Categories: Technology IT

หัวเว่ย ร่วมงานประชุมโทรคมนาคม Asia-Pacific Spectrum Management ครั้งที่ 8

งานประชุม Asia-Pacific Spectrum Management ครั้งที่ 8 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 26-27 เมษายน พ.ศ. 2565 ณ กรุงเทพมหานคร โดยมี Forum Global และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมเป็นเจ้าภาพ และหัวเว่ยเป็นผู้ร่วมจัดงานในฐานะพันธมิตรหลัก โดยได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union หรือ ITU) และองค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APT) ซึ่งหัวข้อหลักของการประชุมครั้งนี้คือกลยุทธ์และการพัฒนาคลื่นความถี่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของเศรษฐกิจดิจิทัล

คลื่นความถี่ถือเป็นทรัพยากรพื้นฐานของการพัฒนาอุตสาหกรรมการสื่อสารแบบไร้สายและเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับ 5G และ 5G ขั้นสูง กลยุทธ์การบริหารคลื่นความถี่และมาตรฐานการใช้งานจำเป็นต้องวางแผนให้สอดคล้องกันและมีข้อกำหนดชัดเจน

ทีดี ตะวันแดง จับมือ Google Cloud ทำให้ใครก็เข้าถึงข้อมูลวิเคราะห์และ AI ได้
การ์ทเนอร์ เผยเทคโนโลยีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม จะเริ่มนำมาใช้แพร่หลายภายในปี 2568

เสน่ห์ สายวงศ์ วิศวกรผู้เชี่ยวชาญพิเศษ กสทช. ประเทศไทย กล่าวว่า ไทยได้เปิดใช้งานเทคโนโลยี 5G ในเชิงพาณิชย์แล้วบนความถี่ 2.6GHz/700MHz และขณะเดียวกันมีการทดลองใช้งานความถี่ 3.5/28GHz และศึกษาการใช้งานความถี่ 6GHz ภายใต้วาระประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม ค.ศ. 2023 (WRC-23)

ในอนาคต กสทช. กล่าวว่าความต้องการแบนด์วิดท์ในย่านความถี่กลางและต่ำจะสูงถึง 2051MHz เพื่อความเร็วในการดาวน์โหลดของเครือข่าย 5G ที่ 100 เมกะบิตต่อวินาที จากค่าเฉลี่ย 30 เมกะบิตต่อวินาทีของเครือข่าย 4G ในปัจจุบัน การกำหนดคลื่นความถี่ใหม่จะตอบสนองความต้องการจากการเติบโตด้านการใช้งานในอนาคต ซึ่งทำให้จำเป็นต้องมีการขยายเครือข่ายเพิ่มเติมในต่างจังหวัดเพื่อประสบการณ์การเข้าถึงเครือข่าย 5G ที่เท่าเทียม

ตามข้อกำหนดเครือข่ายของ กสทช. ผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องขยายเครือข่าย 2600MHz ให้ครอบคลุมพื้นที่ของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ให้ถึง 50% ภายใน 1 ปีและครอบคลุมในเมืองอัจฉริยะภายใน 4 ปี โดยข้อมูลนี้มาจากนางสาวธีร์ตานันท์ ผู้อำนวยการสำนักใบอนุญาตประกอบธุรกิจโทรคมนาคม กสทช. ปัจจุบันบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) มีเครือข่ายครอบคลุม 95.7% และบริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด มีเครือข่ายครอบคลุม ที่ 94.5% เปิดตัวเครือข่ายโทรคมนาคมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ในขณะที่อัตราครอบคลุมของประชากรผู้ใช้ 5G ทั่วประเทศมีถึง 77% พร้อมจำนวนสถานีฐานบนความถี่ 2600MHz เพิ่มเป็น 17,244 แห่ง ภายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565

องค์กรผู้แทนผลประโยชน์ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก (GSMA) กล่าวว่าภายในปี พ.ศ. 2568-2573 ประเทศต่างๆ ต้องการคลื่นความถี่กลางที่ 2GHz เพื่อให้ได้ประสบการณ์การใช้งานตามมาตรฐาน IMT ซึ่งกำหนดค่าดาวน์ลิงก์ไว้ที่ 100 เมกะบิตต่อวินาที และอัปลิงก์ที่ 50 เมกะบิตต่อวินาที จึงจะบรรลุเป้าหมายของบริการเครือข่าย 5G ดังนั้น ย่านความถี่ 6GHz จึงเป็นตัวเลือกหลักอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดย GSMA เรียกร้องให้หน่วยงานกำกับดูแล “พิจารณาการใช้งานย่านความถี่สูงกว่า 6 GHz สำหรับการใช้งานตามมาตรฐาน IMT ในขณะที่ย่านความถี่ต่ำกว่า 6GHz ควรพิจารณาด้วยหลักการความเป็นกลางทางเทคโนโลยี”

ตู้ เย่ชิง รองประธานบริหาร กลุ่มผลิตภัณฑ์ 5G ของหัวเว่ย เน้นย้ำว่า อีก 5-10 ปีข้างหน้า แต่ละประเทศจะต้องการใช้งานย่านความถี่กลางที่ 2000MHz เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในราคาที่จับต้องได้ ภายใต้สถานการณ์การใช้งาน 5G อย่างเต็มรูปแบบ คลื่นความถี่ 2.1/2.3/2.6/4.9 GHz จะมีอีโคซิสเต็มที่สมบูรณ์ และรองรับการพัฒนา 5G เช่นเดียวกับความถี่ระบบ C-band ซึ่งพันธมิตรในภาคอุตสาหกรรมต่างมุ่งทำงานร่วมกันเพื่อสร้างอีโคซิสเต็ม 6 GHz ให้สมบูรณ์แบบเพื่อตอบสนองความต้องการเครือข่าย 5G ในระยะยาว

ดร.อัตสึโกะ โอคุดะ ผู้อำนวยการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กล่าวปิดท้ายว่า คลื่นความถี่ที่ผสานกลมกลืนทั่วโลกถือเป็นกุญแจสำคัญของบริการไร้สาย ช่วยให้เทคโนโลยีและบริการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น มีราคาที่เหมาะสม มีความปลอดภัย และเข้าถึงการลงทุนที่จำเป็น ผู้เข้าประชุมทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ทำให้การประชุมเต็มไปด้วยความน่าสนใจ และมีคำถามที่เกี่ยวข้องกับวาระการประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม ปี ค.ศ. 2523 (WRC-23) ทั้งการอภิปรายเรื่องย่านความถี่ระบบ C-band เพื่อค้นหาสมดุลในคลื่นความถี่กลาง (mid band) และความสนใจที่เพิ่มขึ้นในคลื่นความถี่ 6GHz การอภิปรายในงานนี้ยังช่วยเตรียมตัวให้ผู้เข้าประชุมร่วมประชุม WRC-23 ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างขึ้นในด้านการเชื่อมต่อดิจิทัลของเครือข่าย 5G และด้านอื่น ๆ

หัวเว่ย ประเทศไทย รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทยตลอดช่วงเวลา 23 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งยังได้รับความสนับสนุนเป็นอย่างดีจากพันธมิตร โดยภายใต้ภารกิจ “เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย และร่วมสนับสนุนประเทศไทย (Grow in Thailand, Contribute to Thailand)” หัวเว่ยมุ่งมั่นบรรลุเป้าหมายการเป็นพันธมิตรชั้นนำด้านเทคโนโลยีและผู้นำด้านไอซีทีที่เชื่อถือได้ หัวเว่ยเป็นผู้ผลักดันด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและเป็นผู้ส่งเสริมด้านคุณค่าทางสังคมมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมที่จะเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน โดยนำดิจิทัลไปสู่ทุกคน ทุกบ้านและทุกองค์กร เพื่อประเทศไทยที่เชื่อมต่อกันอย่างอัจฉริยะโดยสมบูรณ์

supersab

Recent Posts

Epson รุกตลาดโฮมโปรเจคเตอร์ ส่งโปรดักส์ไฮเอนด์รับตลาดแอปฯ เอนเตอร์เทนเมนต์โต พร้อมจัดงาน Epson Ultra Projectors Experience Day

เอปสัน (Epson) ประกาศรุกตลาดโฮมโปรเจคเตอร์ หลังแอปพลิเคชันด้านสปอร์ตเอนเตอร์เทนเมนต์เติบโตอย่างมากทั้งในกลุ่มธุรกิจและสำหรับความบันเทิงภายในบ้าน ล่าสุดจัดงาน Epson Ultra Projectors Experience Day ณ Solution Center อาคารปัน พร้อมเปิดตัวสินค้าใหม่ในกลุ่มโฮมโปรเจคเตอร์และโปรเจคเตอร์ความสว่างสูง…

2 hours ago

“พฤกษา” ฉลองยอดขายต่างชาติพุ่ง 114% จัดงาน “Agent Day” พร้อมเปิดตัวแคมเปญ Incentive ส่งท้ายปี

พฤกษา จัดงาน “Agent Day” เฉลิมฉลองยอดขายกลุ่มลูกค้าต่างชาติที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง จากความร่วมมือกับเอเจนต์ทั้งในไทยและต่างประเทศ สร้างยอดขายเติบโตกว่า 114% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นปีแรกที่ขยายตลาดไปยังโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบและโครงการระดับลักชัวรี ระดับราคาเริ่มต้นที่ 15 ล้านบาท สร้างยอดขายรวมกว่า 2,300 ล้านบาท ตั้งเป้า…

3 hours ago

Samsung จัดแคมเปญ “Say it with Galaxy” เทคโอเวอร์ลานลิฟต์แก้ว เซ็นทรัลเวิลด์ ชวนส่งต่อความรู้สึก “คิดถึงเท่าจักรวาล” ผ่านจอยักษ์ 4 ชั้น

Samsung ส่งแคมเปญท้ายปี “Say it with Galaxy” ที่เปลี่ยนพื้นที่ Central Court (ลานลิฟต์แก้ว) เซ็นทรัลเวิลด์ให้กลายเป็น จักรวาลแห่งความคิดถึง ชวนทุกคนส่งต่อความรู้สึกดี ๆ ผ่านจอยักษ์สูงเทียบเท่าตึก…

11 hours ago

SiPH ร่วมกับ IBM ยกระดับระบบสารสนเทศพยาธิวิทยาด้วยความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ขั้นสูงและ AI

โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ (SiPH) โรงพยาบาลภายใต้สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาระบบสารสนเทศทางพยาธิวิทยา (Pathology information system, PIS) ด้วยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ขั้นสูงและปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยร่วมมือกับ IBM (NYSE: IBM) พัฒนาระบบที่รวมการทำงานของห้องปฏิบัติการ…

12 hours ago

AIS – True จับมือ กสทช. ดีอี ปภ. จ.ภูเก็ต ทดสอบระบบเตือนภัยผ่านมือถือ “LIVE – Cell Broadcast Service” ที่ภูเก็ต

AIS และ True ร่วมกับสำนักงาน กสทช. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) พร้อมกับจังหวัดภูเก็ต จัดการทดสอบเสมือนจริงระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ หรือ Cell Broadcast Service (CBS) ที่จังหวัดภูเก็ต…

12 hours ago

กรุงศรี ออโต้ ชวนช้อปปิ้งสินค้ารักษ์โลกผ่าน ‘PromptBuy ศูนย์รวมสินค้ารักษ์โลก เพื่อไลฟ์สไตล์ที่ยั่งยืน’ กับโปรโมชันพิเศษส่งท้ายปี 67

‘กรุงศรี ออโต้’ ส่งโปรโมชันพิเศษท้ายปี 2567 และโปรโมชันภายในงาน Motor Expo 2024 เมื่อซื้อสินค้ารักษ์โลกผ่าน ‘PromptBuy ศูนย์รวมสินค้ารักษ์โลกเพื่อไลฟ์สไตล์ที่ยั่งยืน’ จากผู้จัดจำหน่ายที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน…

12 hours ago