ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance Center: AIGC) ภายใต้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) จัดงานเสวนาออนไลน์ AI Governance Webinar 2024 ภายใต้หัวข้อ “จับเทรนด์ AI พลิกโฉมทุกภาคส่วน…ใช้อย่างไรให้มีธรรมาภิบาล ?” เพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และมุมมองเกี่ยวกับแนวโน้มการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยเฉพาะ Generative AI ที่กำลังมาแรง พร้อมกับผลักดันให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของจริยธรรมและธรรมาภิบาลในการใช้ AI ภายในองค์กร
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาอาวุโส ETDA เผยว่า ปัจจุบัน Generative AI กำลังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งผลสำรวจความพร้อมในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับบริการดิจิทัลประจำปี 2567 (AI Readiness Measurement 2024) ชี้ให้เห็นว่า องค์กรไทยมีแนวโน้มที่จะนำ AI มาใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัดส่วนองค์กรที่ประยุกต์ใช้ AI แล้วสูงถึง 17.8% เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่มีเพียง 15.2% และที่น่าจับตามองคือ มีองค์กรถึง 73.3% ที่มีแผนจะนำ AI มาใช้ในอนาคตอันใกล้ โดย 3 อุตสาหกรรมหลักที่แสดงความพร้อมในการประยุกต์ใช้ AI มากที่สุด ได้แก่ การศึกษา การเงินและการค้า และโลจิสติกส์และการขนส่ง
อย่างไรก็ตาม แม้การใช้งาน AI ในองค์กรจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ผลสำรวจกลับพบว่า มีเพียง 16.5% ขององค์กรเท่านั้น ที่ตระหนักและนำหลักจริยธรรม AI (AI Ethics) มาปรับใช้จริง ขณะที่ 43.7% เพิ่งเริ่มมีแนวคิดที่จะนำ AI Ethics มาประยุกต์ใช้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างสำคัญที่องค์กรไทยต้องเร่งแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ Generative AI เข้าถึงได้ง่าย การคำนึงถึงจริยธรรมและธรรมาภิบาลในการใช้งานจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
ETDA ชู “ธรรมาภิบาล” กุญแจสำคัญสู่การใช้ AI อย่างรับผิดชอบ
เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ ETDA ได้เปิดตัว “แนวทางการประยุกต์ใช้ Generative AI อย่างมีธรรมาภิบาลสำหรับองค์กร” (Generative AI Governance Guideline for Organizations) ซึ่งครอบคลุมประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น ความเข้าใจ Generative AI, ประโยชน์และข้อจำกัด, ความเสี่ยง, และแนวทางการประยุกต์ใช้อย่างมีธรรมาภิบาล โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรในองค์กร สามารถกำหนดกรอบการใช้งาน AI ภายในองค์กรได้อย่างเหมาะสม
“จริยธรรม AI” โจทย์ใหญ่ระดับโลกที่ต้องจับตา
นางสาวรจนา ล้ำเลิศ ที่ปรึกษา ETDA และหัวหน้าศูนย์ AIGC by ETDA กล่าวว่า ในปี 2568 ประเด็น “จริยธรรมและธรรมาภิบาล AI” จะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นในระดับโลก เนื่องจากหลายประเทศเริ่มตระหนักถึงทั้งโอกาสและความเสี่ยงจากการใช้ Generative AI ซึ่งกรณีศึกษาต่างๆ เช่น ปัญหา Generative AI ให้คำแนะนำที่ไม่เหมาะสมแก่เยาวชน ได้จุดประกายให้เกิดการตั้งคำถามถึงประเด็นทางกฎหมาย เช่น ลิขสิทธิ์ ความเป็นเจ้าของ รวมถึงประเด็นจริยธรรมและความเหมาะสมในการใช้งาน AI
“องค์กรต้องตระหนักว่าการใช้ AI อาจส่งผลกระทบต่อผู้รับบริการ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เช่น ความเชื่อมั่นในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล การลดอคติในผลลัพธ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร แต่ยังช่วยเพิ่มความได้เปรียบทางธุรกิจอีกด้วย” นางสาวรจนา กล่าวเสริม
ผนึกกำลังทุกภาคส่วน ร่วมขับเคลื่อน “AI Ethics” สู่มาตรฐานสากล
เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมและธรรมาภิบาล AI ศูนย์ AIGC by ETDA ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ เช่น การจัดอบรม สัมมนา และเวิร์กช็อป รวมถึงการพัฒนาหลักสูตร คู่มือ และบทความ เพื่อสนับสนุนการใช้งาน AI ที่โปร่งใสและเป็นไปตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดล ในการบรรจุเนื้อหาด้านธรรมาภิบาล AI เข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการใช้ AI ตั้งแต่ระดับเยาวชน
ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงาน “UNESCO Global Forum for the Ethics of AI 2025”
ในปี 2568 ประเทศไทยเตรียมพร้อมก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนจริยธรรมและธรรมาภิบาล AI ในระดับโลก โดยจะเป็นเจ้าภาพร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในการจัดงานประชุมนานาชาติ “UNESCO Global Forum for the Ethics of AI 2025” ภายใต้แนวคิด Ethical Governance of AI in Motion ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-27 มิถุนายน 2568 ณ กรุงเทพมหานคร โดยจะมีการแถลงข่าวความร่วมมืออย่างเป็นทางการในวันที่ 4 ธันวาคมนี้
การจัดงาน “UNESCO Global Forum for the Ethics of AI 2025” นับเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและขับเคลื่อน AI Ethics ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรฐานและกรอบการทำงานร่วมกันในระดับสากล
#AI #AIEthics #GenerativeAI #ธรรมาภิบาลAI #ETDA #AIGC #UNESCO #ชีวิตดีเมื่อมีดิจิทัล
–ภัยไซเบอร์พุ่ง “ฟอร์ติเน็ต” ชี้ช่องโหว่ทักษะ เสี่ยงละเมิดข้อมูล สูญเงินกว่าล้านดอลลาร์
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ 2 รุ่น ได้แก่ HONOR X7c และ HONOR 200 Smart 5G โดยชูจุดเด่นด้านความแข็งแกร่งทนทาน ภายใต้คอนเซ็ปต์…
เจแอลแอล ประเทศไทย (JLL) บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ฉลองครบรอบ 35 ปี แห่งการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย นับเป็นก้าวสำคัญที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย โดยตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา เจแอลแอลได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเติบโตของวงการอสังหาริมทรัพย์ไทย ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของโครงการอสังหาฯ รูปแบบการใช้งานเดียว…
AIS คว้ารางวัล Creative Equality Award ประเภท Social Impact Awards จากเวที Creative Excellence Awards 2024 โดยรางวัลนี้เป็นผลมาจากความสำเร็จของโครงการ…
ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เซ็นทรัลพัฒนาได้ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับศิลปินและชุมชนท้องถิ่น สร้างสรรค์ผลงานคราฟต์ต้นคริสต์มาสที่ผสานเสน่ห์ของ 2 วัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก ถ่ายทอดผ่าน ต้นคริสต์มาส Local Pride ซึ่งสะท้อนอัตลักษณ์อันโดดเด่นของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย ผลงานเหล่านี้ถูกนำเสนออย่างงดงามในศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั่วประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์ “Place for All” ที่มุ่งยกระดับให้พื้นที่ศูนย์การค้าเป็นเดสติเนชั่นที่เชื่อมโยงเมือง ผู้คนในชุมชน และศิลปินท้องถิ่น ร่วมกันพัฒนาผลงานศิลปะที่เปี่ยมด้วยเสน่ห์อัตลักษณ์ไทยให้โดดเด่น นำเสนอสู่สายตาของคนทั่วประเทศและทั่วโลก ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา กรรมการผู้จัดการใหญ่…
ในยุคที่โลกหมุนเร็วด้วยเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว การทำความเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับแบรนด์ต่างๆ และหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายที่ทรงอิทธิพลที่สุดในปัจจุบันก็คือ Gen Z หรือคนรุ่นใหม่ที่เกิดระหว่างปี 1997 ถึง 2012 พวกเขาเติบโตมากับโลกดิจิทัล มีมุมมองที่แตกต่าง และให้ความสำคัญกับคุณค่าที่หลากหลาย บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกถึง Gen Z…
"ฟอร์ติเน็ต" เผยรายงานช่องว่างด้านทักษะไซเบอร์ ชี้ 92% ขององค์กรในไทยเผชิญภัยคุกคามจากปัญหาขาดแคลนบุคลากร แนะ 3 แนวทางรับมือ ผนึกกำลังภาครัฐ-เอกชน สร้าง "กองทัพไซเบอร์" ปกป้องเศรษฐกิจดิจิทัล ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยรายงานช่องว่างด้านทักษะความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลกประจำปี 2024…