Categories: BusinessTechnology IT

หัวเว่ย เผยกลยุทธ์การลงทุนปี 65 ในไทย และมุมมองสู่อนาคต

แม้ว่าจะมีความกดดันจากปัจจัยภายนอก แต่หัวเว่ยสามารถทำกำไรสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สถานะทางการเงินของบริษัทมีเสถียรภาพ สามารถลงทุนเพื่ออนาคตและรับมือกับความผันผวนได้อย่างมั่นคง กระแสเงินสดเพิ่มขึ้น 75.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ผลกำไรจากธุรกิจหลักเติบโตขึ้น ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและรับความผันผวนทางธุรกิจได้

ภายใต้พันธกิจ “Grow in Thailand, Contribute to Thailand” ในปี พ.ศ. 2565 นี้จะครบรอบ 23 ปีของการก่อตั้งบริษัทในประเทศไทย หัวเว่ยได้เปิดเผยข้อมูลกลยุทธ์ทางธุรกิจทั่วโลกและในประเทศไทย

อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) กล่าวว่า หัวเว่ยยังคงลงทุนในด้านนวัตกรรมและการวิจัยและพัฒนา และในปี พ.ศ 2564 การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาคิดเป็น 22.4% ของรายได้ทั้งหมดของหัวเว่ย ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ในปี พ.ศ 2564 หัวเว่ยได้อันดับที่สองของการจัดอันดับการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรป และภายในสิ้นปี พ.ศ 2564 หัวเว่ยถือครองสิทธิบัตรอยู่มากกว่า 110,000 ฉบับ ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในผลงานที่มากที่สุดในระดับโลก

การ์ทเนอร์ชี้แนวโน้มความปลอดภัยและจัดการความเสี่ยงที่ธุรกิจต้องจับตาในปีนี้
ซิกน่าประกันภัย ขึ้นแท่นประกันสุขภาพที่มีโรงพยาบาลในเครือข่ายครอบคลุมทุกภาคทั่วประเทศ

นอกจากนี้ยังได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสร้างสังคมความเป็นกลางทางคาร์บอนโดยการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจและลงทุนอย่างต่อเนื่องในด้านการวิจัยและพัฒนา สนับสนุนการแบ่งปันข้อมูลจากทั่วทุกมุมโลก เพิ่มความเปิดกว้างทางความคิด ต่อยอดนวัตกรรม และสร้างสรรค์ความคิดใหม่ ๆ จากทั่วโลก เรามุ่งปรับปรุงทฤษฎีพื้นฐาน สถาปัตยกรรม และซอฟต์แวร์เพื่อรองรับการแข่งขันในระยะกลางและสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาวพร้อมกัน

เมื่อเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างคาร์บอนต่ำจะเป็นก้าวใหม่สำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ผ่านมานับว่าทรัพยากรบุคคล การเงิน และวิถีการดำเนินธุรกิจของหัวเว่ยมีเสถียรภาพและสามารถรองรับการพัฒนาในอนาคตได้

“เราจะไม่ละความพยายามในการสำรวจพรมแดนอันไม่มีที่สิ้นสุดของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทำให้ทุกคนเข้าถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสร้างมูลค่าของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย”

สรุปความสำเร็จและผลงานของหัวเว่ยในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564

ประเทศไทยถือเป็นตลาดสำคัญของหัวเว่ย และเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุด ตลอด 23 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งหัวเว่ย ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2542 ผ่านการการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย ลูกค้าและพันธมิตร และมีโอกาสร่วมพัฒนา 2G, 3G, 4G และ 5G ในประเทศไทย และภายใต้พันธกิจ “เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย และร่วมสนับสนุนประเทศไทย” เรามุ่งมั่นเป็นพันธมิตรชั้นนำด้านไอซีทีที่ได้รับความไว้วางใจ เป็นผู้นำเชิงรุกด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และตอบแทนสิ่งดี ๆ สู่สังคมอย่างต่อเนื่อง

ในปี พ.ศ. 2564 หัวเว่ยได้รับรางวัล “Digital International Corporation of the Year” จากนายกรัฐมนตรีของไทยเป็นครั้งแรก และยังเป็นบริษัทข้ามชาติเพียงแห่งเดียวที่ได้รับรางวัลนี้ในช่วงที่ผ่านมา ในปีเดียวกันนี้ หัวเว่ยได้รับรางวัลแบรนด์ที่น่าเชื่อถือสูงสุด “Most Admirable Brand” จากผู้บริโภคและได้รับรางวัล “Thailand TOP Company Award” จากองคมนตรี ด้านโครงสร้างพื้นฐานยอดเยี่ยมเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และจากการทำงานร่วมกับทีมงานที่ทุ่มเท และผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเลือกให้เป็นสุดยอด CEO ในด้าน ICT Solutions Excellence

“ผมรู้สึกซาบซึ้งและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง เพราะรางวัลเหล่านี้แสดงถึงความสำเร็จทางธุรกิจของเรา ซึ่งแสดงถึงการได้รับการยอมรับจากลูกค้าในประเทศไทย รวมถึงด้านการตอบแทนสังคมและการสร้างคุณค่าในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย”

ด้านธุรกิจผู้ให้บริการ (carrier business) หัวเว่ยเป็นผู้จำหน่ายชิ้นส่วนอันดับ 1 ในตลาดผู้ให้บริการ 5G ของประเทศไทย และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการเปิดใช้สถานีฐาน 5G มากกว่า 20,000 แห่ง จำนวนประชากรที่เข้าถึง 5G ครอบคลุมสูงถึง 70% และมีผู้ใช้ 5G ถึง 4.3 ล้านคน ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้ใช้ในประเทศอาเซียนอื่น ๆ ถึง 2.5 เท่า อัตราการเข้าถึงเทอร์มินัล 5G และการรับส่งข้อมูล 5G เพิ่มเป็น 10%

นอกเหนือจากงานโครงสร้างพื้นฐาน หัวเว่ยทำงานร่วมกับรัฐบาลและลูกค้าเพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งด้านการแพทย์ 5G, ท่าเรือ 5G, และการเกษตร 5G ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด นับเป็นการวางรากฐานสำหรับการขยายตัวในอนาคต และในพื้นที่ที่ไม่ใช่ 5G จำนวนผู้ใช้บรอดแบนด์ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 1.67 ล้านคนในปี พ.ศ. 2564 อัตราการเข้าถึงเพิ่มขึ้นจาก 8% เป็น 60.4% ถือว่าเป็นเครือข่ายที่มั่นคงสำหรับการทำงานและการใช้ชีวิตของผู้คนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

ในฐานะการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ธุรกิจองค์กรของหัวเว่ยมีส่วนร่วมด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรม และในภาวะวิถีชีวิตใหม่หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 หัวเว่ยได้รวมเทคโนโลยีไอซีทีเข้ากับอุตสาหกรรมหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ผลิตภัณฑ์และโซลูชันสำหรับองค์กรของหัวเว่ยในประเทศไทยได้เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมมากกว่า 10 แห่งในปีที่ผ่านมา รวมถึงเมืองอัจฉริยะ, การเงิน, พลังงาน, การขนส่ง, การบริการอินเทอร์เน็ต (ISP), การศึกษา, การรักษาพยาบาล และอสังหาริมทรัพย์

ในปี พ.ศ. 2564 หัวเว่ยมีพันธมิตรด้านการขายกว่า 800 ราย ด้านโซลูชันกว่า 40 ราย และพันธมิตรด้านการดำเนินงานกว่า 40 ราย รวมถึงพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลมากกว่า 30 รายในประเทศไทย

หัวเว่ย คลาวด์ ได้เพิ่มการลงทุนในประเทศไทยต่อเนื่องมานานกว่า 3 ปี และ ได้เสริมศักยภาพให้กับคู่ค้าในท้องถิ่นมากกว่า 300 ราย ในกว่า 15 อุตสาหกรรม รวมถึงภาครัฐ, การศึกษา, และการเงิน เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2565 เราได้เปิดตัวศูนย์ข้อมูล Availability Zone แห่งที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร

หัวเว่ย คลาวด์ เป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์ระดับสากลรายแรกที่มีศูนย์ข้อมูลถึง 3 แห่งในไทย ด้วยการบริการที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ จากรายงานของการ์ทเนอร์ระบุว่า หัวเว่ย คลาวด์ มีส่วนแบ่งการตลาดใหญ่เป็นอันดับสามในไทย และยังคงเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดคลาวด์

รายงานการสำรวจจากตัวแทนอิสระในปี พ.ศ. 2564 เผยว่าการรับรู้ของสาธารณชนในประเทศไทยเกี่ยวกับ หัวเว่ย คลาวด์ เพิ่มขึ้นถึง 70% เราร่วมสนับสนุนประเทศไทยในการสร้างอีโคซิสเต็มสตาร์ทอัพที่กำลังเติบโตและพัฒนาธุรกิจยูนิคอร์น ด้วยการเปิดตัวการแข่งขัน “Spark-Ignite” เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเข้าถึงสตาร์ทอัพกว่า 1,700 รายและมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมถึง 132 ราย

ด้านการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางของคาร์บอน หัวเว่ยได้จัดตั้งหน่วยธุรกิจดิจิทัล พาวเวอร์ ให้บริการในไทยเมื่อปีที่ผ่านมา ช่วยพัฒนาพลังงานสะอาดและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของภาคพลังงานเพื่อสร้างสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่ออนาคตที่ดีกว่า ข้อมูลจากรายงานของ IHS Markit และ Wood Mackenzie เปิดเผยว่าเซลล์แสงอาทิตย์อัจฉริยะของหัวเว่ยครองอันดับ 1 ในตลาดโลกต่อเนื่องกันเป็นเวลา 6 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 และโซลูชันนี้ยังครองส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย

“นอกเหนือจากการสร้างความสำเร็จทางธุรกิจ เรายังมุ่งมั่นที่จะมอบสิ่งดี ๆ คืนสู่สังคมและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนที่เราทำธุรกิจ ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เราส่งมอบเทคโนโลยี 5G สำหรับการแพทย์ระยะไกล (telemedicine), อุปกรณ์ของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน, และโซลูชันระบบคลาวด์ให้กับโรงพยาบาลและชุมชนต่าง ๆ ในประเทศไทย และลงนามบันทึกความเข้าใจกับกระทรวงแรงงานเพื่อส่งเสริมการจ้างงานกลุ่มผู้พิการ และเสริมศักยภาพของผู้เชี่ยวชาญด้านไอซีทีกว่า 41,000 คนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา”

กลยุทธ์ทางธุรกิจในปี พ.ศ. 2565 และมุมมองสู่อนาคตของหัวเว่ย

หัวเว่ยวางแผนปรับใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจด้วยการลงทุนในประเทศไทย 4 ด้านหลักด้วยกัน คือ

1.เติมเต็มการใช้งาน 5G ด้วยการเชื่อมต่อที่แพร่หลาย

อย่างที่ทุกท่านทราบแล้วว่า 5G กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีไอซีทีและการคาดการณ์ร่วมกันของสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ONDE), Time Consulting และหัวเว่ยว่า ภายในปี พ.ศ. 2578 มูลค่าเศรษฐกิจที่รองรับเทคโนโลยี 5G จะสูงถึง 2.3 ล้านล้านบาท คาดการณ์โดยประมาณคิดเป็น 10% ของมูลค่าจีดีพีทั้งหมด

หัวเว่ยจึงวางแผนขยายการใช้งาน 5G ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และในปี พ.ศ. 2565 เราหวังว่า 5G จะครอบคลุม 70% ของจำนวนประชากร และอัตราการเข้าถึง 5G จะเพิ่มเป็น 20% จาก 10% ในปัจจุบัน ตามอัตราความพร้อมที่สูงถึง 16% ของทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม ในการร่วมมือกับลูกค้า

โดยจะสนับสนุนให้ประเทศไทยก้าวสู่ความผู้นำในภูมิภาคอาเซียนด้านการปรับใช้ 5G ในอุตสาหกรรมแนวดิ่งอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2565 เราจะเปิดตัวโรงพยาบาล 5G, รถพยาบาล 5G, และโซลูชัน AI ในโรงพยาบาล 20 แห่ง นอกจากนี้ เราจะสร้างมาตรฐานใหม่ 3 ด้านในเมือง 5G (5G City) เพื่อรองรับการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC ที่จะจัดขึ้นในประเทศไทย สอดรับกับนโยบายดิจิทัลของโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เราวางแผนติดตั้ง 5G ในโรงงาน 100 แห่งใน EEC รวมถึงโรงงานประกอบรถยนต์ 5G

2.สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลบนคลาวด์

ตามรายงานของ Deloitte อัตราส่วนการใช้งานคลาวด์เป็นดัชนีชี้วัดสำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล จากปี พ.ศ. 2564 ถึงปี พ.ศ. 2565 การเติบโตด้านการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ของบริษัทในไทยเพิ่มจาก 59% เป็น 78%

หัวเว่ย คลาวด์ เป็นผู้ให้บริการคลาวด์เพียงรายเดียวในประเทศไทยที่มีศูนย์เก็บข้อมูลในพื้นที่ถึง 3 แห่ง และการเปิดตัวศูนย์เก็บข้อมูลแห่งที่สาม Available Zone (AZ) ในเดือนนี้ ก็พร้อมพิสูจน์ความมุ่งมั่นในการให้บริการที่น่าเชื่อถือแก่ลูกค้าต่อไป

ในปี พ.ศ. 2565 หัวเว่ย คลาวด์ วางแผนเปิดตัวบริการด้านซอฟต์แวร์คลาวด์ (SaaS) ใหม่กว่า 80 รายการ เพื่อสนับสนุนธนาคาร, SMEs, และผู้ให้บริการเนื้อหา Over-the-top (OTT) ในการนำระบบคลาวด์มาใช้เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล เมื่อเร็ว ๆ นี้หัวเว่ยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับกระทรวงดิจิทัล เพื่อต่อยอดความร่วมมือด้านคลาวด์และสนับสนุนความก้าวหน้าของเศรษฐกิจและสังคมไทย

นอกจากนี้ยังสนับสนุนบริการคลาวด์สำหรับภาครัฐ (Government Cloud Service) และยกระดับความปลอดภัยของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ในปีพ.ศ. 2565 หัวเว่ยวางแผนจัดการประชุมสุดยอด “Huawei Cloud and Connect” และผมขอชวนสื่อมวลชนทุกท่านเข้าร่วมงานนี้ พร้อมกับผู้นำในอุตสาหกรรมกว่า 4,000 รายเพื่อรับฟังข้อมูลเชิงลึกที่จะช่วยสร้างสรรค์และจุดประกายทางความคิดร่วมกัน

3.กระตุ้นการเปลี่ยนผ่านสู่วิถีชีวิตคาร์บอนต่ำด้วยดิจิทัล พาวเวอร์

ในทศวรรษหน้า ความเปลี่ยนแปลงความต้องการด้านพลังงานของประเทศไทยจะทำให้จีดีพีเติบโตขึ้นประมาณ 1% และปี พ.ศ. 2565 ก็นับเป็นปีสำคัญ เพราะเป็นปีเริ่มต้นของการประกาศแผนงานความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี พ.ศ. 2593 ของประเทศไทย

หัวเว่ยให้คำมั่นที่จะสนับสนุนประเทศไทยให้เป็นผู้นำนโยบายคาร์บอนต่ำในภูมิภาคอาเซียน และเรามั่นใจว่าจะบรรลุเป้าหมายนี้ด้วยผลิตภัณฑ์และโซลูชันดิจิทัล พาวเวอร์

ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปีในอุตสาหกรรมพลังงาน พนักงานด้านวิจัยและพัฒนาเฉพาะด้านกว่า 6,000 คน รวมถึงการจัดสรรเงินทุน 20% จากรายได้ทั้งหมดในปีที่ผ่านมา สำหรับด้านการวิจัยและพัฒนา และในปี พ.ศ. 2564 หัวเว่ยได้จัดตั้งสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสำหรับธุรกิจดิจิทัล พาวเวอร์ขึ้นที่กรุงเทพมหานคร

ในปี พ.ศ. 2565 ธุรกิจ ดิจิทัล พาวเวอร์ ของหัวเว่ย จะเปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ในประเทศไทย เช่น ผลิตภัณฑ์อินเวอร์เตอร์ไฟฟ้าพร้อมโซลาร์เซลล์อัจฉริยะรุ่นใหม่ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น และในช่วงครึ่งปีหลัง เราวางแผนเปิดตัวแท่นชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับและแท่นชาร์จไฟฟ้ากระแสตรงประสิทธิภาพสูงสำหรับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

4.เสริมศักยภาพผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลและพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีธุรกิจยูนิคอร์นใหม่ 2 แห่ง ซึ่งต่างมีมูลค่าบริษัทรวม 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หัวเว่ยในฐานะผู้นำเชิงรุกในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลที่มุ่งตอบแทนสังคม และมุ่งมั่นลงทุนอย่างต่อเนื่องในศูนย์เรียนรู้อีโคซิสเต็มเชิงนวัตกรรม 5G (5G Ecosystem Innovation Center) เพิ่มจำนวนพันธมิตรจาก 70 รายเป็น 120 รายในปีนี้ การพัฒนาเครือข่ายพันธมิตรของหัวเว่ย คลาวด์จะเติบโตอย่างรวดเร็วและคาดว่าจำนวนพันธมิตรจะเพิ่มขึ้นจาก 300 เป็น 500 ราย

สานต่อโครงการ Huawei Cloud Spark อย่างต่อเนื่องสำหรับนักพัฒนาโปรแกรมและสตาร์ทอัพในประเทศไทย ช่วยเสริมศักยภาพนักพัฒนาโปรแกรมมากกว่า 2,000 รายและสตาร์ทอัพจำนวน 300 รายต่อเนื่องทุกปี สำหรับการสร้างผู้เชี่ยวชาญทางดิจิทัลรุ่นใหม่

มุ่งขยาย Huawei ASEAN Academy, Seeds for the Future Program ซึ่งเป็นโครงการฝึกอบรมร่วมกับมหาวิทยาลัย 23 แห่ง เพื่อปลูกฝังการเรียนรู้ให้กับบุคลากรผู้มีความสามารถด้านดิจิทัลถึง 20,000 คนในปี พ.ศ. 2565

“หัวเว่ยเชื่อมั่นในพลังของเทคโนโลยี พลังของความพากเพียร และพลังของการทำงานร่วมกัน ผมมั่นใจอย่างยิ่งว่าหากเราทำงานร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง เราจะบรรลุเป้าหมายการนำดิจิทัลมาสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกองค์กรเพื่อประเทศไทยที่เชื่อมต่อกันอย่างอัจฉริยะและคาร์บอนต่ำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” อาเบล เติ้ง กล่าวสรุป

supersab

Recent Posts

“พฤกษา” ฉลองยอดขายต่างชาติพุ่ง 114% จัดงาน “Agent Day” พร้อมเปิดตัวแคมเปญ Incentive ส่งท้ายปี

พฤกษา จัดงาน “Agent Day” เฉลิมฉลองยอดขายกลุ่มลูกค้าต่างชาติที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง จากความร่วมมือกับเอเจนต์ทั้งในไทยและต่างประเทศ สร้างยอดขายเติบโตกว่า 114% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นปีแรกที่ขยายตลาดไปยังโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบและโครงการระดับลักชัวรี ระดับราคาเริ่มต้นที่ 15 ล้านบาท สร้างยอดขายรวมกว่า 2,300 ล้านบาท ตั้งเป้า…

3 minutes ago

Samsung จัดแคมเปญ “Say it with Galaxy” เทคโอเวอร์ลานลิฟต์แก้ว เซ็นทรัลเวิลด์ ชวนส่งต่อความรู้สึก “คิดถึงเท่าจักรวาล” ผ่านจอยักษ์ 4 ชั้น

Samsung ส่งแคมเปญท้ายปี “Say it with Galaxy” ที่เปลี่ยนพื้นที่ Central Court (ลานลิฟต์แก้ว) เซ็นทรัลเวิลด์ให้กลายเป็น จักรวาลแห่งความคิดถึง ชวนทุกคนส่งต่อความรู้สึกดี ๆ ผ่านจอยักษ์สูงเทียบเท่าตึก…

8 hours ago

SiPH ร่วมกับ IBM ยกระดับระบบสารสนเทศพยาธิวิทยาด้วยความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ขั้นสูงและ AI

โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ (SiPH) โรงพยาบาลภายใต้สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาระบบสารสนเทศทางพยาธิวิทยา (Pathology information system, PIS) ด้วยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ขั้นสูงและปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยร่วมมือกับ IBM (NYSE: IBM) พัฒนาระบบที่รวมการทำงานของห้องปฏิบัติการ…

9 hours ago

AIS – True จับมือ กสทช. ดีอี ปภ. จ.ภูเก็ต ทดสอบระบบเตือนภัยผ่านมือถือ “LIVE – Cell Broadcast Service” ที่ภูเก็ต

AIS และ True ร่วมกับสำนักงาน กสทช. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) พร้อมกับจังหวัดภูเก็ต จัดการทดสอบเสมือนจริงระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ หรือ Cell Broadcast Service (CBS) ที่จังหวัดภูเก็ต…

9 hours ago

กรุงศรี ออโต้ ชวนช้อปปิ้งสินค้ารักษ์โลกผ่าน ‘PromptBuy ศูนย์รวมสินค้ารักษ์โลก เพื่อไลฟ์สไตล์ที่ยั่งยืน’ กับโปรโมชันพิเศษส่งท้ายปี 67

‘กรุงศรี ออโต้’ ส่งโปรโมชันพิเศษท้ายปี 2567 และโปรโมชันภายในงาน Motor Expo 2024 เมื่อซื้อสินค้ารักษ์โลกผ่าน ‘PromptBuy ศูนย์รวมสินค้ารักษ์โลกเพื่อไลฟ์สไตล์ที่ยั่งยืน’ จากผู้จัดจำหน่ายที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน…

9 hours ago

Telehouse จับมือ mu Space ยกระดับโซลูชันดาวเทียมในไทยและการเชื่อมต่อที่หลากหลายสู่ระดับโลก

Telehouse ประเทศไทย และ mu Space ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร เสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย และเพิ่มความน่าเชื่อถือในการให้บริการในหลากหลายอุตสาหกรรม พร้อมส่งมอบการให้บริการที่ดียิ่งขึ้นให้กับกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น รวมถึงยกระดับมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรม mu Space เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนการบินและอวกาศและเป็นที่รู้จักในด้านความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการให้บริการดาวเทียม ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ…

9 hours ago