บริษัท แคนนอน ยู.เอส.เอ อิงค์ ประกาศให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่โครงการดราก้อนฟลาย ทีมวิจัยนานาชาติจากมหาวิทยาลัยเยลและมหาวิทยาลัยโตรอนโต ในแผนการที่จะขยายกล้องดราก้อนฟลายเทเลโฟโต้อาเรย์ (Dragonfly Telephoto Array) โดยบริษัทจะสนับสนุนเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ Canon EF 400mm f/2.8L IS II USM ที่มีช่องรับแสงขนาดใหญ่ ทางยาวโฟกัสเดียว จำนวน 120 ตัว ให้กับโครงการ และบริษัท แคนนอน อิงค์ บริษัทแม่ของบริษัท แคนนอน ยู.เอส.เอ อิงค์ จะให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค
กล้องดราก้อนฟลายเทเลโฟโต้อาเรย์ (Dragonfly Telephoto Array) เป็นกล้องโทรทรรศน์อาเรย์ที่ใช้เลนส์ซูปเปอร์เทเลโฟโต้ที่มีรูรับแสงขนาดใหญ่และมีเลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยวของแคนนอน โดยเฉพาะเลนส์ Canon EF 400mm f/2.8L IS II USM หลายตัวเข้าด้วยกัน กล้องโทรทรรศน์อาเรย์ถูกออกแบบขึ้นในปี 2013 โดยโครงการดราก้อนฟลายทีมวิจัยนานาชาติของมหาวิทยาลัยเยลและมหาวิทยาลัยโตรอนโต โดยกล้องโทรทรรศน์ดราก้อนฟลายสามารถจับภาพกาแล็กซีที่มืดสลัวและมีการกระจายตัวขนาดใหญ่มากซึ่งยากที่จะตรวจจับได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ธรรมดาที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งภารกิจของมันคือการศึกษาจักรวาลที่มีความสว่างของพื้นผิวต่ำ เพื่ออธิบายธรรมชาติของสสารที่มีความมืดสลัวและใช้ประโยชน์จากแนวคิดของกล้องโทรทรรศน์แบบกระจาย (distributed telescopes)
เพื่อสนับสนุนการวิจัยนี้ แคนนอนได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคด้วยการสนับสนุนเลนส์ Canon EF 400mm f/2.8L IS II USM จำนวน 40 ตัว ในปี 2015 ขยายอาเรย์เป็น 48 เลนส์ ด้วยกล้องโทรทรรศน์ 24 ตัวที่มาพร้อมเม้าท์ 2 ตัวแยกออกจากกัน ตั้งแต่นั้นมาทีมวิจัยได้ผลลัพธ์และการค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับดาราศาสตร์นอกกาแล็กซีรวมไปถึงการค้นพบ Dragonfly 44 กาแล็กซีกลุ่มกระจัดกระจายมาก (Ultra-Diffuse Galaxy) ในปี 2016 และ การระบุกาแล็กซีที่ไร้สสารมืด (dark matter) หรือ NGC 1052-DF2 ในปี 2018 ซึ่งในครั้งนี้ แคนนอนให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคด้วยการสนับสนุน เลนส์ Canon EF 400mm f/2.8L IS II USM จำนวน 120 ตัว ให้กับทีมวิจัย ซึ่งจะทำให้สามารถขยายอาเรย์ของกล้องโทรทรรศน์ต่อไปได้อีกหลายเท่า ด้วยเลนส์ทั้งหมด 168 ตัว อาเรย์ของกล้องโทรทรรศน์จะมีความสามารถในการรวบรวมแสงเทียบเท่ากล้องโทรทรรศน์หักเหแสงที่ทั่วไปมีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 1.8 เมตร ที่มีความยาวโฟกัสเพียง 40 ซม. และคาดว่าสิ่งนี้จะเป็นการเปิดหน้าต่างใหม่ของจักรวาลได้
ศาสตราจารย์ ปีเตอร์ ฟาน ด็อกคุม จากมหาวิทยัลเยล ให้ความเห็นว่า กล้องดราก้อนฟลายเทเลโฟโต้อาเรย์ (Dragonfly Telephoto Array) นี้ ถือได้ว่าเป็นกล้องโทรทรรศน์สำรวจชั้นนำที่ใช้ในการค้นหาและสำรวจวัตถุที่มืดสลัว และกระจายอยู่ในท้องฟ้ายามค่ำคืน ซึ่งช่วยทำให้เราค้นพบกาแล็กซีกลุ่มกระจัดกระจายมาก (Ultra-Diffuse Galaxy) และ ปรากฏการณ์ที่มีความสว่างบนพื้นผิวต่ำอื่นๆ ได้ โดยการแสดงผลภาพของกล้อง ทำให้เราเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงการก่อตัวของกาแล็กซี รวมไปถึงการให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับธรรมชาติของสสารมืด
ในเริ่มแรกของโครงการกล้องดราก้อนฟลายเทเลโฟโต้อาเรย์มีตัวเลนส์ แคนนอน 400 มม. จำนวน 48 ตัว ซึ่งมีการเคลือบป้องกันแสงสะท้อนช่วยลดผลกระทบของการกระเจิงของแสงได้ ทำให้สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดของกล้องโทรทรรศน์ทั่วไปในการตรวจจับโครงสร้างที่เลือนลาง ตัวเลนส์ทั้งหมดถูกประกอบเข้ากับเครื่องตรวจจับระยะกว้างที่มีขนาดใหญ่ที่ควบคุมข้อผิดพลาดได้อย่างดีเยี่ยม และด้วยการเพิ่มเลนส์เหล่านี้เข้าไปอีก 120 ตัว ในการกำหนดค่าที่พัฒนาขึ้นใหม่ทำให้สามารถใช้ฟิลเตอร์ที่มีระยะแคบได้ จะทำให้ดราก้อนฟลายเป็นเครื่องมือที่สร้าง wide-field spectroscopic line mapping ที่ทรงพลังที่สุดที่เคยมีมา
เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาดราก้อนฟลายอาเรย์ครั้งนี้คือการตรวจจับและศึกษาก๊าซจางๆ ที่คิดว่าน่าจะมีอยู่รอบๆ และระหว่างกาแล็กซีซึ่งการเปิดหน้าต่างใหม่นี้บนจักรวาล ดราก้อนฟลายจะตอบคำถามที่สำคัญที่สุดบางข้อฟิสิกส์ดาราศาสตร์ในปัจจุบันได้