หัวเว่ย ประกาศผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่โดดเด่นในงานประกาศผลรางวัลสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมยอดเยี่ยม (Top Ten Inventions Awards) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกสองปี ภายในงานประชุมด้านการส่งเสริมนวัตกรรมที่มากับหัวข้อ “การขยายขอบเขตนวัตกรรมกรรมประจำปี พ.ศ. 2565” (Broadening the Innovation Landscape 2022) ณ สำนักงานใหญ่หัวเว่ยในเมืองเซินเจิ้น
รางวัลดังกล่าวมอบให้กับผลงานที่อาจนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมไปถึงผลงานที่ช่วยต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน และผลงานที่จะสร้างมูลค่ามหาศาลให้กับบริษัทและอุตสาหกรรม
ปัจจุบัน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบโลกขณะที่สถานการณ์โรคระบาดยังคงดำเนินไป ยังนำมาซึ่งโอกาสของการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะนวัตกรรมดิจิทัล ความนิยมของเทคโนโลยี อาทิ AI, blockchain, cloud computing, big data, IoT และ metaverse กำลังเปลี่ยนวิถีการทำงาน การใช้ชีวิต และความบันเทิงของทุกคน
–AIS – กรุงไทย เดินหน้าโครงการพอยท์เพย์ ให้ลูกค้า AIS ใช้ เอไอเอส พอยท์ แลกรับส่วนลดกับ “ร้านค้าถุงเงิน” ทั่วประเทศ
–ทรู ดิจิทัล พาร์ค นัดพบองค์กรธุรกิจและคนรุ่นใหม่สายเทค ในงาน Tech ConNEXT Job Fair 2022 วันที่ 7 – 9 ก.ค. 65
รายงานจากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ระบุว่ามูลค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (intangible asset) ในปี พ.ศ. 2563 เพิ่มขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 65.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 54% ของมูลค่าสินทรัพย์ทั่วโลก ขณะเดียวกัน ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา WIPO ได้รับคำขอรับสิทธิบัตรเพิ่มขึ้นมากกว่า 60% แสดงให้เห็นว่าหลายๆ ประเทศมีการลงทุนด้านนวัตกรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์กันมากขึ้น ทั้งยังมีความตระหนักในการใช้สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อปกป้องนวัตกรรมมากขึ้นด้วย
“องค์กรธุรกิจมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อนวัตกรรม และด้วยสถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้มีความจำเป็นอย่างมากที่องค์กรธุรกิจจะต้องมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมและการดำเนินงานที่เป็นสากล” หลิว ฮวอ ผู้อำนวยการสำนักงานประจำประเทศจีนขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก กล่าว สำหรับบนเวทีโลกแล้ว ผลงานของหัวเว่ยนับว่าน่าประทับใจเป็นพิเศษ โดยในปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา หัวเว่ยยังคงครองอันดับหนึ่งในด้านจำนวนการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรระหว่างประเทศตามสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน ด้วยจำนวนคำขอรับตามระบบ PCT รวมทั้งสิ้น 6,952 คำขอ โดยเป็นการยื่นเรื่องในปี พ.ศ. 2563 มากกว่า 1,500 คำขอ ไม่เพียงเท่านี้ จากการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรตามพิธีสารมาดริดจำนวน 98 คำขอ ส่งผลให้หัวเว่ยขึ้นแท่นอันดับ 4 ด้านการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ และติดอันดับท็อป 5 ของโลกอีกครั้ง
ความสำเร็จเหล่านี้เป็นผลโดยตรงจากการลงทุนอย่างต่อเนื่องของหัวเว่ยในด้านนวัตกรรม และนวัตกรรมยังเป็นหัวใจหลักในการดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจของหัวเว่ย
“แม้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจตลอด 3 ปีที่ผ่านมาจะมีความท้าทายสูง แต่ยิ่งสถานการณ์ยิ่งยากลำบาก เรายิ่งมุ่งมั่นที่จะลงทุนเพื่ออนาคต” ซ่ง หลิ่วผิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายกฎหมายของหัวเว่ย กล่าว “ในปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เพิ่มการลงทุนด้าน R&D เป็น 1.427 แสนล้านหยวน ซึ่งคิดเป็น 22.4% ของรายได้ทั้งหมดของเรา ทั้งนี้ การลงทุนด้าน R&D และสัดส่วนรายได้ที่เราใช้จ่ายไปกับ R&D ยังมีมูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์ในรอบ 10 ปี และส่งผลให้หัวเว่ยเป็นนักลงทุนด้าน R&D ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกจากการสำรวจของ EU Industrial R&D Investment Scoreboard ประจำปี พ.ศ. 2564 ไม่เพียงเท่านี้ ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา เม็ดเงินลงทุนในงานวิจัยพื้นฐานของเรายังมากกว่า 20,000 ล้านหยวนต่อปี”
หลิว ฮัว ยังกล่าวแสดงความชื่นชมหัวเว่ยในระหว่างการเสวนาว่า WIPO ประทับใจในความทุ่มเทของหัวเว่ยในด้านนวัตกรรม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าแข่งขันในตลาดโลกในระดับสูง โดยใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
หัวเว่ย ให้ความสำคัญกับการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญามาโดยตลอด โดยหัวเว่ยได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 และได้รับสิทธิบัตรชิ้นแรกในปี พ.ศ. 2541 ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรจากทั่วโลกไปแล้วทั้งสิ้น 200,000 คำขอ และได้รับสิทธิบัตรมาครองแล้วมากกว่า 110,000 ชิ้น ซึ่งรวมถึงสิทธิบัตรภายใต้ระบบ PCT กว่า 60,00 ชิ้น หลายคนอาจมองว่านี่เป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อมาก โดยหัวเว่ยเป็นต้นแบบที่พิเศษอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศจีน และจริงๆ แล้วก็มีเหตุผลรองรับในเรื่องนี้เช่นกัน
ซ่ง อธิบายว่าหัวเว่ยให้ความสำคัญกับการปกป้องสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างมาก “เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาคือกุญแจสำคัญในการปกป้องนวัตกรรมของเรา หัวเว่ยได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรมากกว่า 10,000 ชิ้นในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนับว่าสูงเป็นประวัติการณ์สำหรับเราเช่นกัน เราได้เผยแพร่นวัตกรรมของเราให้กับอุตสาหกรรมโดยผ่านทางสิทธิบัตร เราต้องการที่จะจดทะเบียนสิทธิบัตรและเทคโนโลยีของเราเพื่อที่จะได้แบ่งปันนวัตกรรมของเรากับทั่วโลก นี่คือวิธีการที่จะช่วยขยายขอบเขตให้กับนวัตกรรม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปข้างหน้า และส่งมอบเทคโนโลยีให้กับทุกคน”
ด้าน อลัน ฟ่าน ประธานฝ่ายสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาของหัวเว่ย ได้เปิดเผยถึงความเคลื่อนไหวล่าสุดของหัวเว่ยในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา
นับเป็นเวลา 5 ปีติดต่อกันแล้วที่หัวเว่ยขึ้นแท่นอันดับ 1 ของโลกในด้านจำนวนคำขอรับสิทธิบัตรในระบบ PCT และในปีที่ผ่านมามีจำนวนเกือบ 7,000 คำขอ นับเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของการยื่นคำขอโดยผู้ยื่นรายเดียว ทั้งนี้ ระบบ PCT เปิดให้หัวเว่ยสามารถยื่นคำขอสิทธิบัตรระดับชาติภายใน 30 เดือน และใช้เวลาช่วงนี้เพื่อวางแผนสำหรับการยื่นคำขอสิทธิบัตรในระดับนานาชาติต่อไป
จำนวนการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรของหัวเว่ยในประเทศจีนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีจำนวนรวมมากกว่า 10,000 ชิ้น ในปี พ.ศ. 2563 และเกือบถึง 12,000 ชิ้นในปี พ.ศ. 2564 ปัจจุบันยังไม่มีบริษัทใดในประเทศจีนที่ได้รับสิทธิบัตรมากกว่าหัวเว่ย
อลัน เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ขณะนี้หัวเว่ยได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาประมาณ 4 พันคำขอต่อปี โดยเฉลี่ยมีประมาณ 3,000 คำขอที่ได้รับการอนุมัติ นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา หัวเว่ยยังรั้งอันดับ 5 ของบริษัทที่ได้รับสิทธิบัตรใหม่มากที่สุด ส่งผลให้หัวเว่ยมีสิทธิบัตรรวมทั้งสิ้น 20,000 ชิ้นในสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักงานสิทธิบัตรแห่งยุโรประบุว่า หัวเว่ยเป็นผู้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรรายใหญ่ที่สุดในยุโรปในปี พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2564 ยุโรปยังเป็นหนึ่งในตลาดต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของหัวเว่ย ปัจจุบัน หัวเว่ยมีศูนย์วิจัย 20 แห่งในยุโรป ซึ่งรวมถึงในเยอรมนี ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สวีเดน เบลเยียม โปแลนด์ เป็นต้น ซึ่งการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรโดยศูนย์วิจัยของหัวเว่ยในยุโรปจึงมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี
ระบบสิทธิทางปัญญารูปแบบใหม่ควรผูกกับนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ในรูปแบบที่สังคมต้องการและยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม ระบบสิทธิทางปัญญาจึงควรที่จะรับรองได้ว่าสิ่งเหล่านี้คือการสร้างสรรค์ที่สมควรได้รับการคุ้มครองเพราะเป็นสิ่งที่สร้างคุณค่าได้อย่างแท้จริง