ประเทศไทยได้รับการขนานนามว่าเป็นศูนย์กลางการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเครื่องจักรที่สำคัญแห่งหนึ่งของเอเชีย จากแหล่งข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ระบุว่าชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าส่งออกประเภทต้นๆ ของประเทศ มีมูลค่ารวมถึง 31 พันล้านดอลลาร์ในปี พ.ศ. 2563 นอกจากนั้น ประเทศไทยยังเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อันดับที่ 13 ของโลกในปัจจุบันอีกด้วย
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลให้ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นทั่วโลก บริษัทต่างๆ ในประเทศไทยจึงได้ระดมทรัพยากรและเร่งการผลิตอะไหล่และชิ้นส่วน รวมถึงดูแลให้ห่วงโซ่อุปทานยืดหยุ่นเข้มแข็งด้วย
–NIA รุกสร้างความเท่าเทียมสู่กลุ่มชาติพันธุ์ ดันนวัตกรรมถึงพื้นที่ห่างไกล
–อโกด้า เปิดลิสต์ 8 จุดหมายปลายทางยอดนิยมทั่วเอเชียช่วงเทศกาลตรุษจีนปีเสือ 2565
หนึ่งในบริษัทเหล่านี้ก็คือ บริษัท โตชิบา เซมิคอนดัคเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (TST) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในเครือข่ายบริษัทของโตชิบาในฐานะผู้ผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดดิสครีตที่แข็งแกร่งอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดแยกชิ้นแทรกซึมอยู่ทุกที่ในชีวิตประจำวันของเราพบได้ในอุปกรณ์สมัยใหม่แทบทุกชนิด ตั้งแต่โทรศัพท์สมาร์ตโฟนไปจนถึงยานยนต์ และส่วนประกอบชนิดแยกชิ้นต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักมีหน้าที่เฉพาะเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ โตชิบาผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดดีสครีตหลักๆ 3 ประเภทด้วยกัน คือ อุปกรณ์สำหรับสัญญาณขนาดเล็ก(small signal devices) อุปกรณ์ออปโต(Opto devices) และ อุปกรณ์กำลัง (power devices) TST ก่อตั้งขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2533 ทำหน้าที่ดูแลกระบวนการส่วนหลัง (back-end) ที่เกี่ยวกับการประกอบและทดสอบอุปกรณ์สำหรับสัญญาณขนาดเล็กและอุปกรณ์OPTO
อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำในฐานะกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจดิจิทัล
บริษัท โตชิบา เซมิคอนดัคเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (TST) ตั้งอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือราว 140 กม. แม้อุปกรณ์สำหรับสัญญาณขนาดเล็กและอุปกรณ์ออปโต โดยเฉพาะโฟโตคัปเปลอร์ (photocouplers) ที่ TST ผลิตจะมีขนาดเล็ก แต่ก็นับเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในโลกที่เชื่อมต่อถึงกันมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคดิจิทัล
โตชิบาเป็นหนึ่งในผู้นำวงการอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดดีสครีตของโลก และบริษัท โตชิบา เซมิคอนดัคเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (TST) มีโรงงานผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดดีสครีตระดับโลก
โดยทั่วไปแล้ว โตชิบาใช้คำว่า อุปกรณ์สำหรับสัญญาณขนาดเล็ก กับทรานซิสเตอร์ (transistors) และไดโอด (diodes) ที่มีการกระจายกำลังไม่เกินหนึ่งวัตต์ อุปกรณ์เหล่านี้ทำหน้าที่ควบคุมกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าต่ำๆ ในอุปกรณ์หลากหลายชนิด เช่น โทรศัพท์สมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์ และเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ ทั้งยังจำเป็นต่อการเพิ่มหรือเปลี่ยนแรงดันและการแปลงพลังงานด้วย ทั้งนี้ TST ได้เพิ่มกำลังการผลิตอุปกรณ์สำหรับสัญญาณขนาดเล็กเนื่องจากความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมผู้ใช้ปลายทางเพิ่มสูงขึ้น
โฟโตคัปเปลอร์เป็นอุปกรณ์ออปโตชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยหลอดไดโอดเปล่งแสง (LED) และอุปกรณ์ตรวจจับแสง ทำงานโดยใช้แสงส่งสัญญาณระหว่างชิปสองแผ่นที่แยกออกจากกัน โฟโตคัปเปลอร์มักถูกนำไปใช้เป็นอุปกรณ์สวิตช์เพื่อส่งสัญญาณคลื่นระหว่างระบบแรงดันสูงและระบบแรงดันต่ำ รวมถึงใช้ในระบบป้อน (feedback control loop) ของวงจรรักษาระดับแรงดันแบบสับเปลี่ยน (switching regulators) เพื่อป้องกันไฟกระชากหรือสัญญาณรบกวน โฟโตคัปเปลอร์มีความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะกลไกความปลอดภัย โดยเฉพาะในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระดับอุตสาหกรรมที่ใช้ในโรงงานและยานยนต์ ซึ่งต้องเผชิญกับไฟกระชาก สัญญาณรบกวนชั่วขณะ และสัญญาณรบกวนระดับสูง
กระบวนการส่วนหลังที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอุปกรณ์ขนาดเล็กต้องอาศัยความแม่นยำและปริมาณชิ้นงานที่สูงมาก TST ดำเนินการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตและระบบควบคุมขั้นสูงตลอดทั้งกระบวนการ พร้อมทั้งมีระบบ ไอทีล้ำสมัยสนับสนุน ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ วิเคราะห์ข้อมูลและตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้รักษาระดับมาตรฐานคุณภาพให้สูงอยู่เสมอ รวมถึงยังมีระบบตรวจสอบข้อมูลที่ช่วยให้ตรวจจับและแก้ไขความผิดปกติได้ทันที
สิ่งที่ทำให้โตชิบาแตกต่าง
ถึงแม้จะประสบภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปีพ.ศ. 2554 แต่ TST ก็สามารถเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสด้วยการหันมาลงทุนสร้างสายการผลิตล้ำสมัย และย้ายโรงงานผลิตมายังสถานที่ในปัจจุบันซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเดิมในปีพ.ศ. 2556 ทั้งยังปรับปรุงผังการจัดวางสายการผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตให้ได้สูงสุด การลงทุนปรับปรุงกระบวนการผลิตครั้งนี้ หรือที่เรียกว่า กระบวนการประสิทธิภาพสูง (High Efficiency Process) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ลดวัตถุดิบเหลือทิ้ง และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ช่วยควบคุมกระบวนการผลิต นอกจากนั้น บริษัทยังได้ผ่านการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพ ทั้ง ISO 9001: 2015 และ IATF 16949: 2016 เพื่อรองรับลูกค้าและอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยอีกด้วย
แม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้นำมาซึ่งความท้าทายด้านการคมนาคม การจัดหาวัตถุดิบ และทำให้เกิดข้อจำกัดด้านจำนวนพนักงานในโรงงานผลิต แต่ TST ก็ได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ทำสัญญาช่วงเพื่อให้กระบวนการผลิตได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยเร่งการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิต รวมทั้งเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของสายการผลิตเพื่อให้ผลิตได้เต็มกำลัง นับเป็นการส่งเสริมนวัตกรรมและสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์หลังขั้นตอนการออกแบบและการผลิตนำร่องในญี่ปุ่น
ในยุคที่มีความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความคลุมเครือ (VUCA: Volatility, Uncertainty, Complexity and Ambiguity) จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสริมการผลิตให้มีความยืดหยุ่นฟื้นตัวเร็ว รวมถึงเพิ่มความร่วมมือกับบริษัทที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่า อันเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเมื่อเกิดวิกฤติเช่นภัยธรรมชาติและโรคระบาด ทั้งนี้ TST ได้แสดงความเข้มแข็งและพัฒนาขีดความสามารถไปอีกขั้น ทั้งยังมีส่วนสำคัญในการสร้างคุณค่าเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลด้วย
นอกเหนือจากอุปกรณ์สำหรับสัญญาณขนาดเล็กและอุปกรณ์ออปโตที่ TST ผลิตมากว่า 30 ปีแล้ว TST ยังได้รับการถ่ายโอนให้ดูแลอุปกรณ์กำลัง (Power Device) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญในการประหยัดพลังงาน เพื่อตอบสนองความต้องการอุปกรณ์ประเภทนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น บริษัท โตชิบา อิเล็กทรอนิกส์ ดีไวซ์ แอนด์ สโตเรจ คอร์ปอเรชั่น (TDSC) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของTST ในญี่ปุ่น ได้เร่งขยายการผลิตอุปกรณ์กำลังทั้งในกระบวนการส่วนหน้าและส่วนหลัง โดยได้ลงทุนในการผลิตแผ่นเวเฟอร์ขนาด 300 มม. ที่คากะ โตชิบา อิเล็กทรอนิกส์ คอร์ปอเรชั่น จังหวัดอิชิคาวะ ประเทศญี่ปุ่น และสายการผลิตที่ TST ทั้งนี้ TST มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการขยายสายการผลิตให้เป็นไปอย่างราบรื่นและลดเวลาการผลิตให้เหลือน้อยที่สุด แม้ในช่วงที่มีสถานการณ์โควิดระบาด วิศวกรที่เก่งกาจของบริษัทในประเทศไทยก็ยังสามารถติดตั้งสายการผลิตได้สำเร็จโดยไม่ต้องให้ทางญี่ปุ่นลงไปสนับสนุนในพื้นที่โรงงานเลย นอกจากนั้น ทางทีมยังทำงานกับ TDSC อย่างใกล้ชิดเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตอุปกรณ์กำลัง จากทางไกลในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ด้วย
เนื่องจาก TST เป็นโรงงานผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่ดูแลกระบวนการส่วนหลังที่ใหญ่ที่สุดของโตชิบา ทางโตชิบาจึงคาดหวังให้ TST ทำหน้าที่เป็นฐานการผลิตหลักในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก รวมถึงลงทุนเพื่อนำผลิตภัณฑ์อื่นมาผลิตที่นี่ เช่น อุปกรณ์กำลัง ซึ่งมีการใช้งานในหลากหลายวงการ ทั้งในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคทั่วไป ยานยนต์ และอุปกรณ์อุตสาหกรรม
คำมั่นสัญญาต่อประชาชน คำมั่นสัญญาต่ออนาคต
บริษัทเชื่อมั่นว่าบุคลากรเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุด พนักงานท้องถิ่นจำนวน 1,000 คนได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและเข้าแข่งขันด้านเทคนิคกับพนักงานจากทั่วทั้งกลุ่มในแต่ละปีเพื่อเพิ่มศักยภาพของระดับท้องถิ่นในการสนับสนุนกระบวนการผลิตส่วนหลังขนาดใหญ่ นอกจากนั้น TST ยังส่งเสริมโครงสร้างองค์กรแบบกระจายอำนาจที่เคารพการตัดสินใจในการทำงานจริงและมุ่งส่งเสริมให้พนักงานตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง รวมถึงมอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิตนักศึกษาที่เลือกเรียนในประเทศไทยและญี่ปุ่นเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์อุตสาหการ TST มุ่งมั่นคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตและโรงงาน ทั้งยังได้เข้าร่วมในโครงการประหยัดพลังงานด้วยการตรวจสอบและควบคุมการใช้พลังงานรายวัน ทั้งนี้ นอกจากจะเน้นออกแบบโรงงานตามหลักการโรงงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว TST ยังได้ติดตั้งหลอดไฟแอลอีดีประหยัดทั้งโรงงานและออกแบบอาคารให้มีแสงธรรมชาติเข้าถึงในพื้นที่การผลิตด้วย
ประธานบริษัท TST นายมาซาฮิโระ โอกุชิ กล่าวว่า “โตชิบา เซมิคอนดัคเตอร์ (ประเทศไทย) พร้อมรองรับความต้องการอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดดีสครีตของทั้งโลก เราได้รับการสนับสนุนที่เข้มแข็งจากรัฐบาล มีโครงสร้างพื้นฐานทันสมัย ขีดความสามารถในการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และเครือข่ายเชื่อมโยงระดับโลก ทั้งยังมีพนักงานทักษะสูงที่พร้อมสนับสนุนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่คึกคักของไทย ทั้งนี้ TST ยังคงมุ่งมั่นทำหน้าที่เป็นฐานการผลิตเชิงยุทธศาสตร์ของบริษัทในเครือข่ายของโตชิบาเพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัลทั้งในปัจจุบันและอนาคต”
ยุคสมัยที่โรงแรมเป็นเพียง "ที่นอน" ได้ลาจากไปแล้ว! นักท่องเที่ยวไทยยุคใหม่กำลังมองหาประสบการณ์ที่มากกว่าการพักผ่อน พวกเขาต้องการสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น และใส่ใจความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เทรนด์ "Conscious Travel" หรือการเดินทางอย่างมีสติกำลังมาแรง สะท้อนผ่านพฤติกรรมการพักผ่อนที่ยาวนานขึ้นในโรงแรม พร้อมแสวงหาประสบการณ์สุดพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล เจาะลึกเทรนด์นักท่องเที่ยว จากรายงาน Changing…
ไชน่า ยูนิคอม ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญในการพัฒนาเครือข่าย 5G ไปอีกขั้น ด้วยการเปิดตัวแผนปฏิบัติการ 5G-Advanced อย่างเป็นทางการ ในงานแถลงข่าว "Powering the Asian Winter Games with…
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โครงการ Super AI Engineer Season 5 ได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว โดยเป็นการรวมพลังครั้งสำคัญจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้าน AI ของไทยให้มีทักษะและความสามารถที่ทัดเทียมนานาชาติ…
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…