พลิกโฉมแผนกบัญชีและการเงินด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

ในโลกธุรกิจ การบริหารความเสี่ยงทางการเงินเป็นเรื่องที่องค์กรต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ ตั้งแต่การตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในระดับมหภาคที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านต่าง ๆ หลายประการ เช่น อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อ ไปจนถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่ถูกเพิ่มไปบนหน้ารายงานข้อมูลทางเศรษฐกิจ อาทิ เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และธรรมมาภิบาล (ESG) ซึ่งการกำหนดกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงแบบครอบคลุมมีความสำคัญเป็นอย่างมากและถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่สำหรับประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (CFO) แม้ว่าองค์กรจะอยู่ในภาวะปกติก็ตาม

ยิ่งไปกว่านั้นการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลกของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอน ลองจินตนาการถึงความยากลำบากที่ทีมบัญชีและการเงินต้องเผชิญเมื่อต้องจัดการ ดำเนินการ เพื่อบริหารและควบคุมทางการเงินที่สำคัญในแต่ละวัน การคาดการณ์ในระยะยาวกลายเป็นเรื่องที่ทำได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ และกลายเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่สำหรับ CFO ไม่ว่าพวกเขาจะปฏิบัติงานในองค์กรธุรกิจที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่ หรือในอุตสาหกรรมใดก็ตาม

ลอรีอัล เดินหน้ากลยุทธ์ Beauty Tech จับมือ เวริลี พัฒนาการดูแลสุขภาพผิวแบบแม่นยำ
Funding Societies ระดมทุน 294 ล้านดอลลาร์ เดินหน้าขยายธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับสถานะทางการเงินขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมทางธุรกิจ แต่ในปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คำถามคือเราจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เรียลไทม์ และนำไปปฏิบัติได้จริงเมื่อถึงเวลา

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หลายบริษัทได้นำเทคโนโลยีมาใช้กับส่วนงานบัญชีและการเงินมากขึ้น รวมถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ แต่นั่นยังไม่ใช่คำตอบของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินการอย่างแท้จริง เราจำเป็นต้องคิดหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้เทคโนโลยีนี้ตอบสนองวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องชัดเจน

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในช่วงสองปีที่ผ่านมาคือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่เราต้องแน่ใจว่าในภาคส่วนที่เราจะนำเทคโนโลยีเข้าไปใช้นั้นเหมาะสมและสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ตอบโจทย์ด้านการบริหารจัดการรวมถึงความต้องการของผู้บริหาร โดยให้ข้อมูลที่ถูกต้องในรูปแบบที่ผู้บริหารต้องการผ่านเครื่องมือที่ชาญฉลาด เพื่อให้พวกเขาสามารถเห็นข้อมูลทางการเงินและใช้เป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจต่อไป

การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันให้ถูกต้องสมบูรณ์นั้นถือเป็นเรื่องที่ท้าทายยิ่งกว่า ดังนั้นทาง เอบีม คอนซัลติ้ง จึงได้ระบุประเด็นสำคัญสามประการเพื่อใช้สำหรับการพิจารณาในปี 2565 และปีต่อๆ ไปไว้ดังนี้

1.เปลี่ยนจากแรงงานมนุษย์มาเป็นระบบดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการทำงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ เป็น Routine

มีงานหลายอย่างในสายงานบัญชีและการเงินที่ต้องใช้พนักงานในการทำงาน ซึ่งสามารถคาดการณ์ได้ และบางครั้งอาจต้องทำงานแบบเดิมซ้ำ ๆ การระบุว่างานใดมีขั้นตอนการทำงานที่ต้องทำซ้ำเป็นประจำ และสามารถช่วยจัดการและวิเคราะห์โดยปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ได้ จะช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลให้เห็นผลอย่างชัดเจน ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ทีมบัญชีและการเงินขององค์กรมีเวลาเพิ่มขึ้นเพื่อจัดการงานอื่น ๆ แทนได้

ตัวอย่างการใช้ระบบ Robotics Process Automation (RPA) ที่สามารถตั้งค่าสำหรับระบบบัญชีเจ้าหนี้อัจฉริยะ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ และกระบวนการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่าย และ AI ยังสามารถนำมาใช้ในงานบัญชีต่าง ๆ ได้อีกหลากหลาย โดยท้ายที่สุดแล้วพนักงานบัญชียังสามารถตรวจสอบความถูกต้องและอนุมัติงานในขั้นตอนสุดท้ายได้อีกด้วย

การนำเทคโนโลยีและกระบวนการด้านบัญชีมาใช้แบบผสมผสานกันนั้นมีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน และผู้นำธุรกิจจำเป็นต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงนี้ และทำความเข้าใจว่าเทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของบัญชีภายในองค์กรอย่างรวดเร็ว

2.ผสานรวมโซลูชันด้านดิจิทัล เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลทางการเงินได้มากขึ้น

ไม่ใช่ว่าทีมผู้บริหารทุกทีมจะมีพื้นฐานด้านการเงิน แต่พวกเขาจำเป็นต้องเข้าใจถึงผลประกอบการทางการเงิน เพื่อให้สามารถวางแผนและตัดสินใจได้ดีขึ้น ซึ่งทีมบัญชีและการเงินสามารถเข้าถึงเครื่องมือดิจิทัลที่จำเป็น สำหรับการแชร์ข้อมูลทางการเงินแบบเรียลไทม์ไปยังแผนกอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ถึงเวลาแล้วที่จะเลิกใช้ตาราง กราฟ และสเปรดชีตแบบเดิมๆ เพราะการแสดงข้อมูลแบบภาพเป็นวิธีการนำเสนอข้อมูลที่ดีกว่า ซึ่งจะช่วยให้ผู้นำธุรกิจจากทุกๆ แผนกมีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลการดำเนินงานทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการผลิต การตลาด ไอที หรือแม้แต่ซีอีโอ (CEO) เองก็ตาม

ปัจจุบันนี้ข้อมูลทางการเงินที่ซับซ้อนสำหรับระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP), การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและวิเคราะห์งบกระแสเงินสด และข้อมูลอื่น ๆ สามารถแสดงแบบเรียลไทม์ในรูปแบบแดชบอร์ด (Dashboard) ได้ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจและช่วยในการตัดสินใจได้ดีขึ้น

3.การวัดผลในสิ่งที่อาจจับต้องไม่ได้

ปัจจุบัน มีบริษัทจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ลงทุน และมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมมาภิบาล (ESG) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่อาจจับต้องผลลัพธ์ทางการเงินได้ค่อนข้างยาก และสิ่งนี้ถือเป็นความท้าทายสำหรับ CFO เพราะโดยทั่วไปการวัดผลของ ESG อาจไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการรายงานทางการเงินที่บริษัทต้องทำ แม้ว่าบริษัทต่าง ๆ จะเปิดเผยข้อมูลมากขึ้นในรายงานประจำปีของตน หรือในรายงานความยั่งยืนที่แยกต่างหากออกมา แต่เราจะวัดการลงทุนนี้ได้อย่างไร

ไม่ว่าจะเป็นโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร การมุ่งลดคาร์บอนให้เป็นศูนย์ หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งมักไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผลกำไรของบริษัท แต่จำเป็นต้องแสดงคุณค่าขององค์กรที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุนใหม่ เนื่องจากนักลงทุนใช้ปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจจัยทางการเงินเหล่านี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวิเคราะห์เพื่อระบุความเสี่ยงที่สำคัญและโอกาสในการเติบโต

ขณะนี้มีเทคโนโลยีที่ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถวัดผลของกิจกรรมดังกล่าวได้ ตัวอย่างเช่น การใช้ Connected Enterprise® Digital ESG ที่จะสามารถช่วยรวบรวม ประเมิน และวัดผลข้อมูลเกี่ยวกับ ESG ต่าง ๆ ที่ไม่ได้เชื่อมต่อ และนำเสนอในรูปแบบที่แสดงและติดตามผลตอบแทนจากการลงทุนดังกล่าวได้

การประเมินตัวเลือกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

การปรับปรุงหน้าที่ด้านบัญชีและการเงินเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญในการวางแผนเพื่อสร้างดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน และสิ่งสำคัญเวลาที่ต้องทำการตัดสินใจเมื่อทำการปรับโครงสร้างหรือออกแบบฟังก์ชันงานบัญชีและการเงินใหม่ด้วยโซลูชันดิจิทัลที่เหมาะสม วิธีที่ดีที่สุดคือการคิดทบทวนเพื่อออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่หรือก็คือการทำ Business Process Reengineering (BPR) เพื่อระบุจุดที่เป็นปัญหา สิ่งที่ทำให้กระบวนการทำงานติดขัด และคุณค่าหรือสิ่งที่องค์กรต้องการส่งมอบให้ลูกค้า (Value Proposition )

ผลลัพธ์ที่ตามมาของการทำ BPR และกิจกรรมทางด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน อาจส่งผลในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน และก่อให้เกิดโซลูชันที่ช่วยประหยัดเวลาและต้นทุนที่หลากหลาย อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณงาน และทำให้การดำเนินงานในปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่บัญชีและการเงินมีเวลาเพิ่มขึ้นและสามารถทำงานอื่นๆ ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับแผนกได้มากขึ้น

สิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันคือ เราต้องมั่นใจได้ว่า CFO ของบริษัทมีความเข้าใจอย่างชัดเจนถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากสิ่งนี้จะช่วยเปลี่ยนบทบาทของพวกเขาจากการเป็นผู้จัดเตรียมรายงานทางการเงิน ให้กลายเป็นที่ปรึกษาที่เชื่อถือได้ให้กับ CEO และผู้บริหาร ด้วยความเข้าใจที่ชัดเจนในกลยุทธ์และเป้าหมายของบริษัท

โดย โทชิฮิเดะ โอตานิ ผู้อำนวยการ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด

supersab

Recent Posts

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึก Edutainment และ Playland จัดแคมเปญ “The Little Campus 2024” ดันทราฟฟิกกลุ่มครอบครัว

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึกกำลังกับพันธมิตรชั้นนำด้าน Edutainment กว่า 300 สถาบัน รวมถึง Playland สุดฮิต จัดแคมเปญ The Little Campus 2024 เปลี่ยนศูนย์การค้าเซ็นทรัลให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้…

16 hours ago

เดนทิสเต้พาลิซ่าจัดงานในไทยอีกครั้ง กับ 3 กิจกรรมในงาน DENTISTE’ x LISA Exclusive After Party

เดนทิสเต้ เดินหน้านำ 3 กิจกรรมสุดยิ่งใหญ่เหนือใคร พาศิลปินระดับโลกชาวไทยอย่าง “ลิซ่า ลลิษา มโนบาล” ซึ่งเป็นหนึ่งในครอบครัวเดนทิสเต้ ในฐานะ Brand Ambassador ของประเทศไทย มาสร้างประสบการณ์สุดพิเศษให้กับแฟนๆ ชาวไทยผ่าน…

16 hours ago

เพอร์เฟค ปิดดีลขายที่ดิน 2 แปลง พร้อมออกหุ้นกู้ 2 ชุด ดอกเบี้ยสูง 7% และ 7.25%

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ปิดดีลขายที่ดิน 2 แปลง รับ 700 ล้านบาท พร้อมออกหุ้นกู้ 2 ชุด ดอกเบี้ยสูง 7% และ 7.25%…

17 hours ago

กทม. x สวทช. สสวท พัฒนาเยาวชน ในโรงเรียนภาษาที่สาม สู่นวัตกรยุค 4.0 ด้วย Digital Innovation Maker space นำร่องพื้นที่กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ชาติ (เนคเทค สวทช.) และ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติ Digital…

17 hours ago

รฟม. เผยครบรอบ 1 ปี นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ผลดีเกินคาด ทำยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT และผู้ใช้บริการอาคารจอดแล้วจรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

นายวิทยา พันธุ์มงคล รักษาการแทน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ รฟม. ได้ดำเนินการตามนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท ซึ่งเป็นหนึ่งนโยบาย Quick Win “คมนาคม…

20 hours ago

เป็นเจ้าของสถานีชาร์จฯ ง่ายนิดเดียว ชมแพคเกจสุดพิเศษจาก กฟผ.ในงาน Bangkok EV Expo 2024 ที่บูท EV3/2

กฟผ. ร่วมออกบูท EGAT EV Business Solutions (บูท EV3/2) ในงาน Bangkok EV Expo 2024 เพื่อส่งต่อความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการพัฒนาและการบริหารจัดการเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า…

20 hours ago