ซิสโก้ เผยแพร่รายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับผลลัพธ์ด้านการรักษาความปลอดภัย ฉบับที่ 2 (Security Outcomes Study Volume 2) ซึ่งระบุว่า บริษัทต่างๆ ในไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีและโซลูชันรุ่นใหม่ใน “โครงสร้างพื้นฐานของไซเบอร์ซีเคียวริตี้” โดยผลการศึกษาเผยว่า 52 เปอร์เซ็นต์ของเทคโนโลยีไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ใช้งานอยู่ในบริษัทต่างๆ ของไทยจัดว่าล้าสมัย ตามความเห็นของบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัย ที่ทำงานอยู่ในองค์กรเหล่านั้น
รายงานดังกล่าวอ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวกว่า 5,100 คนใน 27 ประเทศทั่วโลก รวมถึงบุคลากรกว่า 2,000 คนใน 13 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ผลการศึกษานี้มุ่งที่จะค้นหาแนวทางและมาตรการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการปกป้ององค์กรให้ปลอดภัยจากสถานการณ์ภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ผู้ตอบแบบสอบถาม รวมถึงบุคลากรจากบริษัทต่างๆ ในประเทศไทย ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางของตนเองสำหรับการอัพเดต และบูรณาการสถาปัตยกรรมด้านการรักษาความปลอดภัย การตรวจจับ การตอบสนองต่อภัยคุกคาม และการกู้คืนระบบในกรณีที่เกิดปัญหา
–เปิด 10 เทคโนโลยี GIS มาแรงปี 2565 “กุญแจ” สู่การบริหารจัดการองค์กร
–เอไอเอส ประกาศ 5G ครอบคลุมสูงสุด พร้อมเปิดตัวโครงข่ายไฟเบอร์อัจฉริยะ รับมือความท้าทายปี 65
นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยระบุว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันขาดความน่าเชื่อถือ (43 เปอร์เซ็นต์) และมีความซับซ้อน (28 เปอร์เซ็นต์)
แต่ข่าวดีก็คือ บริษัทต่างๆ ในไทยมีแผนที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการลงทุนในเทคโนโลยีไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ทันสมัย รวมไปถึงแนวทางใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบรักษาความปลอดภัยขององค์กร ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามในไทยกว่า 9 ใน 10 คน (93 เปอร์เซ็นต์) เปิดเผยว่า บริษัทของตนมีแผนที่จะลงทุนในแนวทาง ‘Zero Trust’ โดย 57 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า องค์กรของตนมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องในการปรับใช้แนวทางดังกล่าว ขณะที่ 36 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า องค์กรของตนได้ปรับใช้แนวทางนี้อย่างกว้างขวาง นอกจากนั้น ผู้ตอบแบบสอบถาม 93 เปอร์เซ็นต์เปิดเผยว่า บริษัทของตนมีแผนที่จะลงทุนในสถาปัตยกรรม Secure Access Service Edge (SASE) โดย 55 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า มีความคืบหน้าที่ดีในการปรับใช้สถาปัตยกรรมที่ว่านี้ ขณะที่ 38 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า มีการใช้งานสถาปัตยกรรมดังกล่าวในระดับที่พัฒนาอย่างเต็มที่แล้ว
เทคโนโลยีทั้งสองส่วนนี้ถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งสำหรับองค์กรธุรกิจในโลกยุคใหม่ที่มุ่งเน้นการใช้ระบบคลาวด์และแอปพลิเคชันเป็นหลัก ทุกวันนี้องค์กรต่างๆ ต้องเผชิญกับปัญหาท้าทายมากมายในการดำเนินงานในสภาพแวดล้อมดังกล่าว เช่น ความยุ่งยากซับซ้อนในการเชื่อมต่อผู้ใช้เข้ากับแอปพลิเคชันและข้อมูลบนแพลตฟอร์มคลาวด์ที่หลากหลาย นโยบายด้านความปลอดภัยที่ไม่สอดคล้องกันบนตำแหน่งที่ตั้งและเครือข่ายที่แตกต่างกัน ความยากลำบากในการตรวจสอบอัตลักษณ์ของผู้ใช้งานและอุปกรณ์ การที่องค์กรไม่สามารถตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานด้านการรักษาความปลอดภัยได้อย่างทั่วถึง เป็นต้น
สถาปัตยกรรม SASE ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาท้าทายเหล่านี้ เพราะ SASE ผสานรวมฟังก์ชันการทำงานของระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยเข้าไว้ในแพลตฟอร์มคลาวด์ เพื่อรองรับการเข้าถึงแอปพลิเคชันอย่างปลอดภัย ไม่ว่าผู้ใช้จะทำงานอยู่ที่ใดก็ตาม ขณะเดียวกัน แนวทาง Zero-Trust เป็นแนวคิดที่เรียบง่ายซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบอัตลักษณ์ของผู้ใช้งานและอุปกรณ์ทั้งหมดในทุกๆ ครั้งที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายขององค์กร เพื่อลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
สถาปัตยกรรมด้านการรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์มีคุณประโยชน์อย่างมาก โดยจากผลการสำรวจพบว่า องค์กรที่มีการใช้งานสถาปัตยกรรม Zero Trust หรือ SASE ในระดับที่พัฒนาอย่างเต็มที่แล้ว มีแนวโน้มที่มีการดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งมากกว่า 35% เมื่อเทียบกับองค์กรที่เพิ่งปรับใช้สถาปัตยกรรมดังกล่าวในระดับเริ่มต้น
เคอร์รี่ ซิงเกิลตัน กรรมการผู้จัดการฝ่ายไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของซิสโก้ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ญี่ปุ่น และจีน กล่าวว่า “องค์กรธุรกิจทั่วโลก รวมถึง ‘ประเทศไทย’ ได้เจอกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรูปแบบการดำเนินงาน ที่เป็นผลมาจากการแพร่ระบาด ขณะที่องค์กรเหล่านี้ต้องวุ่นวายกับความเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน เช่น การที่พนักงานจำนวนมากจำเป็นต้องทำงานจากที่บ้าน การติดต่อสื่อสารและการทำธุรกรรมที่ใช้ช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องสามารถเชื่อมต่อผู้ใช้เข้ากับแอปพลิเคชันและข้อมูลที่ต้องใช้งานได้อย่างไร้รอยต่อในทุกสภาพแวดล้อม ไม่ว่าผู้ใช้จะอยู่ที่ใดก็ตาม ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถควบคุมการเข้าถึงและบังคับใช้มาตรการป้องกันด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม โดยครอบคลุมเครือข่าย อุปกรณ์ และสถานที่ตั้งทั้งหมด”
ฮวน ฮวด คู ผู้อำนวยการฝ่ายไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของซิสโก้ ประจำภูมิภาคอาเซียน กล่าวเสริมว่า “สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันถูกขับเคลื่อนด้วยระบบดิจิทัล ดังนั้นบริษัทต่างๆ จึงต้องดำเนินการปรับปรุงไซเบอร์ซีเคียวริตี้อย่างจริงจัง รายงานฉบับล่าสุดของซิสโก้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่ดีเยี่ยมแก่บุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัยในเรื่องที่เกี่ยวกับแนวทางและเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการสร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง ในขณะที่ยังคงให้ประสบการณ์ผู้ใช้ที่ราบรื่น ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรเหล่านี้มีทิศทางการทำงานที่ชัดเจนสำหรับการปกป้ององค์กรธุรกิจและผู้ใช้งานให้ปลอดภัย”
ในยุคที่ผู้บริโภคใส่ใจในแบรนด์ที่สะท้อนรสนิยมและความสนใจของตัวเองมากขึ้น "Lifestyle Brand" หรือ "แบรนด์ไลฟ์สไตล์" จึงกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยสร้างความผูกพันอันแข็งแกร่งกับลูกค้า โดยนำเสนอมากกว่าแค่สินค้าหรือบริการ แต่เป็นการนำเสนอ "วิถีชีวิต" ที่ลูกค้าใฝ่ฝัน จากรายงาน Business of Fashion (BoF)…
AIS จับมือ OPPO เปิดตัว OPPO Find X8 Series สมาร์ทโฟนแฟลกชิป รุ่นล่าสุด ในราคาเริ่มต้นเพียง 18,999 บาท พร้อมมอบข้อเสนอสุดพิเศษให้กับลูกค้า AIS…
ออเนอร์ กรุ๊ป เปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมสุดหรู "Once Wongamat" บนทำเลทองวงศ์อมาตย์ ชูจุดเด่นการออกแบบที่ผสานความหรูหรา และความยั่งยืนเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ กลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ ออเนอร์ กรุ๊ป (Honour Group)…
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มอบประกันอุบัติเหตุจากกรุงไทย แอกซ่า ฟรี 30 ต้อนรับเทศกาลปีใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม - 31 ธันวาคม 2567…
พฤกษา โฮลดิ้ง ไม่หยุดยั้งที่จะสร้างสรรค์สังคมแห่งโอกาสที่เท่าเทียม เดินหน้าสู่ปีที่ 6 ของโครงการ “บ้านใส่ใจเพื่อคนพิการ By PRUKSA” โดยผนึกกำลังร่วมกับ โรงพยาบาลวิมุต และ อินโนโฮม คอนสตรัคชัน ในเครือ…
บาร์บีคิวพลาซ่า จับมือ วิตอะเดย์ สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการน้ำดื่มผสมวิตามิน ส่ง "วิตอะเดย์ กะหล่ำปลี วอเตอร์" รสชาติสุดว้าว พร้อมดึงพี่ GON ร่วมสร้างสีสัน เอาใจสายเฮลท์ตี้ แถมโปรโมชั่นสุดคุ้มชุดประหยัดหมู 2…