กระแสในโลกธุรกิจทุกวันนี้ ต่างพูดถึงการปรับตัวและความยืดหยุ่นในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่างมาก ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนได้เสมอ แต่การจะปรับระบบ IT ใน องค์กรนั้น เป็นเรื่องที่ท้าทาย และถือเป็นเรื่องที่สําคัญเพราะต้องพิจารณาตั้งแต่เรื่องโครงสร้างของระบบไปจนถึง การใช้งานของผู้ใช้งาน
–SCB 10X ประกาศร่วมลงทุนใน Darwinbox ดันสู่ยูนิคอร์นรายล่าสุด
–สยามคูโบต้า เปิดกลยุทธ์ปี 2565 เน้นพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิด ESG
คําว่า “คลาวด์เฟิร์ส” ดูจะเริ่มคุ้นเคยกันมากขึ้น แต่การจะนําระบบต่างๆ ย้าย ขึ้นไปอยู่บนระบบคลาวด์ จะต้องทํา อะไรบ้าง เทคโนโลยีคลาวด์จะช่วยให้การจัดการทรัพยากรดีขึ้น รวมถึงทําให้องค์กรมีศักยภาพในการยืดหยุ่นได้ดี ขึ้นจริงหรือไม่ มาดูเบื้องลึกขององค์กรใหญ่อย่าง “เอสซีจี ดีสทริบิวชั่น” ธุรกิจด้านการจัดจําหน่ายในเครือเอสซีจี ที่ได้ปรับระบบในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาว่าจะประสบความสําเร็จและต้องผ่านอุปสรรค อย่างไรบ้าง ?
ความท้าทายของก้าวแรกในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เครือเอสซีจี เริ่มธุรกิจจัดจําหน่ายโดยก่อตั้งเอสซีจี ดีสทริบิวชั่น ตั้งแต่พ.ศ. 2505 ปัจจุบันให้บริการครอบคลุมถึง การขนส่ง กระจายสินค้า และคลังสินค้า โดยในเดือนกันยายน 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนโควิด-19 เพียงไม่กี่เดือน เอสซีจี ดีสทริบิวชั่นได้เริ่มอัปเกรดระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กร (ระบบ ERP Enterprise Resource Planning) ซึ่งปัจจุบันเลือกใช้ระบบ SAP โดยตัดสินใจพัฒนาระบบใน SAP เวอร์ชันใหม่ นั้นคือ SAP S/4 HANA ที่สามารถรองรับกระบวนการทํางานที่ซับซ้อน สามารถจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้ดีขึ้น โดยใช้เวลา 11 เดือนในการพัฒนาและย้ายระบบ SAP ไปบนคลาวด์ ถือเป็นกิจการด้านการจัดจําหน่ายแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดการย้ายระบบ SAP ที่ใหญ่และซับซ้อนในลักษณะนี้ไปบนกูเกิลคลาวด์ได้สําเร็จ
วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ของการก้าวสู่ระบบคลาวด์
เอสซีจีประกอบด้วยธุรกิจ 3 ธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ธุรกิจเคมีภัณฑ์ และธุรกิจแพคเกจจิ้ง โดยเอสซีจี ดีสทริบิวชั่นอยู่ภายใต้ธุรกิจกลุ่มแรก ทําหน้าที่ขับเคลื่อนการจัดจําหน่ายและค้าปลีก ซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง การอัปเกรดระบบจาก SAP ERP เดิมของเอสซีจี ดีสทริบิวชั่นมาพัฒนาบนระบบ SAP S/4 HANA ใหม่ของเอสซีจี ดีสทริบิวชั่น เป็นเรื่องที่มีความท้าทายอย่างมาก ซึ่งการออกแบบและนํา SAP S/4 HANA เข้ามาใช้นั้น ยังเกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงระบบงานของอีก 17 บริษัทย่อยภายในกลุ่มธุรกิจเอสซีจี เองที่เป็นบริษัทผู้ผลิตและขนส่งสินค้าซึ่งทํางานอยู่บนระบบ SAP ที่ต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีระบบงานต่างๆที่ นอกเหนือจากระบบงาน SAP อีก รวมทั้งสิ้น 47 ระบบงานที่จะต้องทํางานเชื่อมโยงกับระบบงาน SAP S/4 HANA ใหม่ของเอสซีจี ดีสทริบิวชั่นให้ได้สําเร็จ ซึ่งนับว่ามีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก
แองเจิล ลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไอทีวัน (Angel Lim, IT One CEO) เผยและเสริมว่า “นอกจากนี้ ยังมีโครงการอื่นๆ อีก 11 โครงการที่จําเป็นต้องดําเนินไปพร้อมกันกับการพัฒนาบนระบบ SAP S/4 HANA ใหม่ของเอสซีจี ดีสทริบิวชั่น และยังจะต้องทํางานเชื่อมโยงกับระบบงาน SAP S/4 HANA ใหม่ของเอสซีจี ดีสทริบิวชั่นให้ได้อีกด้วย ซึ่งจําเป็นต้องมีการวางแผนงานให้สามารถทํางานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเอสซีจี ดีสทริ บิวชั่น เอง เป็นผู้จําหน่ายและกระจายสินค้าและบริการใน 2 ช่องทางด้วยกัน ได้แก่ การขายและกระจายสินค้า ผ่านตัวแทนจําหน่ายที่ได้รับอนุญาต และการขายปลีกให้กับผู้บริโภคปลายทาง จึงจําเป็นต้องคํานึงถึงระบบงาน ที่รองรับช่องทางการทําธุรกรรมการขายเหล่านี้อีกด้วย”
การคัดเลือกพันธมิตรที่ดีที่สุด
การปรับระบบและโยกย้ายระบบที่มีขนาดใหญ่ จําเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่ายทั้งภายในและ ภายนอกองค์กร ซึ่งเอสซีจีฯ ได้เลือกบริษัท ไอทีวัน จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านไอทีโซลูชัน ที่เกิดจาก การร่วมทุนระหว่างเอสซีจีและเอคเซนเชอร์ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นนําระดับโลกเข้ามาสนับสนุน โดยไอทีวัน ทํา หน้าที่วิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนาและโยกย้ายระบบที่ซับซ้อนนี้ให้กับเอสซีจี ดีสทริบิวชั่น โดยได้วิเคราะห์ ผลกระทบและออกแบบการเชื่อมโยงกับระบบงาน SAP ที่มีอยู่เดิมของกลุ่มธุรกิจต่างๆ มีการพัฒนาและ ทดสอบระบบร่วมกับผู้ใช้งาน วางแผนการติดตั้งและการนําระบบไปใช้งานจริง (deployment)
แพลตฟอร์มที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการ
ในการพิจารณาว่าจะนํา SAP S/4 HANA ไปไว้บนแพลตฟอร์มใดนั้น เอสซีจี ดีสทริบิวชั่นได้เลือกใช้กูเกิลคลาวด์ จากความมั่นใจในเสถียรภาพ ความยืดหยุ่นและระบบรักษาความปลอดภัยในเชิงลึก รวมถึงการได้รับบริการ สนับสนุนที่ดีจากกูเกิล
ดังนั้นจึงเกิดการทํางานร่วมกันระหว่าง เอสซีจี ดีสทริบิวชั่น กูเกิล เอคเซนเชอร์และไอทีวัน ในการวางรากฐาน โครงสร้างของระบบคลาวด์ การกําหนดค่าของเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยของระบบ ซึ่งการที่กูเกิล คลาวด์เป็นระบบโอเพนซอร์ซจึงเปิดโอกาสให้สามารถปรับปรุงหรือต่อยอดได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งระบบมีความ ปลอดภัยสูงขึ้นในขณะที่ต้นทุนค่าใช้จ่ายลดลง
ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาระบบ คณะทํางานต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 การตัดสินใจใช้ เทคโนโลยีคลาวด์จึงนับว่าเอื้อต่อการทํางานในสถานการณ์เช่นนั้นอย่างลงตัว สนับสนุนให้ทีมพัฒนาสามารถ ทํางานได้จากทุกสถานที่ นอกจากนี้ ทีมพัฒนาสามารถลดความซับซ้อนของการออกแบบการเชื่อมต่อระบบงาน ให้ง่ายขึ้น สามารถทํางานเชื่อมต่อกันได้อย่างราบรื่น ส่งผลให้การเชื่อมต่อกับระบบงานย่อย 47 ระบบประสบ ผลสําเร็จ โดยใช้เวลาในการหยุดระบบเพื่อย้ายระบบไปยังคลาวด์และสามารถกลับมาใช้งานได้ภายใน 12 ชั่วโมง ซึ่งลดลงจากปกติที่ต้องใช้เวลามากถึง 24 ชั่วโมง สําหรับการย้ายระบบที่มีความซับซ้อนเช่นนี้
พร้อมแล้วสําหรับก้าวต่อไป
โครงการนี้ใช้เวลาเพียง 11 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 ถึงสิงหาคม 2563 โดยได้รับผลตอบรับจาก ลูกค้าของเอสซีจี ดีสทริบิวชั่น ทั้งในเครือและนอกเครือกลุ่มเอสซีจีเป็นอย่างดี “ผลที่เห็นได้ชัดหลังจากนําระบบ SAP S/4 HANA มาใช้ คือ มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ต้นทุนลดลง และให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น” แองเจิล เผย
“หากจะถามว่า ทําไมต้องคลาวด์ คิดว่าเส้นทางแห่งงานที่เป็นความท้าทายในครั้งนี้ เป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งที่แสดง ให้เห็นว่า การใช้คลาวด์วางแผน ทดสอบ โยกย้าย ปรับหรือลดขนาดแอปพลิเคชัน ไปจนถึงช่วยให้การทํางานของ ทีมงานมีความยืดหยุ่นในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ช่วยให้งานสามารถดําเนินไปตามแผนงานที่ วางไว้ได้ ที่สําคัญคือ ช่วยให้การบริการลูกค้า เปิดโอกาสการต่อยอดเป็นนวัตกรรมและธุรกิจรูปแบบใหม่ได้อีก ที่สุดแล้วคือ จะช่วยตอบสนองได้ทันต่อความต้องการของธุรกิจในอนาคต การที่บริษัทไอทีวันและเอคเซนเชอร์ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่นํามาซึ่งความสําเร็จที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง” แองเจิล กล่าวในตอนท้าย