สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) หรือ NIA เผยผลการจัดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก ประจำปี 2565 (Global Innovation Index 2022; GII 2022) ภายใต้ธีมอนาคตของการเติบโตด้วยการขับเคลื่อนบนฐานนวัตกรรมคืออะไร (What is the future of innovation-driven growth?) ซึ่งจัดโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) เพื่อวัดระดับความสามารถทางด้านนวัตกรรม ที่เป็นเสมือนมาตรวัดเปรียบเทียบเชิงเวลาและการเปรียบเทียบเชิงแข่งขันทางด้านนวัตกรรมของแต่ละประเทศกว่า 130 ประเทศทั่วโลก โดยในปีนี้ประเทศไทยยังครองอันดับที่ 43 (ปี 2021 อันดับ 43) ถือเป็นอันดับ 3 ในอาเซียนรองจากสิงคโปร์ อันดับ 7 และมาเลเซีย อันดับ 36 โดยปัจจัยสัดส่วนค่าใช้จ่ายมวลรวมด้านวิจัยและพัฒนาที่ลงทุนโดยองค์กรธุรกิจ และปัจจัยสัดส่วนการส่งออกสินค้าสร้างสรรค์เป็นอันดับ 1 ของโลก สำหรับปีนี้สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามอยู่ในอันดับ 48
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การจัดอันดับ GII 2022 ภายใต้ธีมอนาคตของการเติบโตด้วยการขับเคลื่อนบนฐานนวัตกรรมคืออะไร โดยคาดการณ์ผลกระทบของนวัตกรรมใน 3 ประเด็น ได้แก่ ผลิตภาพ (Productivity) อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ (Economic growth) และความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม (Well-being of society) ในทศวรรษที่กำลังจะมาถึง สำหรับผลการจัดอันดับความสามารถทางด้านนวัตกรรมในปีนี้ ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 43 โดยในปีนี้ปัจจัยย่อยผลผลิตทางนวัตกรรม (Innovation output sub-index) อันดับที่ 44 (ดีขึ้น 2 อันดับ) ขณะที่ฝั่งปัจจัยเข้าทางนวัตกรรม (Innovation input sub-index) อันดับที่ 48 (ลดลง 1 อันดับ) แต่ยังคงอยู่ในอันดับ 5 ของกลุ่มประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางระดับบน (Upper middle-income economies) จาก 36 ประเทศ โดยประเทศไทยมีอันดับที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยในทุกปัจจัย เช่นเดียวกับในกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 9 จาก 17 ประเทศ
สำหรับปัจจัยชี้วัดความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศไทยที่โดดเด่นมากที่สุด เป็นกลุ่มปัจจัยด้านระบบธุรกิจ ที่แม้จะมีการปรับตัวลดลงมาเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับที่ดี โดยเฉพาะสัดส่วนค่าใช้จ่ายมวลรวมด้านวิจัยและพัฒนาที่ลงทุนโดยองค์กรธุรกิจ (อันดับ 1 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3) ซึ่งสะท้อนให้เห็นการลงทุนของภาคเอกชนไทยที่มุ่งเน้นเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจด้วยการพัฒนานวัตกรรมมากขึ้น และกลุ่มปัจจัยผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ ที่ภาพรวมปรับตัวดีขึ้น 6 อันดับ (อันดับที่ 49) โดยมีจุดแข็งด้านการส่งออกสินค้าและบริการเชิงสร้างสรรค์ (อันดับที่ 1)
นอกจากนี้ ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน ก็มีภาพรวมดีขึ้นถึง 7 อันดับ (อันดับที่ 54) ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศไทยสามารถขยายตัวโครงสร้างพื้นฐานได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอันดับดีขึ้น 14 อันดับ (อันดับที่ 46) โดยเฉพาะตัวชี้วัดการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (อันดับที่ 30) การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT use) (อันดับที่ 49) และโครงสร้างพื้นฐานทั่วไปอันดับดีขึ้นอยู่อันดับที่ 44 โดยเฉพาะประสิทธิภาพด้านการขนส่งโลจิสติกส์ (อันดับที่ 31) ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศไทยในระดับกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับบน
–โนเกีย โชว์นวัตกรรม 5G ในงาน Byond Mobile 2022
อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ควรต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปัจจัยด้านสถาบัน ที่ภาพรวมอันดับลดลงถึง 14 อันดับ (อันดับที่ 78) ปัจจัยด้านทุนมนุษย์และการวิจัย ภาพรวมอันดับลดลง 8 อันดับ แต่ยังมีตัวชี้วัดด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ของประเทศที่อันดับดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสัดส่วนค่าใช้จ่ายมวลรวมภายในประเทศสำหรับการวิจัยและพัฒนา อยู่อันดับที่ 36 ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศไทยในระดับกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับบน ปัจจัยด้านระบบตลาด ที่แม้ภาพรวมยังคงเดิมในอันดับที่ 27 แต่มีตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่ได้รับการลงทุนเป็นจุดอ่อนของประเทศ อยู่อันดับที่ 87 และปัจจัยด้านผลผลิตจากองค์ความรู้และเทคโนโลยี ภาพรวมอันดับลดลง 3 อันดับ (อันดับที่ 43)
การพัฒนาที่สอดรับและสนับสนุนให้ตรงกับปัจจัยและตัวชี้วัดที่เป็นข้อจำกัดเชิงระบบ จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถก้าวกระโดดเป็นประเทศชั้นนำที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม NIA ในฐานะหน่วยประสานและขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมของประเทศ จึงให้ความสำคัญกับการติดตามและนำข้อมูลดัชนีนวัตกรรมโลกมาใช้ประโยชน์ในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการออกแบบนโยบายที่เหมาะสมและสอดคล้อง สามารถขับเคลื่อนและปรับเปลี่ยนระบบนวัตกรรมไทยได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ
ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการจัดอันดับและตัวชี้วัดเหล่านี้สะท้อนว่า หลายปีที่ผ่านมาทุกภาคส่วนของประเทศไทยทั้งภาครัฐ การศึกษา เอกชน และประชาชน พยายามยกระดับความสามารถทางนวัตกรรมเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยระยะสั้นประเทศต้องเร่งขับเคลื่อนใน 6 แนวทางสำคัญ ได้แก่
1.รัฐคือ Sandbox และ Accelerator ของนวัตกรรม เพื่อให้เกิดพื้นที่นำร่องและสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยนวัตกรรม รวมถึงยกระดับการบริการภาครัฐและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ปรับเปลี่ยนบทบาทภาครัฐจากผู้ควบคุม กำกับ เป็นผู้ส่งเสริมและผลักดันให้ประเทศมีความสามารถทางด้านนวัตกรรม
2.เร่งการเติบโตในการลงทุนทางนวัตกรรมเชื่อมกับการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย โดยเฉพาะในภาคเอกชนไทยที่มีสัดส่วนการลงทุนสูงกว่าหน่วยงานภาครัฐอย่างโดดเด่น ดังนั้น หากเร่งส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมจะช่วยเร่งการเติบโต การใช้ประโยชน์ การลงทุน และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิจัยและพัฒนาจากต่างประเทศ เพื่อสร้างผลผลิตทางนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลก
3.กระตุ้นกิจกรรมและสร้างฐานข้อมูลตลาดการเงินนวัตกรรมและตลาดทุนทางเทคโนโลยี โดยสร้างความเข้มแข็งให้กับตลาดธุรกิจเงินร่วมลงทุน ระบบการร่วมลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงในการพัฒนานวัตกรรมของภาคเอกชน และลดความเสี่ยงสำหรับการลงทุนในระยะเริ่มต้น พร้อมทั้งสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนแก่ธุรกิจที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมผ่านสถาบันการเงินไมโครไฟแนนซ์
4.เพิ่มจำนวนวิสาหกิจฐานนวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปโครงสร้างทางธุรกิจ ไปสู่ประเทศที่แข่งขันด้วยเทคโนโลยีและองค์ความรู้ รวมถึงเกิดการสร้างธุรกิจใหม่ที่ตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่มูลค่า และเป็นการสร้างตลาดแรงงานทักษะสูงที่ใช้ความรู้เข้มข้นเพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพมาสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ อุตสาหกรรม และบริการ
5.กระตุ้นการจดทะเบียนสิทธิบัตรและใช้ประโยชน์สิทธิบัตรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ ประเทศไทยมีการยื่นจดผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ หรืออนุสิทธิบัตรสูงเป็นอันดับ 8 ของโลก แต่นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมากนัก จึงต้องพัฒนานโยบายเชิงรุกด้านการลงทุนและการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ในประเทศ และจะช่วยปรับปรุงการเข้าถึงความรู้และเทคโนโลยีทั้งในประเทศและระดับโลก รวมถึงการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่เอื้อต่อการกระตุ้นการเติบโตของทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในเชิงของโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการคุ้มครอง การจดทะเบียนความสะดวกรวดเร็ว
6.เพิ่มจำนวนนวัตกรรมฐานความคิดสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่สามารถนำไปสู่นวัตกรรมที่หลากหลาย สามารถสอดแทรกไปในหลายอุตสาหกรรม เช่น ท่องเที่ยว อาหาร แฟชั่น บันเทิง ฯลฯ ทั้งนี้ การนำพลังอำนาจอ่อน (Soft Power) มาพัฒนาอุตสาหกรรมและทำให้เกิดการสร้างแบรด์ระดับโลกมีปรากฏให้เห็นในหลายประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีจุดเด่นด้านทุนทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ หลากหลายและเป็นที่รับรู้ในเวทีสากล แต่การส่งเสริมและการใช้เครื่องทางการสื่อสารและการตลาดมาสนับสนุนการรับรู้และการเติบโตในเวทีสากลยังมีอยู่จำกัด จึงจำเป็นต้องใช้ประโยชน์เครื่องมือเหล่านี้เพื่อผลักดันการสร้างอัตลักษณ์และแบรนด์ดิ้งนวัตกรรมไทยไปสู่สากล
ทั้งนี้ นโยบายของศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ให้ความสำคัญกับ “นวัตกรรม” และเชื่อมั่นว่าการที่นวัตกรรมจะเดินหน้าอย่างก้าวกระโดดนั้น ต้องอาศัยความเข้มแข็งของภาคเอกชนโดยมีภาครัฐเป็นกองหนุนที่สำคัญ เพื่อทำให้ประเทศไทยดีดตัวเองออกจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูงด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม และสามารถก้าวสู่การเป็น “ประเทศแห่งนวัตกรรม” โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการขับเคลื่อนนวัตกรรมประเทศไทยให้ก้าวสู่อันดับ 1 ใน 30 ของประเทศที่มีความสามารถด้านนวัตกรรมของโลก ภายในปี 2573
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…