ดีแทคร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยการระดมความเห็น Jam Ideation พบ 3 ประเด็นคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ นำไปสู่การหยุดการกลั่นแกล้งออนไลน์ “มาตรฐานความงาม ความเท่าเทียมทางเพศ และการคุกคามทางเพศ” เรียกร้องสังคมร่วมสร้างบรรทัดฐานใหม่ ผ่าน “สัญญาใจ” #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา
จากการที่ดีแทคได้เปิดแพลตฟอร์มระดมความเห็นในรูปแบบ Jam Ideation #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา เป็นเวลา 72 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 25-27 มิถุนายน 2564 พบว่ามี แพลตฟอร์มได้รับไอเดียเกี่ยวกับการหยุดไซเบอร์บูลลี่ทั้งหมด 782 ไอเดีย (unique ideas) สามารถเข้าถึง (reach) กลุ่มเป้าหมายกว่า 1.44 ล้านคน และมียอดการมีส่วนร่วม (Engagement) กับแคมเปญทั้งสิ้นราว 34,500 ครั้ง ประกอบด้วยการสนทนา ยอดไลค์และยอดแชร์ ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของการนำเทคโนโลยี crowdsourcing เข้ามาปรับใช้กับการแก้ไขปัญหาสังคมอย่างแท้จริง จากการระดมความคิดเห็น พบว่า 3 ประเด็นหลักที่เด็กรุ่นใหม่ให้ความสนใจมากที่สุด ได้แก่ มาตรฐานความงามที่นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์รูปร่างหน้าตา (Body shaming) มีสัดส่วนสูงถึง 56% ตามด้วยการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) 23% และความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality) 21%
–CMMU เปิดเทรนด์ใหม่ปี 65 การตลาดคนชอบอวด ชี้สังคมไทยชอบการอวดแบบถ่อมตน
–การตลาดดิจิทัล กับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปในปี 2022
ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลอง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ดำเนินงานวิจัย เปิดเผยว่า “จากความเห็นของคนออนไลน์รุ่นใหม่พบว่า สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉพาะในคนรุ่นใหม่ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัยในมิติทางสังคม ซึ่งข้อเรียกร้องดังกล่าว ล้วนต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารโรงเรียนและกระทรวงศึกษาธิการ ภาคเอกชน สื่อ และหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่โดยตรงในการกำหนดและกำกับนโยบาย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ในการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลในมิติทางสังคม ร่วมสร้างสรรค์วัฒนธรรมออนไลน์ชุดใหม่ให้สังคมก้าวไกล เทียบเท่านานาชาติ”
สำหรับประเด็นการวิพากษ์วิจารณ์รูปร่างหน้าตาผู้อื่น คนออนไลน์ยุคใหม่ต้องการสร้างทัศนคติให้ทุกคนในสังคมตระหนักและเคารพเรื่อง “ความแตกต่างหลากหลาย” (Diversity) ในร่างกายมนุษย์ ไม่วิพากษ์วิจารณ์รูปร่างและหน้าตาของผู้อื่น เนื่องจากเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ไม่ว่าผู้พูดจะมีอาวุโสกว่าหรือเป็นเพื่อนกัน ควรสร้างโอกาสให้ทุกคนเท่ากันโดยไม่ตัดสินจากรูปร่างหน้าตาที่เหนือกว่าผู้อื่น (Beauty privilege) นอกจากนี้ ควรสร้างการเห็นคุณค่าในตัวเอง (Self Esteem)ให้มีในตัวเด็กทุกคน และให้คุณค่ากับความแตกต่างมากกว่าการสร้างมาตรฐานความงาม และที่สำคัญ ควรมีการกำหนดมาตรการลงโทษทางกฎหมายและกำหนดให้มีหน่วยงานราชการทำหน้าที่ในการช่วยเยียวยาเหยื่อจากไซเบอร์บูลลี่ เมื่อกระบวนการทางกฎหมายจบลง
ในประเด็นการคุกคามทางเพศนั้น คนรุ่นใหม่มองว่าควรมียกระดับและส่งเสริมการสร้างทัศนคติต่อต้านการคุกคามทางเพศ สอนให้เด็กรู้จักสิทธิส่วนบุคคลและเคารพในร่างกายของผู้อื่น ขณะเดียวกัน พ่อแม่ ครูและผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่แสดงพฤติกรรมที่ส่อไปในเชิงคุกคามทางเพศ นอกจากนี้ คนรุ่นใหม่ยังมองว่าไม่ควรส่งเสริมหรือสนับสนุนทัศนคติชายเป็นใหญ่ (Patriarchy) และสร้างทัศนคติต่อต้านไซเบอร์บูลลี่และการใช้ความรุนแรงผ่านสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงในสื่อออนไลน์ ที่สำคัญ ควรมีการกำหนดมาตรการลงโทษผู้ก่อเหตุคุกคามทางเพศในโรงเรียนและแนวทางในการเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิ โดยคำนึงถึงผู้ถูกละเมิดเป็นหลัก รวมถึงควรปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุมคามและการล่วงละเมิดทางเพศให้มีความทันสมัย
และในประเด็นความเท่าเทียมทางเพศ เด็กรุ่นใหม่มองว่า ควรมีสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับตวามหลากหลายทางเพศ ลบล้างทัศนคติชายเป็นใหญ่และสร้างค่านิยมความเท่าเทียมทางเพศ ให้โอกาสทุกเพศและทุกคนอย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ ควรมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมและความเสมอภาคทางเพศ รวมถึงปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องให้ทันสมัยและไม่สร้างภาระให้กับเหยื่อหรือผู้ถูกกระทำ
สัญญาใจวัย Gen Z
อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ผลการศึกษาสามารถบ่งชี้ได้ว่าสังคมไทยมี “การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลเชิงสังคม” ขนานใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีค่านิยมทางสังคมที่เปลี่ยนไปจากอดีตอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ มาตรฐานความงาม ความเท่าเทียมทางเพศ และการคุกคามทางเพศทางออนไลน์ (Sexual harassment) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถบ่งชี้ถึงความต้องการของคนออนไลน์เจนใหม่ที่มีเจตคติในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมออนไลน์ชุดใหม่ขึ้นหรือที่เรียกได้ว่า “สัญญาใจวัย Gen Z” ซึ่งเด็กรุ่นใหม่พร้อมเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมผ่านค่านิยมชุดใหม่ ทั้งนี้ การเปลี่ยนทางดิจิทัลที่ผ่านมาล้วนมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ จนละเลยปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนผ่านในมิติทางสังคม ซึ่งปัญหาการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ถือเป็นอีกหนึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมาเช่นเดียวกับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล
“ดีแทคในฐานะแบรนด์บุกเบิก (pioneering brand) ที่เปิดประเด็นด้านไซเบอร์บูลลี่มากว่า 5 ปี ตั้งแต่การสร้างการรับรู้ต่อปัญหา งานพัฒนาศักยภาพบุคลากร งานผลักดันนโยบายสาธารณะ งานสื่อสารสาธาณะและวิจัย ตลอดจนการหาทางออกและพัฒนาโซลูชั่นเพื่อแก้ไขปัญหา ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Business)” อรอุมา กล่าว
สำหรับผู้ที่สนใจ “ฟัง” เสียงของคนรุ่นใหม่ฉบับเต็ม สามารถอ่านความคิดพวกเขาได้ที่ https://www.safeinternetlab.com/brave/agreement เข้าใจง่าย นำไปปฏิบัติได้ทันที ไม่ต้องตีความ ร่วมส่งเสียงต่อได้ เพื่อสร้างสังคมออนไลน์แบบที่รุ่นเราอยากเห็น
เคยไหม? เลื่อนฟีดโซเชียลมีเดียแล้วเจอคลิปโป๊ ๆ ของคนดัง หรือแม้แต่คนรู้จัก แต่เอะใจว่า...มันดูแปลก ๆ เหมือนไม่ใช่ตัวจริง นั่นอาจเป็นเพราะคุณกำลังเผชิญหน้ากับ "Deepfake Porn" ภัยร้ายยุค AI ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ Deepfake…
คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศปรับ Meta Platforms เป็นเงิน 798 ล้านยูโร (ประมาณ 840 ล้านดอลลาร์) จากการละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดของสหภาพยุโรป โดย Meta ถูกกล่าวหาว่าใช้ Facebook Marketplace…
ข่าวดีสำหรับสาวก Apple! MacBook Pro ลำโพงเสีย ซ่อมง่าย จ่ายน้อยกว่าเดิม เมื่อ Apple ประกาศเปลี่ยนวิธีการซ่อมแซม ไม่ต้องเปลี่ยน Top Case ทั้งชุด ลดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ใช้…
LINE ประเทศไทย จัดงานสัมมนา "Food & Beverage Industry Insights" เจาะลึกเทรนด์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มยุคใหม่ เผย 4 กลยุทธ์สำคัญ พร้อมโซลูชันครบวงจร ช่วยผู้ประกอบการไทยเติบโตอย่างยั่งยืน ท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันที่ดุเดือด…
Thai SmartLynx สายการบินเช่าเหมาลำ เดินหน้ารุกตลาดไทยเต็มสูบ ประกาศเตรียมนำเข้าเครื่องบิน Airbus A320 ลำแรก ต้นปี 2568 รับอานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้นตัว ตั้งเป้าช่วยสายการบินไทยเพิ่มศักยภาพ รับนักท่องเที่ยวทะลุ 40 ล้านคน…
เสียวหมี่ (Xiaomi) เดินหน้ารุกตลาด AIoT ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งท้ายปีด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ 3 รุ่นรวด นำทัพโดยหุ่นยนต์ทำความสะอาดอัจฉริยะ Xiaomi Robot Vacuum X20 Max, กล้องวงจรปิดความละเอียดสูง…