“กรุงเทพฯ ชีวิตดี ๆ ที่ลงตัว” ข้อความที่ถูกพูดถึงในหลากหลายเวทีเพื่อแสดงถึงความสะดวกสบายและชีวิตความเป็นอยู่ของคนในเมืองหลวง โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่กำลังจะมีการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ หลังจากห่างหายมาถึง 9 ปี ซึ่งหลายคนก็ตั้งคำถามในทิศทางเดียวกันว่าผู้สมัครคนไหนที่จะมาทำให้คำว่า “ชีวิตดี ๆ ที่ลงตัว” เป็นจริงได้ และนโยบายหาเสียงแบบไหนที่ควรให้ความสำคัญในยุคปัจจุบันที่บริบทเมืองมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
เมื่อส่องแว่นขยายในหลาย เมืองทั่วโลกที่มีการเลือกตั้ง เรามักจะเห็นนโยบายที่น่าสนใจที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และการสร้างเมืองให้น่าอยู่ แต่เรื่องหนึ่งที่เป็นที่น่าจับตาอย่างมากก็คือ “การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี” เข้ามาใช้เพื่อยกระดับเมืองสู่ความเป็นเมืองที่ชาญฉลาด และรองรับการแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้คลี่คลายได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เพื่อฉายภาพให้ทุกคนตระหนักและเห็นถึงนโยบายด้านนวัตกรรมว่าทำไมถึงมีความสำคัญกับบริบทของผู้นำและความน่าอยู่ของเมือง “ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA มีคำตอบของนโยบายดังกล่าวมาตอกย้ำให้คนเมืองได้ตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรม พร้อมผลักดันให้เกิดผู้นำด้านดังกล่าวให้มากขึ้นในประเทศไทย
–ผู้กำกับสารคดีชาวญี่ปุ่นเผยเบื้องหลังความสำเร็จของ หัวเว่ย ประเทศไทย
–ทายาทลัมโบร์กีนีรุ่นที่ 3 เตรียมรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า Iso UNO-X สัญชาติอิตาลี บุกตลาดเอเชีย
ดร.พันธุ์อาจ เผยว่า กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่เติบโตขึ้นทุกปี การขยายตัวของเมืองถือเป็นเรื่องสำคัญและเกี่ยวพันกับนโยบายการส่งเสริมหรือสร้างพื้นที่ให้เอื้อต่อการทำนวัตกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะประเด็นดังกล่าวถือเป็นสมการสำคัญที่จะรองรับวิถีชีวิตและการเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองหลวงและประเทศ อีกทั้งยังเป็นดัชนีชี้วัดความสามารถที่ไม่ว่าจะเป็นผู้นำ หรือผู้ที่มีความสามารถต้องร่วมกันผลักดันอย่างจริงจัง
การเกิดขึ้น มีอยู่ และเจริญเติบโตทางนวัตกรรมนั้น สิ่งสำคัญสำหรับความเป็นเมืองก็คือ จะต้องมีองค์ประกอบที่เอื้อต่อการทำนวัตกรรม ซึ่งหลายเมืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Smart City หรือ Innovation City เช่น เซินเจิ้น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ รวมทั้งเมือง ในยุโรป ล้วนมีความสามารถในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานภายในเมือง แล้วก็มีเทศบัญญัติ ที่เอื้อต่อความเป็นอยู่ของนวัตกร อีกทั้งยังมีภาพลักษณ์ของเทศบาลเมืองที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเมืองด้วยนวัตกรรม ซึ่งเมื่อเมืองเหล่านี้ถูกพูดถึงก็จะมีภาพจำที่ชัด เช่น ความเป็นเมืองสีเขียว เมืองเทคโนโลยีสะอาด เมืองศูนย์กลางค้าปลีก ฯลฯ จนกระทั่งกลายเป็นแบรนด์ของเมืองในที่สุด
สำหรับการสร้างแบรนด์กรุงเทพมหานคร ควรสร้างภาพจำให้มีมากกว่าการเป็นเมืองต้อนรับนักท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว สิ่งที่จะต้องผลักดันอย่างเข้มข้นคือ “ธุรกิจนวัตกรรม” ทั้งที่เป็นของคนไทยและนานาชาติว่าจะเกิดขึ้นบนพื้นที่แห่งนี้ได้อย่างไร เช่น การอยู่อาศัยของนวัตกร สตาร์ทอัพ หรือเจ้าของบริษัทที่จะลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ กฎระเบียบ การวางแผนและออกแบบพื้นที่บนหลักการของการพัฒนาเมืองที่ดึงดูดกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังต้องทำให้เห็นภาพการเชื่อมโยงไปสู่เมืองอื่น เพื่อลดการกระจุกตัวของความเจริญและโอกาสใหม่ในการใช้ทรัพยากรที่แต่ละพื้นที่มีอยู่ โดย NIA เชื่อว่าผู้นำหลายคนมีนโยบายและความคิดในเรื่องเหล่านี้ และหลังจากนึ้จะได้เห็นการปลดล็อกบางสิ่งบางอย่าง โดยเฉพาะโครงสร้างระบบการบริหารส่วนท้องถิ่นเพื่อให้เอื้อต่อการสร้างเมืองนวัตกรรมได้มากขึ้น
เมื่อวัดกันที่ระดับความสามารถทางนวัตกรรมจาก 1,000 เมืองทั่วโลก กรุงเทพมหานครอยู่ในอันดับที่ 71 ของเมืองที่เอื้อต่อการทำสตาร์ทอัพ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการมีอยู่ของโครงสร้างพื้นฐาน บริบทเมือง ฯลฯ ที่ไม่น้อยหน้าเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือแม้แต่ในระดับทวีปอย่างเอเชีย และเมื่อมองถึงตัวชี้วัดจากการจัดอันดับยังพบอีกว่า กรุงเทพมหานครยังมีความโดดเด่นในเรื่องของอีคอมเมิร์ซและเทคโนโลยีการค้าปลีก ซึ่งได้อันดับที่ 33 ของโลก มีความเพียบพร้อมด้วยปัจจัยเชิงปริมาณ เช่น โค-เวิร์คกิ้ง สเปซ สิ่งอำนวยความสะดวก จำนวนบริษัท/สาขาของบริษัทที่ดำเนินงานด้านการวิจัยและเทคโนโลยี ความสะดวกและความเร็วอินเทอร์เน็ต แต่อย่างไรก็ตาม ภาพจำของสตาร์ทอัพไทยในกรุงเทพฯ อาจไม่ได้เหมือนกับจาการ์ตา อินโดนีเซียที่มียูนิคอร์นเกิดขึ้นมากมาย หรือสิงคโปร์ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของสตาร์ทอัพทางด้านการเงิน แต่ไทยมีความโดดเด่นจากความหลากหลาย และสามารถนำความหลากหลายนี้เข้าไปเชื่อมต่อกับปัญหาของไลฟ์สไตล์คนเมืองกรุงได้ โดยความหลากหลายเหล่านี้ ยังสร้างความน่าสนใจให้กับภาคการลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนกับสตาร์ทอัพประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะสายเทคโนโลยีเชิงลึก (DeepTech) ที่รัฐบาลรวมถึง NIA กำลังส่งเสริมอย่างจริงจัง
โอกาสอีกด้านหนึ่งของกรุงเทพมหานครคือมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางทางด้านนวัตกรรมการเงิน ซึ่งในอาเซียนเป็นรองแค่เมืองสิงคโปร์ และกัวลาลัมเปอร์เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามการจะขับเคลื่อนให้กรุงเทพฯ ไปถึงเป้าหมายนี้ได้ สิ่งสำคัญคือต้องมีสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ดี มีโอกาสสำหรับคนที่มีความสามารถ หรือทำในเรื่องนี้อยู่ก่อนแล้ว และยังต้องพยายามส่งเสริมองค์ความรู้ โอกาสการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ หรือเชื่อมโยงกับธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะในส่วนขององค์ความรู้นั้นในกรุงเทพฯ มีสถาบันการศึกษาอยู่มากมายที่สามารถเป็นแหล่งอัพสกิล – รีสกิล องค์ความรู้นวัตกรรมทางด้านบริการการเงิน พร้อมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ทั้งในแง่การเพิ่มรายได้ การทำให้เกิดความคุ้นชินกับนวัตกรรม โดยเมื่อสร้างสิ่งเหล่านี้ได้จะทำให้เกิดข้อได้เปรียบทั้งในเชิงการดึงดูดเม็ดเงินจากภายในและต่างประเทศ และโอกาสอื่นที่จะตามมาอย่างมีนัยสำคัญ
อย่างไรก็ตาม จากภาพความเป็นเมืองที่เอื้อต่อการทำนวัตกรรมการเงิน ได้ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจร่วมลงทุนระดับโลกตัดสินใจเลือกที่จะลงทุนในกรุงเทพฯ ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทดังกล่าวมีตัวเลือกระหว่างสิงคโปร์ และจาการ์ตาสำหรับการลงทุน จากกรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ภาพของกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่อยู่สบาย มีความพร้อมรองรับการลงทุนได้ ซึ่งส่วนที่ดีเหล่านี้ต้องพยายามดึงออกมาให้คนเห็นมากขึ้น
จุดแข็งของกรุงเทพฯ อีกด้านหนึ่งก็คือ การเป็นฮับในการขนส่งทางอากาศของโลก ซึ่งในอาเซียนมีเพียงสิงคโปร์ และกรุงเทพฯ เท่านั้น ทำให้คนที่อยากไปมาในย่านนี้มีความสะดวกสบาย สามารถเดินทางไปในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ง่ายขึ้น หลังจากนี้ หากสถานการณ์โควิด – 19 คลี่คลายลง เชื่อว่าการท่องเที่ยวจะกลับมาเหมือนเดิม และสิ่งสำคัญที่กรุงเทพฯ ต้องเตรียมตัวคือ โซลูชันในการรองรับนักเดินทาง สร้างความสะดวกให้กับกลุ่มนักธุรกิจ มีความสามารถรองรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากด้านการบิน พร้อมด้วยการทำให้เห็นถึงสิ่งที่เอื้อต่อการเมืองแห่ง Global Citizen ที่จะดึงดูดคนทั่วโลกที่เป็นนวัตกรให้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่แห่งนี้ เพื่อทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ
หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งที่คนเข้ามาในกรุงเทพฯ ล้วนมองหาคือ ความโดดเด่นของแต่ละพื้นที่ รวมถึงประโยชน์ที่จะได้จากพื้นที่เหล่านั้น และเมื่อมองถึงโอกาสทางด้านนวัตกรรมในเขตกรุงเทพฯ ก็หนีไม่พ้น “ย่านนวัตกรรม” ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีทั้งที่เป็นย่านการแพทย์ ย่านด้านดิจิทัล ย่านท่องเที่ยว ย่านด้านโลจิสติกส์ ฯลฯ ที่เป็นแหล่งบ่มเพาะนวัตกร ผู้ประกอบธุรกิจนวัตกรรม และเป็นคันเร่งการสร้างมูลค่าในเชิงพาณิชย์ จากความมุ่งมั่นในการพัฒนาย่านนวัตกรรมยังได้ทำให้เกิดมาตรการด้านสิทธิประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากมาย และกรุงเทพมหานคร ก็ถือเป็นส่วนสำคัญที่ได้ร่วมผลักดันให้ย่านต่าง ๆ เกิดขึ้น โดย NIA เชื่อว่ากรุงเทพมหานคร จะยังคงเป็นหนึ่งในกำลังหลักที่ช่วยสานต่อให้มีพื้นที่ที่เอื้อต่อการยกระดับเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอนาคต
“การที่จะก้าวเข้าสู่การเป็นเมืองนวัตกรรมที่สามารถดึงดูดนักลงทุนและนวัตกรจากต่างประเทศได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยมากมาย ทั้งความร่วมมือจากองค์กร องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ความสามารถในการจัดการ สถาบันการศึกษา การวิจัย และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และสิ่งสำคัญ คนในเมืองต้องหันมาสนใจและมองนวัตกรรมให้เป็นเรื่องใกล้ตัว และนำมาปรับใช้กับการทำงานและการทำธุรกิจต่อไป โดยหวังว่าการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ จะทำให้กรุงเทพมหานครเฉิดฉายด้านการเป็นเมืองนวัตกรรมมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ ” ดร.พันธุ์อาจ กล่าวทิ้งท้าย
เซ็นทรัลพัฒนา รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2567 ทำรายได้รวม 12,284 ล้านบาท กำไรสุทธิ 4,126 ล้านบาท ผนึก 'ฮิลตัน' เปิดตัวโรงแรมใหม่ "ฮิลตัน…
นายธีรยุทธ ศักดิ์วิลาสตระกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มทรัพยากรบุคคล รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานทรัพยากรบุคคลบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เข้ารับมอบใบรับรอง CAC Certified จาก นายทศพร รัตนมาศทิพย์ กรรมการ CAC ในงาน CAC Certification Ceremony ครั้งที่ 2/2024 ภายใต้แนวคิด…
ไปรษณีย์ไทย เดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจอีคอมเมิร์ซและการค้าระหว่างประเทศจากไทยสู่เวียดนาม โดยมุ่งใช้ 3 เส้นทางการขนส่งที่สำคัญ ได้แก่ เส้นทางอากาศ เส้นทางภาคพื้น และทางราง พร้อมจับมือการไปรษณีย์เวียดนามพัฒนาบริการไปรษณีย์ภายใต้กรอบความร่วมมือของการไปรษณีย์อาเซียน (ASEANPOST) เดินหน้ายกระดับอีคอมเมิร์ซของทั้ง 2 ประเทศ เตรียมนำสินค้าเมดอินไทยแลนด์และเวียดนาม…
งานวิจัยล่าสุดจากแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการท่องเที่ยวอโกด้าเผยว่า กฎหมายสมรสเท่าเทียมของไทยจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น 4 ล้านคนต่อปี และสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเกือบ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ภายใน 2 ปีหลังจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ งานวิจัยเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจจากกฎหมายสมรสเท่าเทียมต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งจัดทำโดยอโกด้าร่วมกับบริษัท Access Partnership ได้ประเมินถึงโอกาสทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยจะได้รับจากการบังคับใช้กฎหมายสมรสเพศเดียวกันในวันที่ 22 มกราคม 2568 โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับรองกฎหมายนี้ และเป็นประเทศที่สามในเอเชีย รองจากไต้หวันในปี 2562 และเนปาลเมื่อปีที่แล้ว กฎหมายดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้ประเทศไทยดึงดูดนักท่องเที่ยว LGBTQIA+ ทั่วโลก ซึ่งมีมูลค่ากว่า 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี รายงานยังได้คาดการณ์ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะแพร่กระจายไปสู่เศรษฐกิจไทยในวงกว้างจากการบังคับใช้กฎหมายนี้ โดยคาดว่าใน 2 ปี จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น 4 ล้านคนต่อปี ซึ่งจะสร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างมากดังนี้ เพิ่มรายรับจากการท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยกระจายไปยังหลายภาคส่วน…
บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนระดับสูงสุดในอุตสาหกรรม Oil & Gas Refinery and Marketing จากการประเมินของ S&P Global…
• ราคาจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ ‘ฮอนด้า เอชอาร์-วี อี:เอชอีวี ใหม่’ มาพร้อมราคาแนะนำช่วงเปิดตัว 899,000 บาท* ในรุ่น e:HEV E จำนวนจำกัด เพื่อให้เป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น โดยมาพร้อมข้อเสนอรับฟรีประกันภัย…