จากรายงานล่าสุดของ Global Digital Report 2021 ระบุว่าทั่วโลกมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 4.88 พันล้านคน ซึ่งคิดเป็นเกือบ 62% ของประชากรโลก ในรายงานยังเผยสถิติผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นแตะ 5.29 พันล้านคนในเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา นับว่ามากกว่าสองในสามของประชากรโลกเลยทีเดียว ตัวเลขเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า การเข้าถึงแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างง่ายดายแค่ปลายนิ้ว นอกจากจะทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างบุคคลกับบุคคล และบุคคลกับธุรกิจแล้ว ยังส่งผลให้ผู้คนทั่วโลกล้วนถูกขับเคลื่อนด้วยคอนเทนต์ที่อยู่รอบตัวตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นในแง่มุมของธุรกิจหรือในชีวิตประจำวัน
–ETDA โชว์ 3 นวัตกรรม หนุน SMEs ไทยสู่ธุรกิจดิจิทัล
–สำนักงานสลาก แถลงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคาตามโรดแมป
ซึ่งหลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดและการล็อคดาวน์ทั่วโลก ทำให้ในช่วงสองปีที่ผ่านมา คอนเทนต์รูปแบบวิดีโอสั้น (Short Video) มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จากรายงาน Wyzowl ชี้ว่า ในปี 2021 วิดีโอได้กลายเป็นรูปแบบหลักของสื่อการตลาด ซึ่ง 86% ของธุรกิจใช้วิดีโอเป็นเครื่องมือทางการตลาด และอีก 91% ของนักการตลาดคิดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดครั้งนี้ทำให้วิดีโอมีความสำคัญต่อแบรนด์มากขึ้น ในขณะเดียวกัน การเข้าสู่ Digital Mainstreamed Era ก็ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับ Media Landscape เม็ดเงินโฆษณาได้ถูกทุ่มเทไปที่ฝั่ง Digital Media มากขึ้น โดยมีการคาดการณ์กันว่า ในสิ้นปีนี้ การใช้จ่ายด้านโฆษณาทั่วโลกจะสูงขึ้นประมาณ 66% เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว และเม็ดเงินโฆษณาบนสื่อดิจิทัลทั่วโลกในปีนี้ จะขึ้นไปแตะอยู่ที่ 60% (ข้อมูล zenithmedia)
สถิติที่กล่าวมาสอดคล้องกับการเติบโตทั่วโลกอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีของแพลตฟอร์ม TikTok ซึ่งล่าสุดมีผู้ใช้งานมากกว่าพันล้านคนต่อเดือน ทุกวันนี้ TikTok ได้กลายมาเป็นพื้นที่แห่งความสุขบนโลกออนไลน์และเชื่อมต่อผู้คนเข้าไว้ด้วยกัน
สิรินิธิ์ วิรยศิริ Head of Business Marketing, Global Business Solutions, TikTok Thailand เปิดเผยว่า มีผู้ใช้ TikTok มากกว่า 240 ล้านคนต่อเดือนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของผู้ใช้ทั่วโลก และในประเทศไทยเอง เราเห็นการเติบโตของผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ทั้งในกลุ่มอายุที่กว้างขึ้นและมาจากหลากหลายภูมิลำเนา ซึ่ง TikTok ยังครองความเป็นอันดับ 1 ของการเป็นแพลตฟอร์มที่เติบโตเร็วที่สุดในช่วงสองปีที่ผ่านมา สาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากCovid-19 ที่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจและปัญหารอบตัวที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้คนมองหาความสุขและความสบายใจ ซึ่ง TikTok ได้กลายเป็นหนึ่งในพื้นที่ออนไลน์ที่ผู้คนเข้ามามองหาความบันเทิงและความสุขในชีวิตประจำวัน
จากการสำรวจล่าสุดพบว่า 7 ใน 10 ของผู้ใช้งานเข้ามาใช้ TikTok เพราะอยากมีความสุข อยากเพิ่มพลังบวก และส่วนใหญ่ชอบเนื้อหาหรือคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์ รวมทั้งยังมีความหลากหลายในแบบที่หาไม่ได้จากที่อื่น และยังเป็นวิดีโอที่เป็นเรื่องราวจริงๆ ทำให้รู้สึกเข้าถึงและจับต้องได้ง่าย ซึ่งผู้ใช้มากกว่า 86% เปิดเผยว่าเล่น TikTok เพราะมองหาคอนเทนต์ที่นำความสุขความบันเทิงมาให้ นอกจากนี้ 85% ยังบอกว่าพวกเขาค้นพบคอนเทนต์รูปแบบใหม่ๆ หรือแนวใหม่ที่ชื่นชอบ และด้วยอัลกอริทึมที่ช่วยคัดสรรเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจของผู้ใช้แต่ละคนโดยเฉพาะ ทำให้มากกว่า 50% ของผู้ใช้บอกว่า หลังจากที่เข้ามาดูคอนเทนต์ต่างๆ บน TikTok แล้ว รู้สึกมีความสุขและความสบายใจขึ้น
จากการเก็บข้อมูลทำให้เราพบว่า คอนเทนต์บน TikTok ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปีที่ผ่านมาเป็นเรื่องของความบันเทิง ไลฟ์สไตล์ และการแสดงความสามารถพิเศษต่างๆ ที่เซอร์ไพรส์คือ คอนเทนต์กลุ่มตกแต่งบ้านและสวน ครอบครัวและเด็ก และการท่องเที่ยว การศึกษา กีฬา และเกม ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 2 ปีนี้
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ สำหรับแบรนด์และธุรกิจ นั่นคือ 70% ของผู้ใช้ TikTok รู้สึกสนุกไปพร้อมกับแคมเปญโฆษณาต่างๆ บน TikTok โดยเลือกที่จะดูจนจบมากกว่าปัดผ่าน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับแบรนด์และนักการตลาด ที่จะสามารถสร้างสรรค์เนื้อหาที่เชื่อมต่อและสอดคล้องไปกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ และยิ่งไม่ใช่เรื่องที่เกินความคาดหมายเลย เมื่อหลากหลายแบรนด์และธุรกิจประสบความสำเร็จในการใช้ TikTok เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงกับวัตถุประสงค์ เรามองว่า TikTok เป็นพื้นที่แห่งโอกาสที่กำลังเติมโตอย่างรวดเร็วซึ่งแบรนด์ต่างๆ สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ในรูปแบบที่แตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่น”
ด้าน TikTok เองมีโซลูชันที่จะช่วยให้แบรนด์บรรลุทุกวัตถุประสงค์การตลาด ตอบโจทย์สำหรับทุกแบรนด์ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดไหน โดยนำบางส่วนของไฮไลท์ที่น่าสนใจในแต่ละโซลูชันสำหรับปี 2022 มาแนะนำ ได้แก่
สำหรับแนวทางการทำคอนเทนต์ให้โดนใจในปีนี้ TikTok ได้แชร์ 3 แนวคิดเบื้องต้นไว้อย่างน่าสนใจได้แก่
Be ‘flawsome’ ซึ่งมาจากการนำคำว่า Flaw มารวมกับ Awesome ซึ่งนั่นคือการแสดงตัวตนส่วนที่เปราะบางหรือไม่สมบูรณ์ของแบรนด์อย่างเปิดเผย ชัดเจน และตรงไปตรงมาอย่างมั่นใจ เป็นการดึงจุดด้อยขึ้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ Democratise Creativity ความสร้างสรรค์อย่างเท่าเทียม แบรนด์สามารถเชิญชวนให้ผู้ใช้งานเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์เนื้อหาและแชร์เรื่องราวดีๆ ไปพร้อมกันได้บน TikTok แม้จะใช้สมาร์ทโฟนเพียงอย่างเดียว และสุดท้ายได้แก่ Embrace Shoppertainment การผสมผสานกันระหว่างคอนเทนต์และคอมเมิร์ซ คือการที่แบรนด์สามารถค้นหาลูกค้าที่เหมาะสมจากผู้ที่สนใจคอนเทนต์ ก่อนที่จะเปลี่ยนจากการค้นพบให้กลายเป็นลูกค้าในอนาคต
“ผลิตภัณฑ์จาก 4 โซลูชันที่กล่าวมา เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีอีกหลากหลายผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจและตอบโจทย์ทุกธุรกิจได้ หวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้นักการตลาดและแบรนด์ต่างๆ สามารถนำไปวางแผนและปรับกลยุทธ์ในการสื่อสารกับผู้บริโภค ขอย้ำว่า TikTok เป็นพื้นที่ออนไลน์ที่สร้างความสุขให้กับผู้ใช้งานจึงเป็นโอกาสอันดีที่แบรนด์จะสร้างสรรค์คอนเทนต์ดีๆ ที่จะเปลี่ยนผู้ใช้ให้เป็นผู้ซื้อที่มีความสุข นอกจากนี้ TikTok ยังมีผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นมากมายที่จะสนับสนุนและตอบโจทย์ให้ทุกธุรกิจ เราขอร่วมเป็นกำลังใจและยืนยันความพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ทุกธุรกิจประสบความสำเร็จ” สิรินิธิ์ กล่าวสรุป
เปิดตัว vivo V50 สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดในตระกูล V Series ที่มาพร้อมคอนเซปต์ "ถ่ายที่รักอย่างโปร" ชูจุดเด่นกล้อง ZEISS ความละเอียด 50 ล้านพิกเซลรอบด้าน อัดแน่นด้วยฟีเจอร์ AI…
กระแสชาไทย Specialty ฟีเวอร์! ข้อมูลจาก LINE MAN เผยให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด "ชาไทย Specialty" ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่มียอดสั่งซื้อทะยาน 81% ร้านใหม่ตบเท้าเปิดตัวเพิ่มขึ้นถึง…
China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…
AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…
ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…
ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…