Huawei ประกาศแผนการเปิดตัวอุปกรณ์เครือข่าย 5.5G เพื่อการพาณิชย์แบบครบชุดในปี พ.ศ. 2567 ในงานสัมมนา ‘5G Advanced Forum’ ซึ่งจัดขึ้นภายในงาน MWC Shanghai ประจำปี พ.ศ. 2566 โดย หยาง เฉาปิน ผู้อำนวยการและประธานฝ่ายโซลูชันและผลิตภัณฑ์ไอซีทีของหัวเว่ย ได้นำเสนอแผนดังกล่าวและย้ำว่า หัวเว่ยตั้งเป้าให้การเปิดตัวครั้งนี้เป็นสัญญาณแห่งการเริ่มต้นยุค 5.5G สำหรับอุตสาหกรรมไอซีที
–Oracle เปิดตัว Generative AI ยกระดับงานฝ่ายบุคคล
หยาง เฉาปิน กล่าวถึงการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรม 5G ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกมีเครือข่าย 5G ให้บริการในเชิงพาณิชย์มากกว่า 260 เครือข่าย รองรับผู้ใช้งานมากกว่า 1,200 ล้านคน รวมไปถึงผู้ใช้งาน F5G ระดับกิกะบิตถึง 115 ล้านคน การพัฒนาของแอปพลิเคชัน 5G ที่ล้ำสมัย เช่น อุปกรณ์แสดงภาพ 3 มิติแบบไม่ต้องสวมแว่นตา จะเข้ามาปฏิวัติวีถีชีวิตของผู้คน จากการมอบประสบการณ์ที่เสมือนจริงมากยิ่งขึ้นให้แก่ผู้ใช้งาน
อย่างไรก็ตาม บริการรูปแบบใหม่ ๆ เหล่านี้ จะต้องอาศัยขีดความสามารถที่แข็งแกร่งมากขึ้นของเครือข่าย 5G การพัฒนาเทคโนโลยีเสมือนจริงต่าง ๆ (XR) รวมไปถึงการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไปสู่ดิจิทัลจำเป็นต้องใช้ความเร็วดาวน์ลิงก์ (downlink) ระดับ 10 กิกะบิต และอัพลิงค์ (uplink) ระดับ 1 กิกะบิต นั่นหมายว่ายังมีช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างขีดความสามารถของเทคโนโลยี 5G ในปัจจุบัน กับความจำเป็นที่จะต้องก้าวข้ามไปสู่ 5.5G ทั้งนี้เทคโนโลยี 5.5G ไม่เพียงยกระดับประสบการณ์ผู้บริโภค บรอดแบรนด์สำหรับใช้ในภาคครัวเรือนและสำนักงานต่าง ๆ จากความเร็วระดับ 1 กิกะบิตไปสู่ 10 กิกะบิตเท่านั้น แต่ยังจะเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่ายขึ้นอีก 10 เท่า นำไปสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ สำหรับผู้ให้การเครือข่ายในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม
หัวเว่ย นำเสนอแนวคิด “5.5G Era” ซึ่งประกอบด้วยโซลูชันแบบครบชุด อันเกิดจากการบูรณาการเทคโนโลยีแบบครบสูตร ประกอบด้วยเทคโนโฃยี 5.5G, F5.5G, และ Net5.5G โดยเครือข่าย 5.5G จะรองรับความเร็วดาวน์ลิงก์ระดับสูงสุดที่ 10 กิกะบิต และอัพลิงค์ระดับสูงสุดที่ 1 กิกะบิต รองรับการเชื่อมต่อ 1 แสนล้านครั้ง ขณะเดียวกันเครือข่ายยังมีความอัจฉริยะที่จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรม 5G และผู้ประกอบการเครือข่ายขึ้นสู่ระดับใหม่ ทั้งนี้ ด้วยอัตราความหน่วงในการรับส่งข้อมูลต่ำ (low latency) ประกอบกับความเร็วดาวน์ลิงก์ 10 กิกะบิต และอัปลิงก์ 1 กิกะบิต ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่สมจริงมากยิ่งขึ้นจากบริการ เช่น XR Pro การแสดงผลแบบโฮโลแกรม และวีดีโอภาพ 3 มิติ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมี 50G PON ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีหลัก ที่สามารถรองรับความเร็วระดับ 10 กิกะบิตสำหรับเครือข่ายบรอดแบนด์ F5.5G และคาดว่าจะมีการใช้งานอย่างแพร่หลายตามบ้าน สำนักงาน และภาคการผลิตต่าง ๆ นอกเหนือจากการพัฒนาเทคโนโลยีหลัก สำหรับเครือข่ายแบบไร้สายและออปติคอลสำหรับ 5.5G แล้ว หยาง เปิดเผยว่า Net5.5G จะถูกวางสถานะให้เป็นเครือข่ายพื้นฐานรุ่นใหม่สำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ
สำหรับในภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยี 5.5G จะช่วยเสริมศักยภาพของคลื่นประเภท URLLC ซึ่งเป็นการสื่อสารผ่านคลื่นที่มีความเสถียรสูงและมีค่าความหน่วงต่ำ ซึ่งจะยิ่งรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์มือถือบนคลื่นความถี่ต่ำได้มากขึ้นและมีสเถียรภาพยิ่งกว่าเดิม โดยการต่อยอดการใช้งานเทคโนโลยี 5G จากการใช้เป็นเพียงส่วนเสริมมาเป็นส่วนหลักในกระบวนการผลิต จะช่วยรองรับบริการประเภทการควบคุมในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเทคโนโลยี 5.5G จะช่วยเพิ่มความแม่นยำจากระดับเมตรไปเป็นระดับเซนติเมตร และจะช่วยรองรับการใช้งานแอปพลิเคชันประเภทระบบขนส่งอัตโนมัติ (AGV)
หยาง อธิบายเพิ่มเติมว่า “ด้วยกรอบระยะเวลาของการจัดทำมาตรฐานที่กำหนดไว้ชัดเจน ขณะนี้ ‘5.5G Era’ ของหัวเว่ยพร้อมแล้วสำหรับการตรวจสอบมาตรฐานทั้งในเชิงเทคโนโลยีและในเชิงพาณิชย์ ภายในปี พ.ศ. 2567 หัวเว่ยจะเปิดตัวอุปกรณ์เครือข่าย 5.5G เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์แบบครบชุด เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการนำมาติดตั้งใช้งานเครือข่าย 5.5G เชิงพาณิชย์ ซึ่งเราหวังที่จะได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิดเพื่อเดินทางเข้าสู่ยุค 5.5G ไปด้วยกัน”
ยุคปฏิวัติ 5G ผ่านขั้นตอนการพัฒนาสำคัญต่าง ๆ มากมาย ทั้งในด้านการวิจัยทางเทคโนโลยีและการจัดทำมาตรฐานภายในอุตสาหกรรม หัวเว่ย ได้เสนอแนวคิด 5.5G และกลุ่มพันธมิตร 3GPP ได้นำเสนอ 5G-Advanced ซึ่งกำลังอยู่ในวาระสำคัญของการจัดทำมาตรฐาน อุตสาหกรรมได้บรรลุความเห็นร่วมกันในการกำหนดสถานการณ์การใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ สิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาขีดความสามารถ และเทคโนโลยีหลักที่จำเป็นสำหรับการพัฒนา 5G-Advanced
หัวเว่ยนำเสนอวิสัยทัศน์ ‘5.5G’ ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2563 และได้อธิบายสถานการณ์การใช้งานใหม่ โดยจัดทำเป็นแผนผังแสดงจำนวนสถานการณ์ที่เพิ่มขึ้นจากสามเหลี่ยมขยายเป็นหกเหลี่ยม และด้วยความร่วมมือจากพันธมิตรในอุตสาหกรรมเครือข่ายไร้สายตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เช่น ผู้ให้บริการเครือข่าย ผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ผลิตชิป หน่วยงานภาครัฐ และสมาคมในภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้หัวเว่ยสามารถบรรลุข้อคิดเห็นร่วมกันถึงความจำเป็นในการพัฒนา 5G การพัฒนาสถานการณ์การใช้งานในแบบต่าง ๆ สิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาขีดความสามารถ และเทคโนโลยีหลักที่จำเป็นเพื่อเร่งการพัฒนาให้กับอุตสาหกรรม
ขณะที่แนวคิดในการพัฒนาไปสู่ 6G ยังคงอยู่ในระยะเริ่มต้น โดยที่การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลักยังอยู่ในขั้นริเริ่มเท่านั้น เทคโนโลยี 5.5G ได้กลายเป็นหมุดหมายสำคัญสำหรับการพัฒนาแห่งอนาคต ขีดความสามารถของเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าในยุค 5.5G จะเข้ามาปลดล็อคผลิตผลด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับอุตสาหกรรมจำนวนมาก
หยาง เฉาปิน ผู้อำนวยการและประธานฝ่ายโซลูชันและผลิตภัณฑ์ไอซีทีของหัวเว่ย ได้กล่าวย้ำว่า “หัวเว่ยมีความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับพันธมิตร เติมเต็มจุดแข็งของกันละกัน ส่งเสริมให้พันธมิตรสนับสนุนลูกค้าอย่างเต็มที่ และร่วมกันสนองตอบความต้องการของลูกค้า”
ในอนาคต หัวเว่ยจะยังคงลงทุนและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยจะทำงานร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรระดับโลกเพื่อบูรณาการเทคโนโลยีไอซีที เร่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล สนับสนุนการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจดิจิทัล และผลักดันให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้มีความเป็นอัจฉริยะอย่างแท้จริง เพื่อที่จะสร้างคุณค่าใหม่ให้กับอุตสาหกรรมในที่สุด
เคยไหม? เลื่อนฟีดโซเชียลมีเดียแล้วเจอคลิปโป๊ ๆ ของคนดัง หรือแม้แต่คนรู้จัก แต่เอะใจว่า...มันดูแปลก ๆ เหมือนไม่ใช่ตัวจริง นั่นอาจเป็นเพราะคุณกำลังเผชิญหน้ากับ "Deepfake Porn" ภัยร้ายยุค AI ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ Deepfake…
คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศปรับ Meta Platforms เป็นเงิน 798 ล้านยูโร (ประมาณ 840 ล้านดอลลาร์) จากการละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดของสหภาพยุโรป โดย Meta ถูกกล่าวหาว่าใช้ Facebook Marketplace…
ข่าวดีสำหรับสาวก Apple! MacBook Pro ลำโพงเสีย ซ่อมง่าย จ่ายน้อยกว่าเดิม เมื่อ Apple ประกาศเปลี่ยนวิธีการซ่อมแซม ไม่ต้องเปลี่ยน Top Case ทั้งชุด ลดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ใช้…
LINE ประเทศไทย จัดงานสัมมนา "Food & Beverage Industry Insights" เจาะลึกเทรนด์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มยุคใหม่ เผย 4 กลยุทธ์สำคัญ พร้อมโซลูชันครบวงจร ช่วยผู้ประกอบการไทยเติบโตอย่างยั่งยืน ท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันที่ดุเดือด…
Thai SmartLynx สายการบินเช่าเหมาลำ เดินหน้ารุกตลาดไทยเต็มสูบ ประกาศเตรียมนำเข้าเครื่องบิน Airbus A320 ลำแรก ต้นปี 2568 รับอานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้นตัว ตั้งเป้าช่วยสายการบินไทยเพิ่มศักยภาพ รับนักท่องเที่ยวทะลุ 40 ล้านคน…
เสียวหมี่ (Xiaomi) เดินหน้ารุกตลาด AIoT ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งท้ายปีด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ 3 รุ่นรวด นำทัพโดยหุ่นยนต์ทำความสะอาดอัจฉริยะ Xiaomi Robot Vacuum X20 Max, กล้องวงจรปิดความละเอียดสูง…