สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นั้นนอกจากจะช่วยเร่งให้อุตสาหกรรมต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็วแล้ว ยังจุดกระแสความสนใจต่อการเปิดตัวบริการ 5G ทั่วภูมิภาคอาเซียนให้ทวีความสำคัญยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม
สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยถือว่าอยู่ในจุดที่นำหน้าประเทศอื่น โดยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่เปิดบริการ 5G เชิงพาณิชย์ในปี 2563 ตลาด 5G ในไทยมีศักยภาพพร้อมที่จะเติบโต โดยข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) คาดการณ์ว่า ภายในปี 2565 ตลาด 5G จะมีมูลค่าสูงถึง 15.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ 5G อยู่หลายประการ ที่อาจทำให้ผู้คนเข้าใจศักยภาพที่แท้จริงของเทคโนโลยีนี้คลาดเคลื่อนได้ ลองมาดูกันว่าความเชื่อผิดๆ นั้นมีอะไรบ้าง และความจริงแล้วคืออะไร
ความเป็นจริง: 5G มีพลังในการปฏิวัติเกือบทุกอุตสาหกรรม และมีศักยภาพมหาศาลในการกำหนดวิถีชีวิตของเราใหม่ทั้งหมด มันถูกสร้างขึ้นเพื่อขับเคลื่อนยุคแห่งพลังเทคโนโลยีอัจฉริยะแบบกระจายตัว (distributed intelligence) ที่ช่วยให้เทคโนโลยีอันทรงพลังอื่นๆ มาประสานพลังรวมกันได้ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน (pervasive connectivity) โครงสร้างพื้นฐาน Cloud-to-Edge และการบูรณาการคอมพิวเตอร์เข้ากับโลกความจริงอย่างไร้ขอบเขต (ubiquitous computers) เพื่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมอันยอดเยี่ยม เนื่องจากข้อมูลทั่วโลกมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ 5G สามารถช่วยรองรับข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างเพียงพอ ศักยภาพของ 5G เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับลูกค้าองค์กร โดย 5G จะเพิ่มขนาดการรองรับและความยืดหยุ่นของเครือข่ายมือถือ ในทางกลับกัน ความหน่วงต่ำ (low latency) ของ 5G จะเอื้อต่อการทำงานของแอปพลิเคชันใหม่ๆ โดยทำให้โรงงานและเมืองอัจฉริยะสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์อัจฉริยะต่างๆ ด้วยเช่นกัน
ความเป็นจริง: 5G แตกต่างจากเครือข่ายรุ่นก่อนอย่างมาก และจำเป็นต้องใช้การแปลงเครือข่ายแบบขยาย ด้วยจำนวนข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เครือข่ายปัจจุบันที่เราใช้งานกันอยู่ต้องเปลี่ยนไปสู่ 5G ที่มีศักยภาพที่ทรงพลังกว่า นอกจากมาตรฐานเทคโนโลยีไร้สายที่มีมาก่อนหน้าแล้ว 5G ยังถูกออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อกับผู้คนและธุรกิจได้อย่างที่ไม่เคยมีเทคโนโลยีใดทำได้มาก่อน หากเทียบกับ 4G ข้อจำกัดเชิงโครงสร้างทำให้ 4G ไม่สามารถพัฒนาไปสู่การมีความหน่วงต่ำ ที่สุดและส่งมอบปริมาณงานที่สูงที่สุดได้ ในขณะที่สถาปัตยกรรมคลาวด์ในเครือข่าย 5G จะทำให้การสื่อสารมีความคงที่ ราบรื่น และมีความหน่วงต่ำในรูปแบบที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับขนาดได้ตามความต้องการของการใช้งานในปัจจุบันและอนาคต
ความเป็นจริง: ในขณะที่เครือข่ายมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยี 5G จะยังคงเร่งความเร็วเพื่อบรรลุศักยภาพสูงสุดต่อไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ปัจจุบัน 5G ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นใช้งาน โดยมีผู้ให้บริการเปิดตัวความพร้อมใช้งานของ 5G อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงจะใช้เวลา แต่ผู้ใช้งานจะเริ่มเห็นคุณสมบัติใหม่ๆ ของ 5G เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาที่รวดเร็วขึ้น
ความเป็นจริง: อุตสาหกรรมได้มีการรับมือต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นด้วยการเพิ่มมาตรการควาบคุมในด้านกลไกการรักษาความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและการสื่อสารที่เพิ่มมากขึ้น เช่น ในการสร้างมาตรฐาน 5G NR (5G New Radio) อุตสาหกรรมได้ “เสริม” ฟังก์ชันความปลอดภัยแบบใหม่สำหรับ 5G โดยเริ่มต้นที่ระดับมาตรฐาน อันที่จริง อินเทลเป็นผู้นำอุตสาหกรรมในด้านการคำนวณลดต้นทุนการเข้ารหัสลับ (cryptographic algorithms) ผ่านนวัตกรรมใหม่ การกำหนดการใช้งาน การพัฒนาสถาปัตยกรรมขนาดเล็ก และเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพซอฟต์แวร์รูปแบบใหม่ๆ
ในขณะที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับนโยบายประเทศไทย 4.0 และมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลางโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของอาเซียน รวมถึงของเครือข่าย 5G จะช่วยเร่งให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ตออฟติงส์ (Internet of Things: IoT) และการเรียนรู้ของเครื่องจักรกล ในขณะเดียวกัน แบนด์วิดธ์ที่เพิ่มเข้ามา และค่าความหน่วงต่ำของ 5G ก็มีศักยภาพมากพอที่จะปฏิวัติวงการธุรกิจทั้งหลาย รวมถึงขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจและการสร้างงาน และกำหนดนิยามการใช้ชีวิตของผู้คนใหม่ทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่เราจะต้องเข้าใจให้ถูกต้องและได้รับข้อมูลที่เป็นจริงมากขึ้นเกี่ยวกับประโยชน์ของเทคโนโลยี 5G เพื่อให้เราสามารถดึงเอาศักยภาพของมันมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดย ซานโตช วิศวะนาธาน รองประธานฝ่ายกลุ่มการขาย การตลาด และการสื่อสาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัทอินเทล ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น
วิทยุไร้สาย ทรู คอร์ปอเรชั่น โดย นายกนกศักดิ์ นิ่มนวลรัตน์ หัวหน้าฝ่ายส่วนราชการและสาธารณูปโภค นำทีมวิศวกรพื้นที่ร่วมปฏิบัติการสนับสนุน การไฟฟ้านครหลวง (MEA) โดย นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการฯ พร้อมด้วย…
HMD ประเทศไทย ประกาศเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุด 2 รุ่น ได้แก่ HMD CREST 5G และ HMD AURA2 ที่มาพร้อมสเปคจัดเต็ม ในราคาที่ใครๆ ก็เป็นเจ้าของได้…
ท่ามกลางสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่ทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนชาวไทย LINE ประเทศไทย ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เข้าถึงผู้คนกว่า 56 ล้านรายทั่วประเทศ ได้ประกาศความร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษ ในการยกระดับบริการแจ้งเตือนค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ผ่าน LINE ALERT Official…
เสียวหมี่ประกาศวันเปิดตัวสมาร์ทโฟนแฟลกชิปรุ่นใหม่ ‘Xiaomi 15 Series’ โดยเปิดตัวพร้อมกันทั่วโลก (Global Launch) ในวันที่ 2 มีนาคม 2568 และจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย (Thailand Launch) ในวันที่ 3 มีนาคม 2568 แฟนๆ เสียวหมี่และผู้ที่สนใจห้ามพลาด สำหรับสเปค Xiaomi 15 Ultra ที่ถูกเปิดเผยผ่าน gsmarena…
เรียลมี (realme) เตรียมเปิดตัวเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพสุดล้ำที่งาน "Mobile World Congress 2025 (MWC 2025)" ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-6 มีนาคม นี้ ณ กรุงบาร์เซโลนา…
บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) ผู้ให้โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา "Centara" หรือ (CENTEL) เผยประกาศผลประกอบการปี 2567 ธุรกิจโรงแรมหรูโกอินเตอร์ ขยายฐานลูกค้าต่างชาติ อาหารไทยรสเลิศครองใจคนทั่วโลก ดันกำไรพุ่งทะยาน 40%…