กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) โดย สำนักงาน กสทช. สนับสนุนทุนวิจัยให้แก่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ในการศึกษาแนวนโยบายการให้บริการและการกำกับกิจการดาวเทียมประเภทวงโคจรไม่ประจำที่ (NGSO) เพื่อการพัฒนาระบบนิเวศเศรษฐกิจอวกาศด้านดาวเทียมของประเทศไทย ชี้เศรษฐกิจอวกาศมีบทบาทต่อเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันหลายประเด็น และถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มสำคัญที่สามารถสร้างเม็ดเงินให้ประเทศพร้อมขับเคลื่อนความก้าวหน้าได้หลายมิติ อาทิ การสื่อสาร พยากรณ์อากาศ และสำรวจทรัพยากร
กองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจอวกาศ หรือ Space Economy เป็นอีกหนึ่งโอกาสที่สามารถต่อยอดไปได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงคุณภาพชีวิตของคนในประเทศไทย โดยเศรษฐกิจอวกาศนับเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการรับส่งสัญญาณ การส่งผ่านข้อมูล การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ห่างไกล การให้บริการระบบสื่อสารบนเรือ ตามท้องทะเลและบนอากาศยาน รวมทั้งการรองรับเทคโนโลยีบริการใหม่ เช่น AI และ IoT เพื่อส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยในทุกด้าน อีกทั้ง เศรษฐกิจอวกาศยังเป็นส่วนหนึ่งที่ภาครัฐไทยให้ความสำคัญ ด้วยสัมพันธ์กับการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ตามแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ร่วมด้วย
ในส่วนของกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) นับว่ามีบทบาทในการบริหารสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมตามแผนนโยบาย รวมถึงเล็งเห็นการเติบโตของเศรษฐกิจอากาศ โดยเฉพาะดาวเทียมประเภทวงโคจรไม่ประจำที่ (NGSO) ที่ปัจจุบันทั่วโลกต่างให้ความสนใจอย่างมากในการลงทุน จึงมีการบริหารจัดการทุนเพื่อเป็นส่วนพัฒนาโครงสร้างเทคโนโลยีสมัยใหม่ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพสูงครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งได้เข้าไปสนับสนุนการศึกษาวิจัยของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เพื่อเป็นอีกส่วนในการช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างเทคโนโลยีอวกาศที่อยู่เบื้องหลังพื้นฐานชีวิตของคนไทยทุกคน ให้มีกำลังในการแข่งขันกับธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย สามารถใช้เทคโนโลยีอวกาศขับเคลื่อนธุรกิจและส่งเสริมเศรษฐกิจอวกาศ รวมทั้งเปิดโอกาสให้คนไทย ผู้วิจัยไทย และผู้ประกอบการไทย ได้ร่วมพัฒนาเพื่อไม่ทำให้เม็ดเงินรั่วไหลออกนอกประเทศ
ดร.ดำรงค์ฤทธิ์ เนียมหมวด รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA และหัวหน้าโครงการศึกษาแนวนโยบายการให้บริการและการกำกับกิจการดาวเทียมประเภทวงโคจรไม่ประจำที่ (NGSO) เพื่อการพัฒนาระบบนิเวศเศรษฐกิจอวกาศด้านดาวเทียมของประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันนี้คนไทยเป็นจำนวนมากคงคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีในการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้สมาร์ทโฟน โดย “อวกาศ” เข้ามาอยู่ในเบื้องหลังในหลากหลายเทคโนโลยี อาทิ การใช้แผนที่นำทางในสมาร์ทโฟน การสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ นอกจากนี้ “อวกาศ” ยังมีบทบาทในการขับเคลื่อนประเทศในหลายมิติ อาทิ ดาวเทียมเพื่อการสำรวจและจัดทำแผนที่ การติดตามและวิเคราะห์สภาพอากาศ การเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ การป้องกันประเทศ ดาวเทียมทางการทหาร การบริหารจัดการการจราจรในอวกาศ รวมถึงการทดลองทางอวกาศด้วย
สำหรับ ดาวเทียมประเภทวงโคจรไม่ประจำที่ หรือ Non-Geostationary Satellite Orbit (NGSO) มีประเภทการใช้งานที่หลากหลาย เช่น ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ดาวเทียมนำร่อง ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ดาวเทียมเพื่อการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ดาวเทียมให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things-IoT) ดาวเทียมที่ให้บริการด้านการสื่อสารในรูปแบบ 5G/6G เป็นต้น ขณะเดียวกัน ในอนาคต 4 – 5 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากจากการศึกษาและพัฒนาดาวเทียมประเภทวงโคจรไม่ประจำที่ (NGSO) อาทิ การเกิดขึ้นของ 6G ที่สามารถทำให้การสื่อสารเกิดขึ้นได้ในทุกที่ทุกเวลา เป็นต้น จะเห็นได้ว่า ดาวเทียมประเภทวงโคจรไม่ประจำที่ (NGSO) ล้วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้คนในหลากหลายด้าน แต่ทว่าไม่ได้รับการพูดถึงมากเท่าที่ควร หากได้รับการสนับสนุนอย่างตรงจุดก็ย่อมส่งผลดีต่อเศรษฐกิจประเทศไทยแน่นอน
“นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี เมื่อกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) โดย สำนักงาน กสทช. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเศรษฐกิจอวกาศอย่างมาก พร้อมทั้งมีการศึกษาวิจัยในด้านนโยบาย และการกำกับดูแลดาวเทียมสื่อสารเพื่อผลประโยชน์ของประเทศมากขึ้น จึงมีการสนับสนุนทุนวิจัยให้กับโครงการศึกษาแนวนโยบายการให้บริการและการกำกับกิจการดาวเทียมประเภทวงโคจรไม่ประจำที่ (NGSO) เพื่อการพัฒนาระบบนิเวศเศรษฐกิจอวกาศด้านดาวเทียมของประเทศไทย และเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศสูงสุด ซึ่งประเทศไทยมีเศรษฐกิจอวกาศที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าประเทศอื่น แต่ไม่ได้รับการพูดถึงอย่างชัดเจน เพราะถูกควบรวมไปกับเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง ทำให้ความสำคัญของอวกาศถูกลดทอนไปไม่น้อย ถึงแม้เศรษฐกิจอวกาศของไทยจะไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร แต่เราก็ต้องเร่งเครื่องพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศให้ดีขึ้น ในด้านเทรนด์อวกาศประเทศไทยยังเท่าทันกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย เพียงแต่ว่าต้องผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น รวมถึงให้ความสำคัญกับอวกาศในฐานะที่เป็นอีกหนึ่งทรัพยากรสำคัญของไทย” ดร.ดำรงค์ฤทธิ์ กล่าวสรุป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองทุนวิจัยและพัฒนาฯ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-554-1113 และ 02-554-1114 หรือติดตามความเคลื่อนไหวของ กทปส. ได้ที่ https://btfp.nbtc.go.th และ www.facebook.com/BTFPNEWS
AIS จับมือ OPPO เปิดตัว OPPO Find X8 Series สมาร์ทโฟนแฟลกชิป รุ่นล่าสุด ในราคาเริ่มต้นเพียง 18,999 บาท พร้อมมอบข้อเสนอสุดพิเศษให้กับลูกค้า AIS…
ออเนอร์ กรุ๊ป เปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมสุดหรู "Once Wongamat" บนทำเลทองวงศ์อมาตย์ ชูจุดเด่นการออกแบบที่ผสานความหรูหรา และความยั่งยืนเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ กลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ ออเนอร์ กรุ๊ป (Honour Group)…
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มอบประกันอุบัติเหตุจากกรุงไทย แอกซ่า ฟรี 30 ต้อนรับเทศกาลปีใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม - 31 ธันวาคม 2567…
พฤกษา โฮลดิ้ง ไม่หยุดยั้งที่จะสร้างสรรค์สังคมแห่งโอกาสที่เท่าเทียม เดินหน้าสู่ปีที่ 6 ของโครงการ “บ้านใส่ใจเพื่อคนพิการ By PRUKSA” โดยผนึกกำลังร่วมกับ โรงพยาบาลวิมุต และ อินโนโฮม คอนสตรัคชัน ในเครือ…
บาร์บีคิวพลาซ่า จับมือ วิตอะเดย์ สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการน้ำดื่มผสมวิตามิน ส่ง "วิตอะเดย์ กะหล่ำปลี วอเตอร์" รสชาติสุดว้าว พร้อมดึงพี่ GON ร่วมสร้างสีสัน เอาใจสายเฮลท์ตี้ แถมโปรโมชั่นสุดคุ้มชุดประหยัดหมู 2…
เคยไหม? เลื่อนฟีดโซเชียลมีเดียแล้วเจอคลิปโป๊ ๆ ของคนดัง หรือแม้แต่คนรู้จัก แต่เอะใจว่า...มันดูแปลก ๆ เหมือนไม่ใช่ตัวจริง นั่นอาจเป็นเพราะคุณกำลังเผชิญหน้ากับ "Deepfake Porn" ภัยร้ายยุค AI ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ Deepfake…