดยตรงนั้นหนีไม่พ้นสิทธิในข้อมูลข่าวสาร (Right to Information) และเสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of Expression) และผู้ให้บริการโทรคมนาคมนั้นสามารถทำหน้าที่เป็น ‘ตัวกลาง’ ในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในยุคดิจิทัล ดีแทคจึงมีการดำเนินงานใน 3 ระดับ ได้แก่ 1. การส่งเสริมการเข้าถึงอุปกรณ์และบริการการเชื่อมต่ออย่างทั่วถึงและเท่าเทียม 2. การส่งเสริมการใช้งานอย่างปลอดภัย และ 3. การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากบริการการเชื่อมต่อและทักษะดิจิทัล
สำหรับภายในองค์กร ดีแทคเดินหน้ายกระดับมาตรฐานธรรมาภิบาลและสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับ การส่งเสริมสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการแสดงออกของบุคลากร และได้จัดให้มีการสอบทานด้านสิทธิมนุษยชนทุกๆ 2 ปี เพื่อรับฟังเสียงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม นับตั้งแต่พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ไปจนถึงชุมชนที่บริษัทเข้าไปดำเนินธุรกิจ เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนให้ดียิ่งขึ้น
–AIS 5G eSports Open: Overwatch 2 เปิดสังเวียนเอาใจเกมเมอร์สายบู๊ ครั้งแรกในไทย
ในปี 2565 ดีแทคได้จัดให้มีการสอบทานประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งในกระบวนการสอบทานได้มีการทบทวนเอกสารรายงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลก และกรอบการประเมินของเทเลนอร์ ผู้ถือหุ้นรายสำคัญของดีแทค เพื่อนำมาใช้เป็นกรอบอ้างอิงกับบริบทของประเทศไทย โดยจากผลการสอบทานครั้งล่าสุดพบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลมากที่สุด ขณะที่ประเด็นอื่นๆ ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสำคัญรองลงมานั้น ได้แก่ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลและเสรีภาพในการแสดงออก และอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Health & Safety)
ในภาพรวม ผลการสอบทานชี้ว่าประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยนั้นค่อนข้างสอดคล้องกับทิศทางโทรคมนาคมโลก แต่มีประเด็นที่เป็นความท้าทายเฉพาะด้าน อาทิ ประเด็นคำขอของหน่วยงานภาครัฐ (authority request) ซึ่งดีแทคได้กำหนดหลักการปฏิบัติตามคำขอของหน่วยงานภาครัฐอย่างเข้มงวดและเคร่งครัด โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายไทย หลักสิทธิมนุษยชน และขอบเขตการให้ข้อมูลโดยอ้างอิงจากวัตถุประสงค์ อีกทั้งดีแทคได้เพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน ด้วยการเปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติตามคำขอของหน่วยงานภาครัฐสู่สาธารณชน
สร้างการเชื่อมต่อที่มีความหมายสำหรับทุกคน
ภายใต้กลยุทธ์การสร้างสังคมดิจิทัลที่เท่าเทียม (Digital Inclusion) ดีแทคมุ่งลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและสร้างการเชื่อมต่อที่มีความหมาย (meaningful connectivity) สำหรับทุกคน ผ่านการนำเสนอบริการการเชื่อมต่อและบริการดิจิทัลที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ในราคาที่เอื้อมถึงได้ และการส่งเสริมการเข้าถึงทักษะดิจิทัลสำหรับกลุ่มคนเปราะบาง
ปัจจุบัน dtac app เปิดให้บริการใน 4 ภาษา ภายใต้แนวคิด “ค่ายไหนก็ใช้ได้” ไม่จำกัดเฉพาะลูกค้าดีแทคเท่านั้น และยังมาพร้อมฟีเจอร์ dtac app lite ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้เสมือนใช้งานอยู่บน dtac app โดยไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชัน ตอบโจทย์ผู้ใช้งานโทรศัพท์ที่มีข้อจำกัดเรื่องหน่วยความจำ
กลยุทธ์ดังกล่าวส่งผลให้จำนวนผู้ใช้งานบน dtac app ที่เป็นลูกค้าเติมเงินนั้นเติบโตกว่า 3 เท่าจากปี 2563 โดยกว่า 124 เปอร์เซ็นต์นั้นมาจากผู้ใช้งานในต่างจังหวัด และปัจจุบันดีแทคมีผู้ใช้งานบนช่องทางดิจิทัลอยู่ที่ 7.6 ล้านราย และยังคงเติบโตต่อเนื่อง
ดีแทคมีการปรับปรุงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ผ่านการจัดทำและเปิดเผยบทวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความแปรปรวนของสภาพอากาศต่อธุรกิจ และแผนคาร์บอนฟุตปรินท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการวางแผนงานและติดตามผลการดำเนินงานลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัท โดยเป็นการรวบรวมและคำนวณข้อมูลจากการดำเนินธุรกิจโดยบริษัทและบริษัทในเครือ 8 แห่ง ที่บริษัทควบคุมการดำเนินงาน และข้อมูลนั้นได้รับการรับรองโดยหน่วยงานภายนอก (external assurance) ซึ่งการจัดทำ CFO นั้นจะเป็นประโยชน์ในการวางกลยุทธ์และการบริหารจัดการแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในห่วงโซ่อุปทานต่อไป
ดีแทคยังได้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในโครงข่ายสัญญาณอย่างต่อเนื่อง ผ่านการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังของข้อมูล เพื่อตอบสนองอัตราการใช้งานดาต้าและความหนาแน่นของโครงข่ายที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในยุค 5G ซึ่งบริษัทตั้งเป้าในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง ‘ครึ่งหนึ่ง’ ภายในปี 2573 และลดการฝังกลบขยะเป็นศูนย์ภายในปี 2565
ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเลือกให้อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืนกลุ่มเทคโนโลยี ผมเชื่อว่าบริการโทรคมนาคมนั้นเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมาย Net Zero และการเป็นสังคมดิจิทัลที่เท่าเทียม ที่ผ่านมา ดีแทคทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อผู้คนให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการพื้นฐานที่สำคัญ และเราสนับสนุนสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพการแสดงออกบนโลกออนไลน์ อย่างไรก็ดี เราเล็งเห็นถึงความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนในสภาพแวดล้อมที่เราเข้าไปดำเนินธุรกิจ เราจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการยกระดับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนและธรรมาภิบาลในทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจของเรา”
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…