IT Security

เน็ตแอพเปิด 5 วิธี จัดการกับแรนซัมแวร์ด้วยแนวทางความยืดหยุ่นทางไซเบอร์ที่เน้นข้อมูลเป็นศูนย์กลาง

ข้อมูลในยุคปัจจุบันมีมูลค่าและมีความเปราะบางอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ข้อมูลกลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวดสำหรับองค์กรจำนวนมากในปัจจุบัน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน จุดประกายนวัตกรรม และสร้างประสบการณ์ที่โดดเด่น ควบคู่ไปกับการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), การเรียนรู้ของเครื่องจักร (ML), คลาวด์ และอื่น ๆ การพึ่งพาข้อมูลขององค์กรจึงเติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และผลกระทบอันเลวร้ายของแรนซัมแวร์ก็เช่นเดียวกันโดยรายงานจาก Cloud Complexity Report ปี 2024 ของ NetApp เปิดเผยว่า 60% ของบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ระบุว่า “ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น” เป็นความกังวลสูงสุดในยุค AI นี้ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจาก Check Point Software Technologies ยังชี้ให้เห็นว่าองค์กรในประเทศไทยเผชิญการโจมตีทางไซเบอร์ที่มากถึง 1,892 ครั้งต่อสัปดาห์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2023 สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกของการโจมตีรายสัปดาห์ที่ 1,040 ครั้งอย่างมาก

ในขณะที่ความถี่ของการโจมตีทางไซเบอร์และความซับซ้อนของการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ยังคงเพิ่มสูงขึ้น สิ่งนี้เรียกร้องให้องค์กรต่าง ๆ มีการดำเนินการจัดการอย่างเร่งด่วนในการปรับใช้กลยุทธ์ที่ประสานงานกันหลายชั้นเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางไซเบอร์ ซึ่งส่วนสำคัญของกลยุทธ์นี้คือการรับรองให้หน่วยเก็บข้อมูลระดับองค์กรทำหน้าที่เป็นแนวรับสุดท้ายเพื่อปกป้องสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุด นั่นคือข้อมูล

ความยืดหยุ่นทางไซเบอร์ – แนวทางที่เน้นข้อมูลเป็นศูนย์กลางในการปกป้องและรักษาความปลอดภัย

ความยืดหยุ่นทางไซเบอร์ไม่ได้หมายถึงแค่การป้องกันการโจมตีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสามารถในการกู้คืนและการปกป้องข้อมูลขององค์กรด้วย บ่อยครั้งที่ความซับซ้อนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้นทุนและเวลาในการสำรองข้อมูลและการกู้คืนระบบหลังภัยพิบัติสูงขึ้น หากการโจมตีสามารถฝ่าแนวป้องกันด่านแรกขององค์กรได้ ความสามารถในการกู้คืนข้อมูลสำเนาที่มีจุดเวลาล่าสุดในระดับที่ละเอียดจึงเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็ว และนำข้อมูลและแอปพลิเคชันกลับมาใช้งานโดยมีการหยุดชะงักน้อยที่สุด

5 ขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์ความยืดหยุ่นทางไซเบอร์สำหรับองค์กร

  • ระบุ: เริ่มด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมด้าน IT และกระบวนการป้องกันข้อมูลและความปลอดภัยในปัจจุบันขององค์กร รวมถึงการจำแนกประเภทและระบุตำแหน่งของชุดข้อมูลทั้งหมดตามมูลค่าของข้อมูล พร้อมกับการประเมินสิทธิ์การเข้าถึง นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือองค์กรต้องเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการจัดทำรายการข้อมูลเริ่มต้นนี้ เนื่องจากการดำเนินการด้วยตนเองอาจใช้เวลานานและทำให้เกิดความสับสนในกระบวนการป้องกันและกู้คืนในภายหลัง ต่อมาคือการระบุและกำหนดตำแหน่งการไหลของข้อมูลและธุรกรรมที่ละเอียดอ่อนจะสร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการโต้ตอบของผู้ใช้กับทรัพยากร แอปพลิเคชัน บริการ และปริมาณงาน ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการนำโมเดลความปลอดภัยแบบ Zero-Trust มาใช้งาน
  • ปกป้อง: หลังจากระบุข้อมูลแล้ว องค์กรจะต้องสร้างมาตรการปกป้องข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการเข้ารหัส การสำรองข้อมูล การจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การควบคุมการเข้าถึง การป้องกันขอบเขต การอัปเดตซอฟต์แวร์ และการฝึกอบรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ กระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดวัตถุประสงค์ของเวลาการกู้คืนและวัตถุประสงค์ของจุดกู้คืน (RTO และ RPO) สำหรับข้อมูลแต่ละหมวดหมู่ ในสภาพแวดล้อมแบบ Zero-Trust องค์ประกอบดิจิทัลที่สำคัญแต่ละองค์ประกอบจะถูกแยกเพิ่มเติมด้วยการควบคุมและตัวกรองแบบไมโคร เพื่อช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถแยกผู้ใช้ที่ประสงค์ร้าย ขัดขวางการติดไวรัส และป้องกันการลบข้อมูลได้
  • ตรวจจับ: การตรวจจับมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการก้าวล้ำหน้าไปกว่ามิจฉาชีพและภัยคุกคามอื่น ๆ เพื่อต่อต้านภัยคุกคามอย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมแบบ Zero-Trust นี้ และองค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการตรวจจับและการจัดการแบบรวมศูนย์ ซึ่งเครื่องมือ AI และ ML สมัยใหม่สามารถใช้ประโยชน์จากการระบุกิจกรรมที่น่าสงสัยก่อนที่สถานการณ์จะบานปลาย โดย เน็ตแอพเป็นหนึ่งในบริษัทแรก ๆ ที่ผสานรวม AI และ ML เข้ากับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลักขององค์กรโดยตรงเพื่อต่อสู้กับแรนซัมแวร์แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ การตรวจสอบอย่างต่อเนื่องด้วยมุมกว้างที่ครอบคลุมสำหรับข้อมูลทั้งหมด ทั้งภายในองค์กรและสภาพแวดล้อมคลาวด์ จะสามารถให้ภาพรวมที่ครอบคลุมสำหรับการตอบสนองที่รวดเร็วและการป้องกันภัยคุกคามได้อีกด้วย
  • ตอบสนอง: การนำโซลูชันที่สามารถช่วยให้บล็อกบัญชีผู้ใช้ที่เป็นอันตรายโดยอัตโนมัติและสร้างจุดกู้คืนที่ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อตรวจพบภัยคุกคามได้อย่างเชิงรุก สิ่งนี้สามารถลดความเสียหายเพิ่มเติมและช่วยป้องกันการโจรกรรมข้อมูลได้
  • กู้คืน: เวลาหยุดทำงาน หรือ downtime สามารถลดลงได้โดยใช้การตรวจสอบทางนิติวิทยาศาสตร์แบบอัจฉริยะเพื่อระบุแหล่งที่มาของภัยคุกคาม พร้อมกำหนดลำดับเป้าหมายข้อมูลที่จะกู้คืน โดยความสามารถในการกู้คืนข้อมูลอย่างรวดเร็ว จะส่งผลให้บริษัทต่าง ๆ สามารถช่วยเร่งการกู้คืนการปฏิบัติงาน และนำแอปพลิเคชันที่สำคัญกลับมาออนไลน์ได้อย่างรวดเร็วที่สุด

เมื่อภัยของแรนซัมแวร์มาถึง ทุกวินาทีมีความหมาย องค์กรต่างๆ ต้องตระหนักว่าการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์จะเกิดขึ้นกับทุกคนในที่สุด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือองค์กรจะสามารถปกป้องข้อมูลได้อย่างไรแบบเชิงรุก ตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการโดยอัตโนมัติเพื่อปกป้องข้อมูลแบบเรียลไทม์

ด้วยการนำแนวทางที่ถูกต้องมาใช้และใช้ประโยชน์จาก AI บริษัทต่างๆ จึงสามารถตรวจจับภัยคุกคามในสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดและมัลติคลาวด์ที่ซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว และป้องกันการหยุดชะงักของการดำเนินงานได้อย่างมั่นใจ

ฟอร์ติเน็ต เผยผลวิจัยภัยคุกคาม ชี้อาชญากรไซเบอร์ นำช่องโหว่ใหม่ในอุตสาหกรรมมาใช้โจมตีได้เร็วขึ้น 43% เทียบกับครึ่งแรกของ 2023

supersab

Recent Posts

แกะกล่อง Xperia 10 VI รุ่นน้องที่คลานตามรุ่นพี่มาติดๆ ในราคา 16,990 บาท

สวัสดีครับ วันนี้ Biztalk Gadget จะพามา แกะกล่อง Xperia 10 VI จากค่าย Sony ที่เปิดตัวใหม่เป็นประจำทุกปี โดยซีรีส์ 10 จะถือว่าเป็นน้องเล็กสุด…

15 hours ago

Lenovo เปิดตัว ThinkPad P1 Gen 7 เวิร์กสเตชันรุ่นพกพาที่มาพร้อม AI เทคโนโลยี

Lenovo เปิดตัวโมบายเวิร์กสเตชันพกพารุ่นใหม่ล่าสุด ได้แก่ ThinkPad P1 Gen 7, P16v i Gen 2, P16s i Gen 3…

1 day ago

AIS ร่วมกับ สพฐ และ มจธ. ปั้นครีเอเตอร์วัยทีน เปิดเวทีส่งคลิปสั้นเสริมทักษะ รู้ทันภัยไซเบอร์ กับกิจกรรม “อุ่นใจไซเบอร์ Young Creator Challenge 2024”

จากการทำงานร่วมกันของ AIS สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนุบรี (มจธ.) ในการนำหลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ด้านทักษะดิจิทัลหลักสูตรแรกของไทยที่ได้รับมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่วันนี้ถูกส่งต่อไปยังโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ที่ครอบคลุมเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 245…

1 day ago

Huawei Digital Power เปิดตัว FusionCharge ใหม่ ระบายความร้อนด้วยของเหลวสำหรับโซลูชันชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบชาร์จเร็วพิเศษ สุดล้ำในไทย

Huawei Digital Power เดินหน้าขับเคลื่อนเทคโนโลยีการชาร์จพลังงานไฟฟ้าแห่งอนาคต เปิดตัวโซลูชัน FusionCharge ใหม่ ที่ใช้นวัตกรรมการระบายความร้อนด้วยของเหลว (liquid-cooled) เร็วพิเศษ (ultra-fast) ในประเทศไทย ภายในงานมหกรรมพลังงานที่ยั่งยืนแห่งอาเซียน (ASEAN Sustainable…

2 days ago

ไปรษณีย์ไทย เปิดตำนานการทายผลบอลสุดแปลก ที่นักเก็งผลกีฬาทั่วโลกต้องจารึก

ถ้าจะพูดถึงกีฬาที่แฟน ๆ ทั่วโลกตั้งตารับชมกันมากที่สุดคงหนีไม่พ้นฟุตบอล ที่ไม่ว่าจะบิ๊กแมตช์หรือการแข่งขันไหนก็มักจะได้ยินเสียงเฮจากบรรดากองเชียร์ อีกทั้งเราก็มักจะได้เห็นการสร้างสรรค์แคมเปญจากแบรนด์ต่าง ๆ ที่ให้ทุกคนได้ร่วมสนุกกับกีฬาฟุตบอล โดยในหลาย ๆ กิจกรรมก็ต้องบอกเลยว่าสนุกและครีเอทชนิดที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว สำหรับในไทย แคมเปญการเชียร์บอลที่บรรดาคอบอลต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ามันส์และลุ้นที่สุดก็คือ แคมเปญเชียร์บอลให้มัน เฮลั่นรับโชค ทุกที่ทุกเวลา…

2 days ago

HONOR ชวนร่วมกิจกรรม The Ai Portrait Studio Event พบเซอร์ไพรส์พิเศษ พร้อมโปรโมชันสุดปัง 6 – 7 ก.ค.นี้ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

ออเนอร์ (HONOR) จัดกิจกรรมพิเศษ “HONOR 200 Series - The Ai Portrait Studio Event” เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟน HONOR 200…

2 days ago