ปีที่แล้ว เราพูดถึงการให้ความสำคัญมากขึ้นกับเอดจ์สำหรับอุตสาหกรรม ว่าเป็นปัจจัยเร่งการปรับกระบวนการสู่ดิจิทัลและเป็นสิ่งจำเป็นในการเพิ่มการประมวลผลแบบเรียลไทม์ การผสานรวมของโลกเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยในเรื่องนี้ และเป็นความท้าทายสำหรับบริษัทด้านอุตสาหกรรมอีกหลายแห่งเช่นกัน
โลกไอทีถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ในขณะที่โลกโอทีถูกขับเคลื่อนด้วยการผลิต ซึ่งเป็นการผลิตต่อหน่วยต่อชั่วโมง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ความปลอดภัยของบุคลากร ฯลฯ ในปัจจุบัน ถ้าจะมีการบริหารจัดการการผลิต ก็เพื่อดูแลค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกำไรเพิ่ม และสร้างความยั่งยืน ฯลฯ ซึ่งก็ต้องอาศัยข้อมูลจากระบบธุรกิจ แล้วบรรดาคนไอทีเหล่านั้นล่ะ? คนไอทีมักจะรู้แค่เรื่องสองเรื่องเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งเป็นรากฐานที่ช่วยให้ระบบเหล่านี้แข็งแกร่ง ซึ่งจะสำเร็จได้นั้น ก็คือทั้งไอทีและโอทีจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน
–SCB 10X ประกาศร่วมลงทุนใน “Nansen” แพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลบนระบบบล็อกเชน
–ไปรษณีย์ไทย เตรียมขยายโซลูชันบริการ “การแพทย์ทางไกล” จัดส่งยา – เวชภัณฑ์ ให้พื้นที่ห่างไกล
นั่นคือเหตุผลที่เราได้ทำงานร่วมกับซิสโก้ โดยดึงเอาประสบการณ์ด้านไอที/โอที รวมกันกว่า 85 ปีมาช่วยลูกค้าของเราเชื่อมความแบ่งแยกทางเทคโนโลยีและวัฒนธรรมการทำงานเข้าหากัน เราได้ทบทวนแนวทางด้านระบบออโตเมชันเพื่อนำประโยชน์ที่ดีที่สุดของไอทีมาใช้ได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น เพื่อช่วยลูกค้าตอบโจทย์ความต้องการเรื่องความคล่องตัวได้ในศตวรรษที่ 21 และเราก็ได้เห็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจในหลายประการด้วยกัน
การผนึกกำลังระหว่างไอทีและโอที ช่วยแก้ปัญหาความท้าทายของอุตสาหกรรมปัจจุบัน
เมื่อเร็วๆ นี้ ซิสโก้และชไนเดอร์ อิเล็คทริค(Schneider Electric) ได้ช่วยบริษัททำเหมืองแห่งใหญ่ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสามของโลก เปลี่ยนวิสัยทัศน์แห่งอนาคตสู่ความเป็นจริงได้ เพื่อปรับปรุงเรื่องการดำเนินการของเหมืองได้อย่างยั่งยืน พร้อมกับดึงดูดคนทำงานใหม่ๆ บริษัทฯ จึงตัดสินใจเพิ่มระบบออโตเมชั่นด้านการดำเนินงานและเพื่อให้ควบคุมเหมืองต่างๆ ได้จากระยะไกล
การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการภูมิภาคส่วนกลางสำหรับเหมืองแร่เหล็กในประเทศออสเตรเลีย ช่วยให้สามารถดำเนินการในส่วนของเหมืองทั้งหมด รวมถึงระบบรางและท่าเรือได้จากที่เดียว ระบบออโตเมชันที่มีการเชื่อมโยงกับระบบตั้งตารางเวลา (scheduling systems) ช่วยลดการสูญเสียพลังงานในระหว่างการขนส่ง ในขณะที่ศูนย์ควบคุมจากส่วนกลางซึ่งอยู่ใกล้กับศูนย์กลางประชากรหลักๆ ยังช่วยลดความจำเป็นโดยที่พนักงานไม่ต้องทำงานในสถานที่ห่างไกล
องค์ประกอบหลักบางประการของโครงการ ได้แก่
1. ระบบรถบรรทุกเหมืองที่ทำงานได้แบบอัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้ขนย้ายสิ่งต่างๆ ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มผลิตผล รถบรรทุกต่างๆ ถูกบริหารจัดการด้วยระบบควบคุมดูแลจากส่วนกลาง แทนการใช้คนขับรถแต่ละคนดำเนินการ
2.ใช้สว่านแบบอัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ดำเนินการคนเดียวสามารถดำเนินการหลายแท่นเจาะโดยใช้คอนโซลควบคุมจากระยะไกลได้
3.ติดตั้งระบบรถไฟพร้อมคนขับที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเพียงอย่างเดียว โดยช่วยเพิ่มความเร็วทั่วเครือข่ายและลดเวลาโดยเฉลี่ยในแต่ละรอบ
ซิสโก้ และชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ประสานความร่วมมือในการจัดหาเครือข่ายและอุปกรณ์ที่เป็นระบบออโตเมชั่นสำหรับระบบไอทีเหมืองและส่วนที่เป็นโอที เพื่อช่วยให้ลูกค้าตระหนักถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของทีมงานโอทีในแต่ละปีได้มากถึง 1 ล้านยูโร หรือเกือบ 38 ล้านบาท
ประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาปัตยกรรมระบบงาน IT/OT ในระดับเวิลด์คลาส
ซิสโก้ และชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาสถาปัตยกรรมอ้างอิงด้านระบบออโตเมชั่น OT/IT สำหรับอุตสาหกรรม (OT/IT Industrial Automation Reference Architecture) ซึ่งให้ศักยภาพเชิงระบบนิเวศด้านการผลิตที่สอดประสานระหว่างไอทีและโอที ให้ความปลอดภัย และช่วยให้ลูกค้าผสานรวมทั้งธุรกิจและข้อมูลจากกระบวนการทำงานได้อย่างปลอดภัย ให้มุมมองเชิงลึก ซึ่งนำไปสู่การยกระดับใหม่ด้านประสิทธิภาพของอุตสาหรรม
สถาปัตยกรรมดังกล่าว เพิ่มศักยภาพให้อุตสาหกรรมในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ด้วยแนวทางที่มุ่งเน้นให้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางในการควบรวมการทำงาน รองรับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่จำเป็นต่อการสนับสนุนกระบวนการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ประโยชน์ที่ได้รับบางประการได้แก่
-ช่วยให้ฝ่ายไอทีและโอทีทำงานร่วมกัน เพื่อลดพื้นที่การโจมตีบนไซเบอร์ อีกทั้งตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็ว และดำเนินการได้สอดคล้องตามกฏระเบียบข้อบังคับ
-ช่วยให้มั่นใจเรื่องของการผสานรวมด้านการผลิตเป็นหนึ่งเดียวและให้ความปลอดภัย โดยมีการฝังระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ไว้ในสภาพแวดล้อมด้านโอที
-ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ดีขึ้น ขยายช่วงเวลาในการผลิตได้สูงสุด และให้ความยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้ระบบวิเคราะห์ มีการประมวลผลที่แม่นยำ รวมถึงการสนับสนุนการตัดสินใจได้แบบเรียลไทม์
โลกโอทีที่ช่วยผสานการทำงานร่วมกันระหว่าง IT/OT และการปฏิรูปสู่ดิจิทัลมีอะไรใหม่บ้าง?
หลายอย่างเปลี่ยนไปตั้งแต่ที่เราได้คิดค้นระบบควบคุมด้วยการตั้งโปรแกรมทำงานได้เป็นเวลากว่า 50 ปีมาแล้ว การตอบรับอุตสาหกรรม 4.0 ต้องอาศัยข้อมูลที่นำมาใช้งานได้อย่างอิสระและปลอดภัย ทั้งจากผลิตภัณฑ์ประเภทสมาร์ททั้งหลายจนถึงคลาวด์ ความก้าวหน้าของการปฏิรูปอุตสาหกรรมไปเร็วและจะเร็วขึ้นเรื่อยๆ เราต้องมอบระบบออโตเมชั่นที่สามารถรองรับความก้าวหน้าในอัตรารวดเร็วเช่นปัจจุบันได้ อีกทั้งต้องมอบความคล่องตัวซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอนาคตให้กับลูกค้า โดยในการช่วยให้ลูกค้าอุตสาหกรรมผสานรวม IT/OT เข้าด้วยกัน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อนำความคล่องตัวมาไว้ในระบบออโตเมชั่นของเราเช่น EcoStruxure Automation Expert ได้มากยิ่งขึ้น เป้าหมายก็คือการรวมข้อมูลทางธุรกิจเพื่อการตัดสินใจด้านการดำเนินงาน และข้อมูลส่วนปฏิบัติการเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ เรื่องนี้ ต้องอาศัยเทคโนโลยี แนวทางปฏิบัติ และทักษะที่ดีที่สุดทั้ง IT และ OT เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการผสานรวม IT/OT จะทำงานได้เป็นอย่างดี
โดยโซฟี บอร์กเน่ รองประธานอาวุโส ฝ่ายธุรกิจระบบดิจิทัลสำหรับโรงงาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค(Schneider Electric)
ในยุคที่โลกหมุนเร็วด้วยเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว การทำความเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับแบรนด์ต่างๆ และหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายที่ทรงอิทธิพลที่สุดในปัจจุบันก็คือ Gen Z หรือคนรุ่นใหม่ที่เกิดระหว่างปี 1997 ถึง 2012 พวกเขาเติบโตมากับโลกดิจิทัล มีมุมมองที่แตกต่าง และให้ความสำคัญกับคุณค่าที่หลากหลาย บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกถึง Gen Z…
"ฟอร์ติเน็ต" เผยรายงานช่องว่างด้านทักษะไซเบอร์ ชี้ 92% ขององค์กรในไทยเผชิญภัยคุกคามจากปัญหาขาดแคลนบุคลากร แนะ 3 แนวทางรับมือ ผนึกกำลังภาครัฐ-เอกชน สร้าง "กองทัพไซเบอร์" ปกป้องเศรษฐกิจดิจิทัล ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยรายงานช่องว่างด้านทักษะความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลกประจำปี 2024…
FUJIFILM Business Innovation (Thailand) Co., Ltd., a leading provider of office solutions and innovative printing…
FUJIFILM Business Innovation ผู้ให้บริการโซลูชันสำนักงานและเครื่องพิมพ์ ประกาศทิศทางกลยุทธ์ไตรมาส 3 ปี 2024 ภายใต้แนวคิด "Make a Leap to the New…
Solar D เปิดตัว “หุ่นยนต์ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์” นวัตกรรมสุดล้ำ Light Speed ติดตั้งเร็วกว่าแรงงานคนถึง 10 เท่า! ชูจุดเด่นลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ หนุนเป้าหมายเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ปี 2569…
วันนี้ (26 พฤศจิกายน 2567) นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม…