เป็นการขยายความร่วมมืออีกครั้งของ AIS กับ “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” โดยในครั้งนี้ร่วมมือกับ กรุงเทพมหานคร ส่งต่อความรู้และสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์แก่บุคลากรทางการศึกษา ทั้งครู และนักเรียนในโรงเรียนสังกัด กทม. ทั้ง 437 แห่ง ที่มีบุคลากรและนักเรียนรวมกันมากกว่า 250,000 คน มุ่งสู่การสร้างพลเมืองดิจิทัลพร้อมยกระดับดัชนีสุขภาวะดิจิทัล (Thailand Cyber Wellness Index) ของกลุ่มนักเรียนในพื้นที่ กทม. ให้อยู่ในระดับที่รู้เท่าทัน สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเหมาะสม
ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครมีนโยบายเรียนดี มีเป้าหมายมุ่งพัฒนาด้านการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัด กทม. ให้สอดรับกับยุคสมัยของโลกดิจิทัล เพราะวันนี้โลกเปลี่ยนไปมาก อาชีพการงานก็เปลี่ยนไปมากเช่นกัน เพราะฉะนั้นการศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลงไปให้ตอบโจทย์เด็กยุคใหม่ ที่ผ่านมา กทม. ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการศึกษาของโรงเรียนในสังกัด นำเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มด้านการเรียนการสอนเข้ามาใช้มากขึ้น ขณะเดียวกันการมีคอนเทนต์ที่ดี จะเป็นตัวช่วยผลักดันให้เด็กเข้าถึงการศึกษาที่ดีได้
การร่วมมือกับ AIS ในครั้งนี้ กทม. จะนำหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ เข้ามาบูรณาการเป็นสื่อการสอนในวิชาวิทยาการคำนวณ สังคม และแนะแนว ให้กับนักเรียนในสังกัดรวม 437 แห่ง ทั้งบุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน ผู้ปกครอง รวมถึงประชาชนโดยรอบในชุมชนมากกว่า 250,000 คน ได้เข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ มีภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ และสามารถใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย
“กทม. ต้องปักธงเป็นที่แรกๆ ในการปฏิรูปการศึกษา เด็กยุคนี้จะต้องเข้าใจด้านดิจิทัลอย่างถูกต้อง ซึ่งการจะไปถึงเป้าหมายได้ เราจะต้องสร้างเครือข่าย นอกจากนี้ยังต้องสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่นอกเหนือจากหลักสูตร ให้แต่ละโรงเรียนนำหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ไปออกแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กในแต่สถาบัน และแน่นอนว่าจะมีการวัดผล ซึ่ง กทม. จะทำงานร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข” ศานนท์ กล่าว
สายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า ที่ผ่านมา AIS ได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ ทั้งกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พัฒนา “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” เพื่อยกระดับการศึกษายุคดิจิทัลในการสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ ล่าสุดได้ร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ส่ง “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” เข้าสถานศึกษากว่า 29,000 โรงเรียนในเครือทั่วประเทศ และยังขยายผลไปสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หรือแม้แต่การส่งต่อไปยังภาคประชาชนผ่านสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) นอกจากนี้ยังได้ทำมาตรวัดทักษะดิจิทัลฉบับแรกของไทย ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล (Thailand Cyber Wellness Index) พบว่า สุขภาวะดิจิทัลโดยรวมคนไทยยังอยู่ในระดับที่ Improvement หรือกลุ่มที่ต้องการการพัฒนาเพิ่ม
ด้าน แพทย์หญิง วิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวเสริมว่า วันนี้โลกออนไลน์เป็นโลกคู่ขนานกับโลกจริงไปแล้ว ปัญหาเด็กติดเกม ติดโซเชียล ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามมาด้วยไซเบอร์บูลลี่ และ ปัญหาที่น่าเป็นห่วงมากขึ้น คือ การนัดเจอคนรู้จักในโลกออนไลน์เพื่อหลอกลวง ซึ่งที่ผ่านมา กรมสุขภาพจิต ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือกับ AIS พัฒนา “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” เพื่อให้คนไทยใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ได้อย่างมีความสุข ปลอดภัย และลดอัตราการเป็นโรคซึมเศร้าจากการถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์
“เด็กสมัยนี้อ่านหนังสือน้อยลงและเรียนรู้จากโลกออนไลน์เป็นหลัก แต่บางครั้งไม่รู้ว่าสิ่งที่เรียนรู้มาจริงหรือไม่ สิ่งสำคัญคือผู้ใหญ่จะต้องเรียนหลักสูตรนี้เพื่อไปสอนเด็กต่อได้ เพราะหากรอให้เด็กพบปัญหาด้วยตนเองก็จะแก้ไขได้ยาก” ดร.ณรงค์ มั่งคั่ง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มจธ. กล่าวเสริม
“เราเห็นความสำคัญของการที่ผู้คนมีสุขภาวะที่ดีจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Wellness) จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่วันนี้เราขยายความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร เพื่อขยายผลส่งต่อหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์สู่เยาวชน บุคลากรทางการศึกษาทั้ง 437 แห่ง มากกว่า 250,000 คน ให้มีภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ สามารถใช้สื่อดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพในโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับดัชนีสุขภาวะดิจิทัลของเด็กไทยและคนไทยให้อยูในระดับที่เพิ่มสูงขึ้นต่อไป” สายชล กล่าวปิดท้าย
หมายเหตุ : “หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” นำเสนอเป็น 4 Professional Skill Module หรือ 4P4ป ที่ครอบคลุมทักษะดิจิทัล ดังนี้
1. Practice: ปลูกฝังให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องและเหมาะสม
2.Personality: แนะนำการปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์
3. Protection: เรียนรู้การป้องกันภัยไซเบอร์บนโลกออนไลน์
4. Participation: รู้จักการปฏิสัมพันธ์ด้วยทักษะและพฤติกรรมการสื่อสารบนออนไลน์อย่างเหมาะสม
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/thailands-cyber-wellness-index
รายงานจากธนาคารกรุงศรีอยุธยาและสำนักเลขาธิการอาเซียนได้เผยแพร่ภาพรวมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2568 (ASEAN Economy 2025) โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้จะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก การเติบโตที่โดดเด่นนี้ได้รับแรงหนุนจากปัจจัยภายในและภูมิภาคที่แข็งแกร่ง ซึ่งช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและรองรับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอาเซียน หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจอาเซียน คือ กำลังซื้อภายในประเทศที่แข็งแกร่ง หลังจากการฟื้นตัวจากสถานการณ์โรคระบาด ตลาดแรงงานในหลายประเทศอาเซียนมีแนวโน้มสดใส…
ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด การสื่อสารไร้พรมแดน และข้อมูลข่าวสารไหลเวียนอย่างรวดเร็ว องค์กรต่างๆ ต้องเผชิญกับความท้าทายในการรับมือกับวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ วิกฤติด้านสาธารณสุข เหตุการณ์ความไม่สงบทางสังคม หรือแม้กระทั่งวิกฤติที่เกิดจากความผิดพลาดขององค์กรเอง การจัดการวิกฤติ (Crisis Management) จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด และในปัจจุบัน ปัญญาประดิษฐ์…
ในโลกยุคดิจิทัลที่การสื่อสารรวดเร็วฉับไว เราต่างพึ่งพาข้อความสั้นๆ อีเมล หรือแชท จนอาจหลงลืมคุณค่าของ "บทสนทนาที่มีความหมาย" หรือ "Deep Talk" ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ ความเข้าใจ และความไว้วางใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกการทำงาน ที่การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จของทีม…
รองนายกฯ ประเสริฐ มอบของขวัญปีใหม่ 2568 ผ่านไปรษณีย์ไทย อัดโปรโมชั่น EMS ราคาพิเศษ เริ่มต้นเพียง 30 บาท หวังลดต้นทุนค่าขนส่ง กระตุ้นเศรษฐกิจช่วงเทศกาล กรุงเทพฯ –…
โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ประกาศก้าวสำคัญบนเส้นทางสู่ความยั่งยืน ด้วยการเสนอขายตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainability-Linked Bond เป็นครั้งแรก มูลค่ารวม 1,000 ล้านบาท ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบการดำเนินงานด้าน ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม…
LINE NEXT Inc. บริษัทร่วมทุนของ LINE ที่มุ่งพัฒนาและขยายระบบนิเวศ Web3 ประกาศความร่วมมือกับสถาบัน Kaia DLT Foundation (Kaia) ในการเปิดตัว “Mini Dapps”…