Technology IT

AIS พลิกโฉมระบบนิเวศการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Blockchain บนแพลตฟอร์ม E-Waste+

AIS มุ่งพัฒนา Ecosystem ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่การสร้างองค์ความรู้ให้ตระหนักถึงปัญหา สร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน สร้างกระบวนการจัดเก็บและรีไซเคิลแบบ Zero Landfill ตามมาตรฐานสากล ภายใต้ภารกิจ “คนไทยไร้ E-Waste” 

ล่าสุดได้นำศักยภาพโครงข่ายอัจฉริยะ กับเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)มา Redesign Ecosystem หรือพัฒนากระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ผู้ทิ้งจนถึงโรงงานรีไซเคิล เพื่อให้ทุกคนสามารถจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายขึ้น เห็นผลลัพธ์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยแพลตฟอร์มนี้จะเริ่มใช้งานจริงกับ 6 องค์กรนำร่อง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน และยังทำงานร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ที่เข้ามาสนับสนุนแนวทางการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ได้จากการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล

Tesla เปิดตัว Model 3 และ Model Y ในไทย เริ่มรับรถไตรมาส 1 ปี 66

สายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “จากสถานการณ์โลกที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในทุกภาคส่วน สิ่งที่ตามมาคือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานดิจิทัลก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ดังนั้นเราจึงทำหน้าที่ 2 ส่วนคือ สร้างการรับรู้และตระหนักถึงโทษภัยของขยะอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะเดียวกันก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการจัดเก็บและทำลายอิเล็กทรอนิกส์ อย่างถูกวิธี ทั้งการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ตั้งจุดรับทิ้งและนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล

และเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในวงกว้างมากขึ้น เราจึงขยายผลไปอีกขั้นด้วยการRedesign Ecosystem เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถลงมือบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ในองค์กรเองได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครือข่ายพนักงานและลูกค้าของแต่ละองค์กร เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐาน ผ่านแพลตฟอร์ม E-Waste+

โดยเทคโนโลยี Blockchain จะทำงานผ่านกระบวนการ Track and Trace ทำให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ทุกชิ้น สามารถตรวจสอบสถานะได้ทั้งกระบวนการ จากนั้นจะคำนวณขยะE-Waste ที่ได้ออกมาเป็น Carbon Scores เพื่อให้ทราบว่าเราช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไหร่”

“โดยเบื้องต้น เราได้ร่วมทำงานกับพันธมิตรเครือข่าย Green Partnership ทั้ง 6 องค์กรที่จะเดินหน้าสร้างมาตรฐานการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถสร้างการมีส่วนร่วมอย่างโปร่งใสผ่าน Blockchain ประกอบไปด้วย บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด, ธนาคารออมสิน และธนาคารกสิกรไทย ที่จะเข้ามาเริ่มใช้แพลตฟอร์ม E-Waste+ เพื่อส่งต่อการดูแลสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคลากรในองค์กรและสังคมในวงกว้างต่อไป”

ทางด้าน อราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม AIS กล่าวเสริมว่า “AIS ในฐานะผู้นำด้านบริการดิจิทัลที่มุ่งสู่การเป็นองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ หรือ Cognitive Tech-Co ทำให้เรามองโอกาสและเห็นขีดความสามารถของ Blockchain ในการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์จริงในทางธุรกิจ ซึ่งแพลตฟอร์ม E-Waste + เป็นตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้แก้ปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม

โดยเทคโนโลยี Blockchain จะช่วยทำให้ผู้ทิ้งมั่นใจว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ จะถูกนำส่งไปยังกระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐานและโปร่งใส ซึ่งจะสามารถตรวจสอบสถานะของกระบวนการนำส่งได้ในแต่ละขั้นตอน และนอกเหนือจากนั้นยังสามารถคำนวณปริมาณ Carbon Scores ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงการลงมือทำในกิจกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถแชร์ในโซเชียลและแสดงตัวตนในโลกMetaverse ได้

โดย AIS ยังมีแผนพัฒนาให้ Carbon Scores ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ อย่างถูกต้อง นำไปใช้เป็น Utility Token ที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจให้กับองค์กรพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการนี้อีกด้วย”

ในขณะที่ เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อธิบายเพิ่มเติมว่า “ในฐานะองค์กรหลักที่มีภารกิจในการสนับสนุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ให้ขับเคลื่อนการทำงานเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย มุ่งสู่ Net Zero GHG Emission และเศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน รวมถึงการเป็นศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านก๊าซเรือนกระจก ที่วันนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของหน่วยงานหรือองค์กรเท่านั้น แต่ในระดับภาคประชาชนก็เริ่มหันมาให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน

การทำงานร่วมกับ AIS ในครั้งนี้ทำให้เห็นว่าเทคโนโลยีสามารถเชื่อมต่อระบบการทำงานและพฤติกรรมของทุกคนให้เห็นถึงปริมาณคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวันได้ เรารู้สึกดีใจที่จะมีความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูล/กิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจก และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ยกระดับแพลตฟอร์มการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ส่วนบุคคล อีเว้นท์ และกิจกรรมประเภทต่างๆ เช่น การคำนวณปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่ได้จากการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆ บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ ที่องค์กรต่างๆ สามารถเข้ามาใช้เพื่อร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”

สายชล กล่าวในช่วงท้ายว่า “จากความมุ่งมั่นตั้งใจของ AIS ที่ลุกขึ้นมาเป็นแกนกลางด้านองค์ความรู้และจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ปี 2019 ทำให้วันนี้เราได้ยกระดับไปอีกขั้นด้วยการใช้ความสามารถของดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาบูรณาการสร้างระบบการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ใหม่ด้วย Blockchain ผ่านการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายเพื่อจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสิ่งแวดล้อมและโลกนี้ให้ดีขึ้น”

สำหรับองค์กรใดสนใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายGreen Partnership สามารถติดต่อได้ที่ e-mail: aissustainability@ais.co.th หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง ewastethailand

supersab

Recent Posts

Valera เตรียมเปิดตัวในไทย! ยกระดับการดูแลเส้นผมด้วย AI และนวัตกรรมจากสวิตเซอร์แลนด์

เตรียมพบกับการเปิดตัวสุดพิเศษ! Valera แบรนด์ชั้นนำจากสวิตเซอร์แลนด์ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ดูแลเส้นผมและการ Grooming สำหรับผู้ชาย กำลังจะมาสร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการความงามของไทย ด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี AI สุดล้ำ ที่จะปฏิวัติวิธีการดูแลเส้นผมให้สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมสัมผัสประสบการณ์การจัดแต่งทรงผมที่ทั้งเหนือชั้นและทันสมัยในทุกการใช้งาน ภายในเต็มไปด้วยกิจกรรมมากมาย ทั้งนวัตกรรมการดูแลเส้นผมระดับโลก ช่างผมมืออาชีพชั้นนำที่จะมาแบ่งปันเทคนิคการใช้ผลิตภัณฑ์ พร้อมกิจกรรมสุดพิเศษที่ไม่ควรพลาด!…

12 hours ago

AIS ขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยสินเชื่อสีเขียว Green Loan ยกระดับขีดความสามารถโครงข่าย 5G สู่ Green Network

AIS ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนที่มุ่งสร้างการเติบโตร่วมกันของผู้คน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในโลกดิจิทัล พร้อมผนึกกำลังร่วมกับสถาบันทางการเงินชั้นนำลงนามรับการสนับสนุนสินเชื่อสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Loan) ครั้งแรกในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย มูลค่ารวม 2,000 ล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี จาก…

12 hours ago

HPE ประกาศขยายระบบ ‘HPE Aruba Networking Central’ เดินหน้าการขับเคลื่อนด้วย AI มุ่งยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้งานผ่านนวัตกรรมแห่งอนาคต

ฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอนเตอร์ไพรส์ (Hewlett Packard Enterprise) ประกาศเดินหน้าขยายบริการ HPE Aruba Networking Central ซึ่งเป็นโซลูชันการจัดการเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วย AI โดยเน้นความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ มาพร้อมด้วยข้อมูลและคุณสมบัติ…

13 hours ago

Prudential จับมือ Google Cloud ใช้ Generative AI ยกระดับการเคลมประกันสุขภาพให้รวดเร็วและราบรื่น

Google Cloud และ Prudential PLC (“Prudential”) ประกาศว่า Prudential จะนำ MedLM โมเดลพื้นฐานของ Google ที่ถูกปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมสุขภาพ มาใช้เพื่อเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพในการตัดสินใจการเคลมประกันสุขภาพ Prudential…

13 hours ago

ทีเอ็นกรุ๊ป เปิดตัว Venz ORBIT เครื่องฟอกอากาศสุดล้ำที่คว้ารางวัลระดับโลก iF Design Award 2023

บทีเอ็นกรุ๊ป ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัย ด้วยการเปิดตัวเครื่องฟอกอากาศรุ่นใหม่ล่าสุด "Venz ORBIT" จากแบรนด์ Venz ที่ไม่เพียงแค่ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์เท่านั้น แต่ยังมีดีไซน์ล้ำสมัย การันตีด้วยรางวัลระดับโลก iF Design Award 2023 ซึ่งสะท้อนถึงความลงตัวของทั้งดีไซน์และประสิทธิภาพการทำงาน…

13 hours ago

TU-RAC เตรียมความพร้อมครูไทย (ระดับประถมศึกษา) ในโลกยุคดิจิทัล เปิดหลักสูตรด้านการรู้เท่าทันสื่อ เพิ่มขีดความสามารถเด็กไทย ฉลาดทันสื่อ

สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ TU-RAC ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดตัวโครงการหลักสูตรอบรมพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนในหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อระดับประถมศึกษา และจัดฝึกอบรมทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ที่ครอบคลุมสำหรับครูไทย เพื่อเตรียมความพร้อมครู และบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะด้านการรู้เท่าทันสื่อ และการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียน ในระหว่างวันที่ 26-27 ตุลาคม…

13 hours ago