แคสเปอร์สกี้เผยผลรายงานฉบับล่าสุดจัดทำโดย ทีมงาน Kaspersky Digital Footprint Intelligence ระบุการทำธุรกรรมในวงการดาร์กเว็บว่า ในช่วงปี 2020-2022 อาชญากรไซเบอร์มีการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับบริการ Escrow ของดาร์กเว็บมากกว่า 1 ล้านครั้ง โดย Escrow เป็นผู้ให้บริการแบบ third party ที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าคนกลางในการใช้บริการของดาร์กเว็บเพื่อป้องกันการฉ้อโกง โดยให้บริการกับบรรดาอาชญากรไซเบอร์ที่ต้องการซื้อหรือขายข้อมูล บริการต่าง ๆ หรือรวมถึงการสร้างพันธมิตร โดยจะหักค่าหัวคิวจากการทำธุรกรรมตั้งแต่ 3 – 15% อย่างไรก็ดี แม้จะมีการใช้บริการดังกล่าวแต่ก็ยังพบว่ามีดีลธุรกรรมที่ไม่ประสบความสำเร็จจากหลากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคือการหลอกลวงที่มี Escrow เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
–Whoscall รายงานประจำปี 2565 เผยยอดสายมิจฉาชีพพุ่ง 165% เบอร์มือถือคนไทยรั่วไหลกว่า 13 ล้านเบอร์
ทีมงานแคสเปอร์สกี้พบว่า บรรดาอาชญากรไซเบอร์ที่ทำการบนดาร์กเน็ตนั้นมีความกังวลต่อความปลอดภัยของตนเองอยู่ไม่น้อยเลย และไม่ต้องการที่จะตกเป็นเหยื่อการโจมตีจาก “เพื่อนร่วมอาชีพ” ทุกครั้งที่มีการปิดดีลต่าง ๆ เช่น การซื้อขายข้อมูล บัญชี หรือการเข้าถึงฐานข้อมูลองค์กรใด ๆ ก็ตาม บรรดาอาชญากรเหล่านี้จะเลือกใช้บริการจากนายหน้าอย่าง Escrow ซึ่งมีทั้งแบบที่เป็นตัวบุคคลและระบบอัตโนมัติที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้บริการสำหรับดีลทั่วไปที่ไม่มีอะไรซับซ้อนได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่กับดีลที่มีมูลค่าสูงหรือเป็นเรื่องเฉพาะด้านก็จะเลือกใช้นายหน้าที่เป็นตัวบุคคลแทน
คริส คอนเนล กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ ระบุว่า “อาชญากรไซเบอร์กำลังอาละวาดอยู่บนดาร์กเว็บ และพบว่ามีการทำธุรกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง บริการ Escrow จึงถือกำเนิดขึ้นตามมา แต่พฤติกรรมการฉ้อโกงที่เกี่ยวข้องกับบริการดังกล่าวก็เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ก่อความไม่สงบเรียบร้อยให้กับวงการดาร์กเว็บ นี่จึงเป็นข้อสังเกตว่าแม้แต่อาชญากรไซเบอร์ที่สร้างปัญหาให้กับระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มาโดยตลอด ก็ยังต้องกังวลต่อความปลอดภัยของตนเองด้วยเช่นกัน”
ทีม Kaspersky Digital Footprint Intelligence เฝ้าสังเกตการณ์ดาร์กเน็ตมาโดยตลอด เพื่อให้ความช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ ในการเกาะติดสถานการณ์และประเด็นการสนทนาต่าง ๆ ของเหล่าอาชญากรไซเบอร์เพื่อป้องกันการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นและลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลรั่วไหล โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าข้อความที่กล่าวถึงการใช้บริการนายหน้าคนกลางอย่าง Escrow (หรือชื่ออื่น ๆ เช่น guarantor, middleman, intermediary และอื่น ๆ คือบริการในลักษณะเดียวกัน) มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 1 ล้านครั้ง ในช่วงเดือนมกราคม 2020 – ธันวาคม 2022 โดยข้อความเหล่านี้คิดเป็น 14% ของข้อความทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมต่าง ๆ ในวงการดาร์กเว็บนอกจากนี้แล้วส่วนแบ่งของดีลที่ Escrow จะหักเป็นค่าธรรมเนียมนั้นยังสามารถเพิ่มสูงขึ้นได้อีกเนื่องจากอาชญากรไซเบอร์มักจะเจรจารายละเอียดข้อตกลงด้วยตนเองโดยเลี่ยงการระบุถึงวัตถุประสงค์กับรายละเอียดทั้งหมดในการประกาศยื่นข้อเสนอ
วีลา โคโลโปวา นักวิเคราะห์บริการด้านระบบรักษาความปลอดภัย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “จำนวนข้อความที่กล่าวถึงบริการ Escrow มีจำนวนเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2021 และยังสอดคล้องกับพลวัตรของพฤติกรรมการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในช่อง Telegram มืด เนื่องจากสมาชิกคอมมูนิตี้ของดาร์กเว็บ ได้ย้ายมาปักหลักอยู่ที่นี่แทนจากเหตุการณ์เปิดโปงคอมมูนิตี้ของดาร์กเว็บหลายต่อหลายแห่งด้วยกันในช่วงต้นปี 2021 ขณะที่ช่วงเวลาส่วนใหญ่ปี 2022 เราพบว่าพฤติกรรมความเคลื่อนไหวต่าง ๆ บนดาร์กเว็บนั้นลดลง ซึ่งอาจเป็นผลกระทบมาจากสถานการณ์ด้านภูมิรัฐศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งบีบให้บรรดาอาชญากรไซเบอร์ต้องยุติบทบาทของตนลงและหันมาจัดสรรค่าใช้จ่ายจากเงินที่เก็บสะสมแทน อย่างไรก็ตามเราพบว่าพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Escrow ก็กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายปี 2022”
อย่างไรก็ดี แม้จะมีกฎข้อบังคับในการติดต่อระหว่างอาชญากรไซเบอร์ในกระดานสนทนาและ “กฎจริยธรรมของดาร์กเว็บ” คอยกำกับดูแล แต่ก็ไม่พบว่าบริการ Escrow จะให้การปกป้องต่อการถูกฉ้อโกงแต่อย่างใด นอกจากเคสที่ผู้ซื้อและผู้ขายเกิดเปลี่ยนใจกะทันหันแล้ว หนึ่งในผู้ที่ฉีกข้อตกลงอาจใช้วิธีการเล่นตุกติกไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อผู้ขายรวมถึงนายหน้า Escrow ด้วย ซึ่งทุกฝ่ายสามารถที่จะกระทำการใด ๆ ในการละเมิดข้อตกลงได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเคสที่มีเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ทั้งนี้ทีมผู้เชี่ยวชาญจาก Kaspersky Digital Footprint Intelligence ได้ตรวจพบกระทู้ที่กล่าวโทษนายหน้า Escrow จากกระดานสนทนาของชุมชนดาร์กเว็บสองแห่งด้วยกัน (หนึ่งในนั้นมีชุมชนดาร์กเว็บที่มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ด้วย) ว่าละเมิดข้อตกลงในการชำระเงินจำนวน 1.7 แสนดอลลาร์ใน 4 ดีลด้วยกัน
เนื่องจากชุมชนดาร์กเว็บมีความซับซ้อนและมีการพัฒนาโครงสร้างระบบการควบคุมกันเองสูงขึ้นตามการขยายตัว เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากบรรดาอาชญากรไซเบอร์ การเรียนรู้และทำความเข้าใจในรูปแบบการทำงาน และแนวทางการตอบสนองที่อาชญากรไซเบอร์มีต่อกันและกัน ดีลระหว่างพวกเขาเป็นอย่างไร และพวกเขาจัดการกันอย่างไร จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น ผู้อ่านสามารถติดตามรายงานด้านบริการ Escrow บนดาร์กเน็ตฉบับเต็มได้ที่ Securelist.com
เพื่อปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมต่าง ๆ บนดาร์กเน็ตนักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ ได้ให้คำแนะนำแก่องค์กรในการนำมาตรการเหล่านี้มาปฏิบัติใช้
AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…
ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…
ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…
ยุคสมัยที่โรงแรมเป็นเพียง "ที่นอน" ได้ลาจากไปแล้ว! นักท่องเที่ยวไทยยุคใหม่กำลังมองหาประสบการณ์ที่มากกว่าการพักผ่อน พวกเขาต้องการสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น และใส่ใจความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เทรนด์ "Conscious Travel" หรือการเดินทางอย่างมีสติกำลังมาแรง สะท้อนผ่านพฤติกรรมการพักผ่อนที่ยาวนานขึ้นในโรงแรม พร้อมแสวงหาประสบการณ์สุดพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล เจาะลึกเทรนด์นักท่องเที่ยว จากรายงาน Changing…
ไชน่า ยูนิคอม ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญในการพัฒนาเครือข่าย 5G ไปอีกขั้น ด้วยการเปิดตัวแผนปฏิบัติการ 5G-Advanced อย่างเป็นทางการ ในงานแถลงข่าว "Powering the Asian Winter Games with…
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โครงการ Super AI Engineer Season 5 ได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว โดยเป็นการรวมพลังครั้งสำคัญจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้าน AI ของไทยให้มีทักษะและความสามารถที่ทัดเทียมนานาชาติ…