เพิ่มความคล่องตัวให้กับธุรกิจ เพื่อรองรับอนาคตอย่างยั่งยืน

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมใดก็ตาม ทำให้องค์กรทุกแห่งต้องแสวงหาวิธีการที่จะใช้ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความคล่องตัวและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างลงตัว สภาพตลาดที่เปลี่ยนไปทำให้องค์กรเหล่านี้ต้องมองหาโอกาสใหม่ ๆ และประเมินรูปแบบทางธุรกิจและรูปแบบการทำงานเสียใหม่ องค์กรหลายแห่งหันมาลงทุนด้านเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป และนำโซลูชั่นอัจฉริยะต่าง ๆ มาใช้เพิ่มความคล่องตัวในระยะยาวให้กับธุรกิจมากขึ้น

นวัตกรรมดิจิทัล คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจก้าวทันกระแสความเปลี่ยนแปลงและก้าวล้ำนำหน้าเหนือคู่แข่ง ด้วยเหตุนี้ นักพัฒนาแอปพลิเคชั่นขององค์กรจึงต้องทุ่มเททำงานอย่างสุดกำลังด้วยทรัพยากรและเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการในการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่ดิจิทัล ทั้งยังต้องทำงานให้สำเร็จลุล่วงให้ได้อย่างรวดเร็วภายในกรอบเวลาที่สั้นกว่าเดิม โดยยังรักษาคุณภาพและต้องควบคุมค่าใช้จ่ายโดยรวมไม่ให้สูงเกินงบที่ตั้งไว้ ซึ่งทั้งหมดนี้นับเป็นเรื่องที่ยุ่งยากอย่างมากเลยทีเดียว

เผชิญปัญหารอบด้าน

รายงาน Infobrief ฉบับล่าสุดของไอดีซี (IDC) ระบุว่า ภายในปีพ.ศ. 2567 บริษัทในกลุ่ม G2000 จะเป็นผู้ผลิตนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง สิ่งนี้ได้รับแรงหนุนจากความเป็นจริงใหม่ ๆ ของตลาด ความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นและความท้าทายจากดิจิทัล ดิสรัปชั่น ซึ่งมีความหมายมากกว่าการเร่งวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่ซอฟต์แวร์ยังจำเป็นต้องนำเสนอคุณค่าทางธุรกิจที่ยั่งยืนได้อีกด้วย

องค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงติดขัดในการนำกระบวนการและแนวทางการทำงานของ DevOps ที่มีความคล่องตัวจากการทำงานร่วมกันของนักพัฒนาซอฟต์แวร์และฝ่ายปฏิบัติงานมาใช้ในวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์ ดังจะเห็นได้จาก 58% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามระบุว่าความปลอดภัยและการบูรณาการการพัฒนาซอฟต์แวร์เข้าด้วยกันเป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุด

องค์กรต่าง ๆ ต้องเผชิญกับปัญหาท้าทายใหม่ ๆ โดยจะต้องปรับตัวอย่างฉับไวตามสภาพตลาดที่เปลี่ยนไป ทั้งยังต้องว่าจ้างและฝึกอบรมพนักงานอย่างรวดเร็ว และปรับปรุงระบบให้ทันสมัยเพื่อรักษาขีดความสามารถด้านการแข่งขัน สำหรับบริษัทส่วนใหญ่แล้ว ระบบรุ่นเก่าที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานจะยังคงถูกใช้งานต่อไป โดยบริษัทเหล่านี้จะต้องสร้างแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ ที่ทำงานหรือรันอยู่บนระบบรุ่นเก่าที่ว่านี้ นอกเหนือไปจากความกดดันที่เกิดขึ้นจากความจำเป็นที่จะต้องก้าวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงแล้ว ในส่วนของลูกค้ายังมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นสำหรับสินค้าและบริการที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น (Personalised) ส่งผลให้องค์กรจำเป็นต้องขยายและปรับเปลี่ยนระบบที่มีอยู่ภายในเวลาอันรวดเร็วในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

ฉีกกฎเกณฑ์แบบเดิมๆ

ด้วยเหตุนี้ องค์กรจึงจำเป็นที่ต้องใช้แพลตฟอร์ม visual development และ model-based เพื่อให้สามารถอยู่รอดและประสบความสำเร็จท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกหันมาใช้เครื่องมือสำหรับการพัฒนาแบบ low-code กันมากขึ้น และจากการสำรวจพบว่า 47% ของผู้บริหารองค์กรเอเชียแปซิฟิกพึ่งพาเครื่องมือพัฒนาแบบที่ใช้โมเดลหลากหลายชนิด โดย 39% ใช้เครื่องมือที่เป็น visual development และ 29% มีแผนที่จะปรับใช้เครื่องมือแบบ low-code

แพลตฟอร์มเหล่านี้ช่วยให้องค์กรสามารถออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ได้อย่างรวดเร็วโดยมีการเข้ารหัสแบบ hand-coding เพียงเล็กน้อย การใช้การสร้างแบบจำลองภาพในอินเทอร์เฟซแบบกราฟิกเพื่อประกอบและกำหนดค่าแอปพลิเคชั่นช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชั่นใหม่ตามลำดับขนาดได้เร็วขึ้น ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความสามารถในการปรับขนาดความสม่ำเสมอความปลอดภัยและที่สำคัญที่สุดคือความคล่องตัว – แนวทางใหม่เหล่านี้ช่วยให้นักพัฒนาสามารถแก้ปัญหาความท้าทายขององค์กรได้ด้วยความเร็วที่ไม่เคยมีมาก่อนในขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ที่ไม่ใช่นักพัฒนาสามารถสร้างต้นแบบและร่วมมือกับไอทีเพื่อสร้างซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน

แพลตฟอร์ม visual development ต่าง ๆ ยังเป็นตัวสร้างสะพานเชื่อมระหว่างแอปพลิเคชั่นเดิมและแอปพลิเคชั่นสมัยใหม่ หรือในบางกรณีจะแทนที่ระบบเดิมทั้งหมด เนื่องจากแพลตฟอร์มเหล่านี้ใช้กลไกการลากและวางที่ใช้งานง่ายจึงมีขั้นตอนการพัฒนาที่ง่ายขึ้นซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ปลายทางมีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่พวกเขาจะใช้มากขึ้น

เดินหน้าเต็มกำลัง

เมื่อถูกถามถึงเหตุผลในการปรับใช้เครื่องมือแบบ low-code และเครื่องมือแบบ visual อื่น ๆ 46% ขององค์กรบอกว่าเครื่องมือเหล่านี้คืออนาคต โดย 43% ยอมรับว่าเครื่องมือดังกล่าวช่วยลดความซับซ้อนของประสบการณ์ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ และ 42% เชื่อว่าเครื่องมือที่ว่านี้รองรับการใช้งานหลากหลายและสะดวกง่ายดายสำหรับนักพัฒนา อย่างไรก็ดี ลำพังเพียงแค่การใช้เครื่องมือแบบ low-code ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้องค์กรมีความคล่องตัวอย่างแท้จริง องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้แพลตฟอร์มที่เพิ่มความรวดเร็วให้กับทุกขั้นตอนของกระบวนการ Dev-Sec-Ops ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ พัฒนา วิเคราะห์สถาปัตยกรรม ทดสอบ ติดตั้งใช้งาน ไปจนถึงขั้นตอนการตรวจสอบติดตามผล และแม้กระทั่งหลังจากนั้นก็ยังจำเป็นต้องปรับแต่งแพลตฟอร์ม เพื่อที่ว่าหลังจากที่ติดตั้งแอปพลิเคชั่นแล้ว ก็จะสามารถทำการปรับเปลี่ยนได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ไม่ว่าการปรับเปลี่ยนที่ว่านี้จะเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ กฎระเบียบของภาครัฐ สภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป หรือวิกฤตการณ์อย่างเช่นกรณีการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลก

เมื่อมองไปที่ปี 2565 เป็นต้นไป 52% ขององค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เชื่อว่าการพัฒนาแอปพลิเคชั่นแบบคลาวด์เนทีฟ (cloud-native) จะกลายเป็นสิ่งสำคัญ และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวอย่างแท้จริง องค์กรต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่า:

ความปลอดภัยถือเป็นเรื่องสำคัญ: ในขณะที่วงจรการพัฒนาสั้นลงเรื่อย ๆ องค์กรต่าง ๆ จึงต้องบูรณาการระบบรักษาความปลอดภัยเข้ากับขั้นตอนการวางแผน เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วต่อเนื่องและก้าวนำหน้าการเปลี่ยนแปลง
นวัตกรรมต้องมาก่อน: ประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับลูกค้าจะช่วยผลักดันการสร้างตลาดและการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ ๆ นอกจากนี้ จะต้องรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าและนำเอามาใช้เป็นข้อมูลในการคิดค้นไอเดียบนแพลตฟอร์มใหม่ ๆ
วางแผนสำหรับการว่าจ้างบุคลากร: เริ่มต้นวางแผนเรื่องการสรรหาบุคลากรแต่เนิ่น ๆ สร้างแอปที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเปิดโอกาสให้นักพัฒนาได้ทำงานร่วมกับฝ่ายไอทีอย่างใกล้ชิดเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการพัฒนา

ตัวอย่างขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ก็คือ Schneider Electric บริษัทข้ามชาติของยุโรปที่นำเสนอดิจิทัลโซลูชั่นด้านพลังงานและระบบอัตโนมัติสำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อรองรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง Schneider จำเป็นที่จะต้องเพิ่มความคล่องตัวและประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทางธุรกิจ รวมทั้งปรับปรุงขีดความสามารถและการดำเนินงาน ทั้งในส่วนของการพัฒนา การปรับใช้เทคโนโลยี และการบริหารจัดการ

การติดตั้งใช้งานแพลตฟอร์ม low-code ของเอาท์ซิสเต็มส์ (OutSystems) ช่วยให้ Schneider Electric ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมไอที ด้วยการจัดตั้ง “Low-Code Digital Factory” เพิ่มความรวดเร็วในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นได้ถึง 2 เท่า สามารถผลิตแอปใหม่ ๆ ได้มากกว่า 60 แอป โดยใช้เวลาเพียง 40% ของระยะเวลาที่เคยใช้ก่อนหน้านี้

ถึงเวลาแล้วสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรม

ปี 2563 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่องค์กรต่าง ๆ และผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีควรจะตรวจสอบทบทวนสถานะของการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) แน่นอนว่าในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ทุกองค์กรจะต้องปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็นโรงงานผลิตนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อให้แข่งขันได้ ไม่ว่าองค์กรจะต้องการปรับปรุงระบบรุ่นเก่าให้ทันสมัย เพิ่มความคล่องตัวให้กับกระบวนการต่าง ๆ หรือตอบสนองต่อสภาวะตลาดที่เปลี่ยนไปด้วยการนำเสนอบริการใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดให้รวดเร็วกว่าเดิม แพลตฟอร์ม visual development คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม

บทความโดย เอกรัฐ งานดี ผู้จัดการประจำประเทศไทยและเวียดนาม เอาท์ซิสเต็มส์

BizTalk NEWS

Recent Posts

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึก Edutainment และ Playland จัดแคมเปญ “The Little Campus 2024” ดันทราฟฟิกกลุ่มครอบครัว

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึกกำลังกับพันธมิตรชั้นนำด้าน Edutainment กว่า 300 สถาบัน รวมถึง Playland สุดฮิต จัดแคมเปญ The Little Campus 2024 เปลี่ยนศูนย์การค้าเซ็นทรัลให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้…

17 hours ago

เดนทิสเต้พาลิซ่าจัดงานในไทยอีกครั้ง กับ 3 กิจกรรมในงาน DENTISTE’ x LISA Exclusive After Party

เดนทิสเต้ เดินหน้านำ 3 กิจกรรมสุดยิ่งใหญ่เหนือใคร พาศิลปินระดับโลกชาวไทยอย่าง “ลิซ่า ลลิษา มโนบาล” ซึ่งเป็นหนึ่งในครอบครัวเดนทิสเต้ ในฐานะ Brand Ambassador ของประเทศไทย มาสร้างประสบการณ์สุดพิเศษให้กับแฟนๆ ชาวไทยผ่าน…

18 hours ago

เพอร์เฟค ปิดดีลขายที่ดิน 2 แปลง พร้อมออกหุ้นกู้ 2 ชุด ดอกเบี้ยสูง 7% และ 7.25%

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ปิดดีลขายที่ดิน 2 แปลง รับ 700 ล้านบาท พร้อมออกหุ้นกู้ 2 ชุด ดอกเบี้ยสูง 7% และ 7.25%…

18 hours ago

กทม. x สวทช. สสวท พัฒนาเยาวชน ในโรงเรียนภาษาที่สาม สู่นวัตกรยุค 4.0 ด้วย Digital Innovation Maker space นำร่องพื้นที่กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ชาติ (เนคเทค สวทช.) และ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติ Digital…

18 hours ago

รฟม. เผยครบรอบ 1 ปี นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ผลดีเกินคาด ทำยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT และผู้ใช้บริการอาคารจอดแล้วจรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

นายวิทยา พันธุ์มงคล รักษาการแทน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ รฟม. ได้ดำเนินการตามนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท ซึ่งเป็นหนึ่งนโยบาย Quick Win “คมนาคม…

21 hours ago

เป็นเจ้าของสถานีชาร์จฯ ง่ายนิดเดียว ชมแพคเกจสุดพิเศษจาก กฟผ.ในงาน Bangkok EV Expo 2024 ที่บูท EV3/2

กฟผ. ร่วมออกบูท EGAT EV Business Solutions (บูท EV3/2) ในงาน Bangkok EV Expo 2024 เพื่อส่งต่อความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการพัฒนาและการบริหารจัดการเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า…

21 hours ago