ผลการสำรวจล่าสุดเผยให้เห็นความกังวลของผู้สูงอายุเรื่องการทำธุรกรรมออนไลน์และความไว้วางใจในซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ใช้ที่อายุน้อยกว่า
การชำระเงินทางดิจิทัล หรือ ดิจิทัลเพย์เมนต์ (digital payment) ได้กลายเป็นตัวเลือกหลักสำหรับผู้บริโภคจำนวนมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อพูดถึงการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ การวิจัยล่าสุดของแคสเปอร์กี้แสดงให้เห็นว่าการพิจารณาเกี่ยวกับความปลอดภัยในโลกไซเบอร์และการชำระเงิน เป็นปัจจัยสำคัญต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในภูมิภาคนี้อย่างมาก
ผลการศึกษาเรื่อง “Mapping a secure path for the future of digital payments in APAC” พบว่าผู้ใช้บริการดิจิทัลเพย์เมนต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 1 ใน 5 คน (21%) รู้สึกวิตกกังวลเมื่อทำธุรกรรมออนไลน์ เมื่อเปรียบเทียบตามอายุแล้ว กลุ่มที่อายุมากที่สุดคือ Silent Generation (30%) เป็นกลุ่มที่มีกังวลมีสูงที่สุด
–บ้านปู ดึงโซลูชัน ORACLE CLOUD ต่อยอดธุรกิจพลังงาน สร้างความเติบโตดันพลังสีเขียวสู่ตลาดสากล
–BIZTALK : SEABED GRAND HOTEL PHUKET กับกลยุทธ์การตลาดพาธุรกิจฝ่าวิกฤตโควิด-ต้นทุนพุ่ง
ผู้ใช้จำนวนเกือบหนึ่งในห้า (17%) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยอมรับว่ามักจะจ่ายด้วยเงินสดมากกว่า โดยที่คนวัยอาวุโสที่สุดมีเปอร์เซ็นต์สูงสุดคือ 20% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอายุทั้งหมด
การปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้อาจสร้างความท้าทายให้กับกลุ่ม Silent Generation โดย 20% มองเห็นความยากลำบากในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ แต่อย่างไรก็ดี ผู้ตอบแบบสอบถามจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนเกือบหนึ่งในสี่ (24%) ระบุว่า เชื่อมั่นในการชำระเงินทางดิจิทัลอย่างเต็มที่
แซนดร้า ลี กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “กลุ่มผู้สูงอายุไม่ใช่ผู้ที่เติบโตในยุคอินเทอร์เน็ต ความกังวลของคนวัยนี้จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ และควรถูกมองว่าเป็นมาตรการป้องกันไว้ก่อนจะเกิดข้อผิดพลาดในการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่งรู้จัก อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ (26%) ไว้วางใจแพลตฟอร์มดิจิทัลเพย์เมนต์เพราะยินดีรับการเปลี่ยนแปลง แคสเปอร์สกี้จึงขอสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ก้าวไปข้างหน้า และช่วยเหลือผู้สูงวัยที่เรารัก ความตระหนักและความพยายามให้ความรู้ต่างๆ โดยชุมชนและรัฐบาลก็มีความสำคัญเช่นกัน”
ด้วยเหตุที่กลุ่มผู้สูงอายุมักจะระมัดระวังทางออนไลน์ จึงไม่น่าแปลกใจที่คนรุ่นเก่าๆ จะชื่นชอบประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสมากที่สุด ผู้ใหญ่อายุ 55 ปีขึ้นไปจำนวนมากกว่าสามในห้า (61%) มีระดับความไว้วางใจสูงสุดต่อโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยเมื่อเทียบกับกลุ่มอายุที่น้อยกว่า
โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใช้จากทุกกลุ่มอายุในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนครึ่งหนึ่ง (50%) เข้าใจความต้องการซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสเพื่อปกป้องเงินและข้อมูลออนไลน์ โดยกลุ่ม Gen Z มีความเชื่อถือน้อยที่สุดที่ 46% กลุ่ม Millennials ท49% และ กลุ่ม Gen X 52%
ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนเกือบหนึ่งในสี่ (20%) รู้สึกว่าการใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสนั้นเพียงพอ รองลงมาคือ 17% ที่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าโปรแกรมป้องกันไวรัสสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการสูญเสียทางการเงินได้อย่างไร
ที่น่าตกใจคือยังมีผู้ตอบแบบสอบถามอีก 14% ที่ระบุว่าซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสไม่ใช่เครื่องมือสำคัญในการต่อสู้กับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พยายามละเมิดข้อมูลทางการเงินและทรัพย์สิน
“เมื่อเราได้ยินเกี่ยวกับการหลอกลวงและการฉ้อโกงทางการเงินต่างๆ ทุกคนน่าจะเข้าใจได้ดีที่สุดถึงความสำคัญของโซลูชั่นความปลอดภัยในเวลานี้ อาชญากรไซเบอร์เข้าใจนิสัยและสภาวะทางอารมณ์ของผู้ใช้เพราะเขาเองเป็นมนุษย์เช่นกัน เราได้เห็นแล้วว่าคนกลุ่มนี้มีความคิดสร้างสรรค์ในการกำหนดเป้าหมายการโจมตีทางวิศวกรรมสังคมมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเราจึงขอให้คนทุกรุ่นปกป้องอุปกรณ์ของตนด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อรักษาความปลอดภัยของทั้งข้อมูล และที่สำคัญที่สุดคือเงินที่หามาได้ยาก” แซนดร้า กล่าวเสริม