2 กันยายน 2552 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับ “ความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่” ในการก้าวสู่ “สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)” ที่เป็นนิติบุคคลอย่างเต็มตัว ซึ่งนับเป็นรอยต่อสำคัญเชิงนโยบายต่อการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ สำหรับการเดินทางจากวันนั้นจนถึงวันนี้ NIA ครบรอบ 13 ปีแล้ว และก้าวต่อไปก็ยังคงมุ่งมั่นส่งเสริมและผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรมในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ “ประเทศแห่งนวัตกรรม” ที่ติดอันดับ 1 ใน 30 ของดัชนีนวัตกรรมโลก (GII)
NIA กำเนิดขึ้นจากหน่วยงานระดับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการวางยุทธศาสตร์ของประเทศที่ต้องการผลักดันให้ “นวัตกรรม” เป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้เพิ่มสูงขึ้น โดยแต่เดิมมุ่งเน้นการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้เห็นความสำคัญของการสร้างความแตกต่างและกล้าเสี่ยงลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม ผ่านเงินทุนอุดหนุนในรูปแบบต่างๆ ต่อมาได้ขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน เพื่อร่วมกันต่อยอดและขับเคลื่อนนวัตกรรมไทยโดย NIA เป็นเสมือน “เพื่อนของผู้ประกอบการ” และทำหน้าที่เป็นโซ่ข้อกลางที่เชื่อมประสานและสนับสนุนนวัตกรรมในทุกมิติ
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า “นวัตกรรมเปรียบเสมือนยาดำที่แทรกซึมไปทุกที่ ดังนั้น NIA จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนบทบาท ภารกิจ และยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยและกระแสของโลก โดยที่ผ่านมา NIA ทำหน้าที่เป็น “หน่วยงานบูรณากรเชิงระบบ (System Integrator)” เพื่อเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนภายใต้ระบบนวัตกรรม และเป็นฟันเฟืองสำคัญในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของประเทศ ซึ่งในช่วงแรก NIA เน้นการให้ทุนเอสเอ็มอีสำหรับสร้างธุรกิจนวัตกรรม ต่อมาจึงมุ่งสร้างให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรมจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะระบบนิเวศของวิสาหกิจเริ่มต้น และเมื่อประเทศไทยมีผู้เล่นใหม่ด้านสังคมที่เข้ามามีบทบาทในเรื่องนวัตกรรม NIA ก็ได้ให้การสนับสนุนเพื่อให้เกิดธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคมในทุกภูมิภาคของประเทศ รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมบนฐานเทคโนโลยีเชิงลึก (DeepTech) เพื่อสร้างศักยภาพให้กับระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศให้พร้อมปรับตัวและรับความเปลี่ยนแปลงประเด็นท้ายท้ายใหม่ในอนาคตได้”
นวัตกรรมไม่ได้มีเพียงมิติของการสร้างสรรค์หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เท่านั้น NIA จึงขยายการเข้าถึงโอกาสทางนวัตกรรมสู่ภูมิภาคมากขึ้น ผ่านการทำงานร่วมกับเครือข่ายภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และชุมชน เพื่อดึงอัตลักษณ์และจุดเด่นของแต่ละภูมิภาคมาสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ ดังตัวอย่าง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของภาคเหนือที่ติดอันดับ 1,000 เมืองที่มีระบบนิเวศทางสตาร์ทอัพที่ดีที่สุดในโลก เนื่องจากมีจุดเด่นหลากหลายด้านทั้งความเป็นเมืองสร้างสรรค์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยที่เข้มแข็ง ความน่าอยู่อาศัยของเมือง กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม การเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญระดับโลก ฯลฯ
ทั้งนี้ NIA ได้จัดตั้งสำนักงานภูมิภาคแห่งแรกขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาคทั้ง 11 จังหวัดพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งได้ทำความร่วมมือกับเทศบาลนครเชียงใหม่ในการส่งเสริมให้พื้นที่เทศบาลนครเชียงใหม่เป็นพื้นที่ทดลองใช้นวัตกรรมมาแก้ไขปัญหาและส่งเสริมชุมชนเมือง การพัฒนาย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอกเพื่อให้เป็นพื้นที่การเติบโตของธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์ และเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพของภูมิภาค อีกทั้งยังมีย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม้โจ้ ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูปเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว
–NIA เผยไทยครองอันดับ 43 ดัชนีนวัตกรรมโลกปี 65
สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นมีความโดดเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมและอาหารท้องถิ่น โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่ง NIA ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จัดกิจกรรมงานศิลปวัฒนธรรม และนวัตกรรมอาหารท้องถิ่นผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลขึ้น เพื่อยกระดับงานศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือในทางร่วมสมัย สอดรับกับสังคมยุคดิจิทัลและคนรุ่นใหม่ ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ ในระดับมาตรฐานสากล ตลอดจนสนับสนุนการสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นและศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นร่วมสมัยให้เป็นที่จดจำ โดยมีจังหวัดอุบลราชธานีเป็นต้นแบบการใช้เทคโนโลยีมาขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมที่ผสมผสานกับศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้แก่พื้นที่ได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังได้ลงพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ผ่านการสนับสนุนทั้งการให้ความรู้ เงินทุน และเครือข่าย โดยเน้นการพัฒนาและสร้างโอกาสในธุรกิจนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์สำหรับผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ของพื้นที่ ซึ่งตลอด 5 ปีที่ผ่านมา NIA ให้การสนับสนุนนวัตกรรมในกลุ่มจังหวัดชายแดนไปแล้ว 65 โครงการ มูลค่าการสนับสนุนกว่า 69.6 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าโครงการกว่า 132.7 ล้านบาท รวมถึงยังได้ริเริ่มจัดนิทรรศการแสดงผลงานนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด “The Southern Blooming” ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ภาคใต้ชายแดน เพื่อขยายช่องทางการทำธุรกิจรูปแบบใหม่ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ และก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งนอกจากจะเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ทั้งด้านพหุวัฒนธรรม วิถีชุมชน เศรษฐกิจ และสังคม ถือเป็นโอกาสในการการเปิดประตูสู่การเชื่อมโยงไปยัง AEC ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย รวมถึงได้ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ชายแดนใต้ที่ศึกษาในประเทศจอร์แดนให้มีมุมมองการพัฒนาธุรกิจและมีความพร้อมที่จะกลับมาเป็นผู้ประกอบการในพื้นที่ ตลอดจนสร้างโอกาสการขยายตลาดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมในประเทศจอร์แดน และประเทศภูมิภาคตะวันออกกลางอีกด้วย
การสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมของประเทศให้เข้มแข็งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมในการขับเคลื่อนนวัตกรรม ซึ่ง NIA ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับบริษัทขนาดใหญ่ในหลากหลายมิติ เช่น การพัฒนาศักยภาพเอสเอ็มอีผ่านหลักสูตร NIA-SCB Innovation – Based Enterprise (IBE) ร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ การบ่มเพาะและเร่งรัดการเติบโตของสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมอาหารระดับนานาชาติร่วมกับบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด การสร้างโอกาสการขยายผลนวัตกรรมด้านการเกษตรร่วมกับบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) การขยายตลาดผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) และบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด การขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมอารีย์ร่วมกับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือ AIS การส่งเสริมและสนับสนุนสตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึกด้านปัญญาประดิษฐ์-หุ่นยนต์-เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงและไอโอทีผ่านโครงการต่าง ๆ ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับ “เครือข่ายนวัตกรรมประเทศไทย” ทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา เอกชน และสมาคมกว่า 100 แห่ง ในการผลักดันไทยให้ไปสู่เป้าหมายการเป็นสู่ประเทศแห่งนวัตกรรม
NIA ได้ปรับเปลี่ยนบทบาทสู่การเป็น “ผู้อำนวยความสะดวกทางนวัตกรรม (Focal Facilitator)” ผ่านกลยุทธ์การดำเนินงานของ NIA ใน 4 ด้าน ได้แก่
“ทั้งนี้ การเข้าสู่ปีที่ 13 ของ NIA พร้อมกับการเริ่มต้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566 – 2570) ที่เน้น “การพลิกโฉมประเทศไทย” NIA หวังว่า “ชานชาลานวัตกรรมที่ 13” จะเป็นเลขนำโชคของระบบนวัตกรรมไทยให้เราก้าวสู่ประเทศแห่งนวัตกรรมได้ดั่งที่ตั้งเป้าหมาย” ดร.พันธุ์อาจ กล่าวทิ้งท้าย
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…