อินเทล ได้ประกาศเปิดตัวนวัตกรรมเทคโนโลยีสำคัญที่งาน Intel Innovation ซึ่งในปีนี้ได้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 แล้ว โดยมีเป้าหมายชูศักยภาพปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ให้ขยายไปสู่ทุกที่ทั่วโลก พร้อมช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง AI ได้ง่ายดายขึ้นในทุกเวิร์กโหลด ตั้งแต่ลูกค้า เอดจ์ไปจนถึงเครือข่ายและคลาวด์
แพท เกลซิงเกอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของอินเทล กล่าวว่า “AI เปรียบเสมือนนวัตกรรมตัวแทนแห่งการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย ก่อกำเนิดยุคใหม่ที่เทคโนโลยีได้ขยายแทรกซึมไปสู่ทุกที่ทั่วโลก โดยเฉพาะพลังการประมวลผลที่กลายเป็นรากฐานสำคัญสู่อนาคตที่ดีกว่าเพื่อทุกคนมากกว่าครั้งไหน และสำหรับบรรดานักพัฒนาแล้ว สิ่งนี้จะสร้างโอกาสมากมายมหาศาลต่อสังคมและธุรกิจที่ช่วยขยายขอบเขตความเป็นไปได้ เพื่อสร้างโซลูชั่นในการรับมือกับความท้าทายยิ่งใหญ่ที่โลกของเรากำลังเผชิญ และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนบนโลกใบนี้ให้ดียิ่งขึ้น”
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน Intel Innovation 2023
โดยประเด็นสำคัญที่นายแพทได้กล่าวถึงในช่วงเปิดงาน Intel Innovation เพื่อเหล่านักพัฒนา ได้แก่ การแสดงให้เห็นถึงศักยภาพ AI ที่อินเทลนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ และทำให้ AI สามารถเข้าถึงได้ผ่านโซลูชั่นสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ที่หลากหลาย (Multi-Architecture Software Solutions) และนายแพทยังได้เน้นย้ำว่า AI นั้นช่วยขับเคลื่อน Siliconomy หรือ เศรษฐกิจที่เติบโตด้วยพลังของซิลิคอนและซอฟต์แวร์ ซึ่งปัจจุบัน ซิลิคอนมีส่วนช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่มีมูลค่าสูงถึงราว 574 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 20 ล้านล้านบาท ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกกรรมเทคโนโลยีทั่วโลกราวกว่า 8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 285 ล้านล้านบาท
เริ่มด้วยนวัตกรรมซิลิคอน อินเทลกำลังเดินหน้าโปรแกรมพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการ 5 โหนดให้สำเร็จภายใน 4 ปีซึ่งมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง นายแพทยังได้กล่าวว่า Intel 7 เดินเครื่องการผลิตอย่างเต็มที่เพื่อตอบสนองปริมาณความต้องการที่ค่อนข้างมาก รวมถึง Intel 4 ที่พร้อมสำหรับการผลิตและ Intel 3 ที่อยู่ในแผนในการเปิดตัวในช่วงปลายปีนี้
นอกจากนี้ นายแพทยังได้นำ Intel 20A wafer มาโชว์ภายในงานพร้อมกับการทดสอบชิปครั้งแรกสำหรับโปรเซสเซอร์ Arrow Lake ของอินเทลที่ถูกออกแบบมาเพื่อการประมวลผลของลูกค้าในปี 2567 โดย Intel 20A จะเป็นโหนดกระบวนการตัวแรกที่รวมเอา PowerVia เทคโนโลยีการจ่ายพลังงานด้านหลังของอินเทล (backside power delivery technology) และทรานซิสเตอร์รูปแบบใหม่อย่าง gate-all-around หรือที่เรียกว่า RibbonFET เข้าไว้ด้วยกัน รวมถึง Intel 18A ที่ใช้ PowerVia และ RibbonFET ที่เตรียมเปิดตัวพร้อมผลิตในช่วงครึ่งหลังของปี 2567
และเพื่อต่อยอดไอเดียเรื่องกฎของมัวร์ (Moore’s Law) อินเทลยังได้เน้นใช้วัสดุและเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ใหม่ อาทิเช่น พื้นผิวกระจก ซึ่งถือเป็นความสำเร็จใหม่ล่าสุดของอินเทลที่เพิ่งประกาศในสัปดาห์นี้ นวัตกรรมพื้นผิวกระจกที่ได้เปิดตัวปลายทศวรรษนี้ จะช่วยปรับขนาดของทรานซิสเตอร์แพ็คเกจบนบรรจุภัณฑ์ได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการเวิร์กโหลดประสิทธิภาพสูงที่ใช้ข้อมูลจำนวนมาก เช่น AI สอดคล้องกับกฎของมัวร์ที่ยังคงสร้างสรรค์และขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ไปไกลกว่าปี 2573
ภายในงานอินเทลยังได้จัดแสดงแพ็คเกจชิปทดสอบที่สร้างด้วย Universal Chiplet Interconnect Express (UCIe) และนายแพทยังได้เผยถึงก้าวถัดไปของกฎของมัวร์จะมาพร้อมกับชิปเล็ตที่มาจากหลากหลายค่ายในแพ็คเกจเดียว ซึ่งมีแนวโน้มจะเปิดตัวเร็วขึ้นได้หากมาตรฐานแบบเปิดสามารถลดอุปสรรคในการบูรณาการ IP ได้ นอกจากนี้ มาตรฐาน UCIe ซึ่งได้มีการกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว จะช่วยให้ชิปเล็ตจากต่างค่ายสามารถทำงานร่วมกันได้ ช่วยให้ดีไซน์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดีไวซ์ใหม่ ๆ สามารถขยายเวิร์กโหลดของ AI ให้หลากหลายได้มากขึ้น โดยปัจจุบันมีบริษัทมากกว่า 200 แห่งได้สนับสนุนคุณสมบัติมาตรฐานแบบเปิดนี้
ชิปทดสอบได้รวมเอาชิปเล็ต Intel UCIe IP ที่สร้างขึ้นบน Intel 3 และชิปเล็ต IP Synopsys UCIe ที่สร้างขึ้นบนโหนดกระบวนการ TSMC N3E เข้าด้วยกัน โดยชิปเล็ตทั้งสองจะเชื่อมต่อกันผ่านการใช้เทคโนโลยีแพ็คเกจขั้นสูงอย่าง Embedded Multi-die Interconnect Bridge หรือ EMIB การสาธิตการใช้งานได้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ TSMC, Synopsys และ Intel Foundry Services ในการทำหน้าที่สนับสนุนระบบนิเวศชิปเล็ตที่ใช้มาตรฐานแบบเปิดกับ UCIe
นายแพท ยังได้เน้นย้ำถึงความหลากหลายของเทคโนโลยี AI ที่อยู่บนแพลตฟอร์มของอินเทลที่นักพัฒนาสามารถนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และศักยภาพที่หลากหลายของ AI จะยิ่งทวีคูณมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีต่อ ๆ ไป
ผลลัพธ์ของประสิทธิภาพการอนุมาน MLPerf ครั้งล่าสุด ตอกย้ำความมุ่งมั่นของอินเทลในการแก้ไขปัญหาทุกขั้นตอนของ AI ซึ่งรวมถึง Generative AI ที่มีความท้าทายมากที่สุด รวมถึงโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Models) นอกจากนี้ ผลลัพธ์ยังแสดงให้เห็นว่าชิปเร่งความเร็ว Intel® Gaudi®2 เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในตลาดสำหรับความต้องการด้านการประมวลผล AI นายแพทประกาศว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ AI ขนาดใหญ่จะสร้างบนโปรเซสเซอร์ Intel Xeon และ Intel Gaudi2 ตัวเร่งความเร็วฮาร์ดแวร์ด้วย AI จำนวน 4,000 ตัวโดยมี StabilityAI เป็นหัวใจสำคัญ
จิงเหริน โซว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอาลีบาบา คลาวด์ กล่าวเสริมว่า อาลีบาบาใช้ โปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® เจนเนอเรชั่น 4 ที่มีชิปเร่งความเร็วที่ติดตั้งมาในอุปกรณ์ร่วมกับ Generative AI และโมเดลภาษาขนาดใหญ่ของอาลีบาบา คลาวด์ อย่าง Tongyi Foundation Models นายจิงเหรินกล่าวว่า “เทคโนโลยีของอินเทลทำให้การตอบสนองเร็วขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งความเร็วเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า”
นอกจากนี้ อินเทล ยังได้แสดงตัวอย่างโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® เจนเนอเรชั่นถัดไป โดยเผยให้เห็นว่าโปรเซสเซอร์ Intel® Xeon® เจนเนอเรชั่น 5 จะผสมผสานการเสริมประสิทธิภาพและหน่วยความจำที่เร็วขึ้นเข้าด้วยกันให้แก่ดาต้าเซนเตอร์ทั่วโลกโดยที่ยังใช้พลังงานเท่าเดิม โดยเตรียมเปิดตัวในวันที่ 14 ธันวาคม 2566 นี้ ในขณะที่ Sierra Forest ซึ่งเป็นเทคโนโลยี E-core ที่เตรียมจะเปิดตัวในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 จะช่วยเพิ่มปริมาตรของพื้นที่ตู้จัดเก็บเซิร์ฟเวอร์ได้มากขึ้นถึง 2.5 เท่าและประสิทธิภาพต่อวัตต์ที่สูงขึ้น 2.4 เท่า เมื่อเทียบกับ Intel® Xeon® เจนเนอเรชั่น 4 และจะรวมเทคโนโลยี E-core เวอร์ชันที่มีจำนวนคอร์สูงสุดถึง 288 คอร์ และ Granite Rapids ซึ่งมาพร้อมประสิทธิภาพของ P-core และเตรียมเปิดตัวต่อจาก Sierra Forest นำเสนอประสิทธิภาพ AI ที่ดีขึ้น 2 ถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับ Intel® Xeon® เจนเนอเรชั่น 4
เมื่อมองไปถึงอนาคตข้างหน้าในปี 2568 นวัตกรรม Intel® Xeon® E-core รุ่นถัดไป (โค้ดเนม Clearwater Forest) จะดำเนินการบนโหนดกระบวนการ Intel 18A
แพท กล่าวว่า “AI กำลังจะตอบสนองความต้องการเฉพาะตัวมากขึ้นเช่นกัน โดย AI จะเปลี่ยนโฉม ปรับรูปแบบ และปรับโครงสร้างประสบการณ์พีซีโดยพื้นฐาน ซึ่งจะปลดปล่อยประสิทธิภาพและความคิดสร้างสรรค์แบบเฉพาะบุคคลผ่านพลังของระบบคลาวด์และพีซีที่ทำงานร่วมกัน เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่แห่งพีซี AI”
ประสบการณ์พีซีใหม่นี้มาพร้อมกับโปรเซสเซอร์ Intel Core Ultra ที่กำลังจะเปิดตัวภายใต้โค้ดเนม Meteor Lake ซึ่งมีหน่วยประมวลผลเชิงประสาทเทียมแบบบูรณาการตัวแรกของอินเทลหรือ NPU เพื่อการเร่งความเร็ว AI ที่ประหยัดพลังงานและใช้การอนุมานเฉพาะบนพีซี โดยนายแพทยืนยันว่า Intel Core Ultra จะเปิดตัวในวันที่ 14 ธันวาคม 2566 นี้เช่นกัน
Intel Core Ultra เปรียบเสมือนจุดพลิกโฉมสำคัญของแผนพัฒนาโปรเซสเซอร์สำหรับลูกค้าของอินเทล โดยถือเป็นดีไซน์ชิปเล็ตสำหรับลูกค้าตัวแรกของอินเทลที่ใช้เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ที่เรียกว่า Foveros นอกเหนือจากหน่วยประมวลผล NPU และความก้าวหน้าสำคัญด้านประสิทธิภาพและการประหยัดพลังงานด้วยเทคโนโลยีการประมวลผล Intel 4 แล้ว โปรเซสเซอร์ใหม่นี้ยังโดดเด่นด้วยประสิทธิภาพกราฟิกระดับแยกด้วยกราฟิก Intel® Arc™
ยิ่งไปกว่านั้น นายแพทยังได้โชว์การใช้งานพีซีแบบ AI ใหม่ ๆ มากมาย และนายเจอรร์รี่ เกา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ Acer ได้เผยตัวอย่างแล็ปท็อป Acer ที่กำลังจะเปิดตัวเร็ว ๆ นี้ ซึ่งขับเคลื่อนโดย Intel Core Ultra โดยนายเจอร์รี่กล่าวว่า “เราได้ทำงานร่วมกับอินเทลในการพัฒนาชุดแอปพลิเคชัน Acer AI โดยใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์ม Intel Core Ultra ซึ่งพัฒนาขึ้นมาด้วยชุดเครื่องมือ OpenVINO และไลบรารี AI ที่เราพัฒนาร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์ฮาร์ดแวร์ให้กับแล็ปท็อปใหม่ล่าสุดของเรา”
แพท กล่าวต่อว่า “ในอนาคต AI จะต้องช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี รวมถึงความสามารถในการปรับขนาด การมองเห็น ความโปร่งใส และความไว้วางใจให้กับระบบนิเวศทั้งหมดได้มากยิ่งขึ้นกว่าที่เคย”
เพื่อช่วยให้นักพัฒนาปลดล็อกศักยภาพแห่งอนาคตนี้ อินเทลได้เปิดตัวไฮไลท์สำคัญ ได้แก่
เปิดตัว vivo V50 สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดในตระกูล V Series ที่มาพร้อมคอนเซปต์ "ถ่ายที่รักอย่างโปร" ชูจุดเด่นกล้อง ZEISS ความละเอียด 50 ล้านพิกเซลรอบด้าน อัดแน่นด้วยฟีเจอร์ AI…
กระแสชาไทย Specialty ฟีเวอร์! ข้อมูลจาก LINE MAN เผยให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด "ชาไทย Specialty" ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่มียอดสั่งซื้อทะยาน 81% ร้านใหม่ตบเท้าเปิดตัวเพิ่มขึ้นถึง…
China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…
AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…
ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…
ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…