IT Security

ฟอร์ติเน็ต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามความร่วมมือ ร่วมสร้างกำลังพลคนรุ่นใหม่ด้านไซเบอร์เต็มรูปแบบ

ฟอร์ติเน็ต ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถ่ายทอดหลักสูตร Network Security Expert (NSE) เพื่อการเรียน-การสอนทั้งในหลักสูตรปริญญาตรี-โท-เอก เพื่อการพัฒนาบุคลากรทางด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ พร้อมเดินหน้าขยายความร่วมมือภาคการศึกษาเต็มที่ หวังเร่งสร้างบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการกำลังคนทางไซเบอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นของประเทศ

ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า จากรายงานการวิจัย 2023 Cybersecurity Skills Gap Report ของฟอร์ติเน็ต ระบุว่าองค์กรธุรกิจทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยต่างต้องต่อสู้อย่างหนักเพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยพบว่ามีการถูกโจมตีและการรั่วไหลของข้อมูลเพิ่มมากขึ้น โดยเกือบ 70% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถาม ชี้อย่างชัดเจนว่าความเสี่ยงเพิ่มเติมที่ต้องเผชิญนี้เกิดจากการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในขณะที่ภัยคุกคามต่างๆ ยังคงเติบโตและทวีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

“ฟอร์ติเน็ตมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งในการทำงานร่วมกับภาคการศึกษาเพื่อสร้างบุคลากรทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง เพราะเราตระหนักดีถึงความสำคัญของความสำคัญของไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่จะเข้ามาช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามที่อาจส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานขององค์กรธุรกิจ การมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์จะช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้โดยไม่ต้องหยุดชะงักจากการถูกโจมตี ที่สำคัญยังช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันได้อีกด้วย” ภัคธภา กล่าว

ทั้งนี้ หลักสูตร NSE ของฟอร์ติเน็ต เป็นหลักสูตรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ครอบคลุมเนื้อหาและมีการอัพเดทอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ทันต่อภัยคุกคามใหม่ๆ ตลอดเวลา ตัวหลักสูตรครอบคลุมเนื้อหาการป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ การตรวจจับความเสี่ยง เน้นการเรียนรู้แบบ Hand-on ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงร่วมกับอุปกรณ์ของฟอร์ติเน็ต ถือเป็นหลักสูตรที่เหมาะสมอย่างยิ่งสําหรับผู้ที่สนใจศึกษาเพื่อการทำงานในด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้อย่างจริงจัง ที่สำคัญ หลักสูตรนี้ ไม่เพียงช่วยยกระดับความสามารถของบุคลากรไทยให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล แต่ยังเพิ่มโอกาสในการทำงาน และโอกาสในการได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นอีกด้วย

รองศาสตราจารย์ ดร.จิรพล สังข์โพธิ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับฟอร์ติเน็ต มุ่งเน้นที่การการพัฒนานักศึกษาและสร้างบุคลากรให้มีความรู้และทักษะด้านการป้องกันและจัดการภัยคุกคามไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้น โดยธรรมศาสตร์ได้บรรจุหลักสูตรการเรียน-การสอนไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในสองคณะ และหนึ่งวิทยาลัย ได้แก่

  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ เนื่องจากหลักสูตรนี้ต้องการความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีและการเขียนโปรแกรม
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ด้วยหลักสูตรไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่เน้นการป้องกันระบบและเครือข่าย
  • วิทยาลัยนวัตกรรม ด้วยหลักสูตรที่มุ่งเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ความเข้าใจและเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น ความปลอดภัยของข้อมูล การวิเคราะห์ภัยคุกคาม การป้องกันและตอบสนองต่อเหตุการณ์ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

โดยหลักสูตรการเรียนการสอนจะแบ่งออกเป็นหลักสูตรปริญญาตรีซึ่งจะมีทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือกเพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้พื้นฐานและขั้นสูงด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ตามด้วยหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสำหรับผู้ที่ต้องการเจาะลึกในด้านการป้องกันภัยบนไซเบอร์โดยเฉพาะ เช่น ความปลอดภัยของเครือข่าย ความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน หรือการจัดการภัยคุกคาม เป็นต้น

เพื่อให้หลักสูตรสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งใจที่ดำเนินการวิจัยและสำรวจความต้องการของอุตสาหกรรมเพื่อกำหนดหลักสูตรและเนื้อหาการสอน เพื่อให้สามารถปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรได้อย่างต่อเนื่องตามการพัฒนาล่าสุดด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

“ธรรมศาสตร์มีเป้าหมายที่จะผลิตบัณฑิตด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้จำนวนอย่างน้อย 200 คนต่อปี ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมอย่างเฉพาะเจาะจง นอกจากนี้ เรายังมุ่งที่จะฝึกอบรมบุคคลกรทั้งในสายสนับสนุนและสายวิชาการจำนวน 2,000 คน ให้มีความรู้และเข้าใจขั้นพื้นฐานด้านการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์” รองศาสตราจารย์ ดร.จิรพล กล่าว

เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและความยืดหยุ่นในการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ระหว่างการพิจารณาในการเปิด e-Classroom และ Online Learning เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ โดยมหาวิทยาลัยต้องการพัฒนาหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ในรูปแบบออนไลน์เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนผ่านแพลตฟอร์ม e-Learning ได้ทุกที่ทุกเวลา ขณะเดียวกัน ทางมหาวิทยาลัยยังต้องการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น การจำลองสถานการณ์ (Simulations) เกมการเรียนรู้ (Gamification), และการประชุมวิดีโอ (Video Conferencing) เข้ามาเพื่อเสริมประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติจริงในด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้อีกด้วย

Kaspersky เผยนักเดทออนไลน์ 23% โดนสะกดรอยทางดิจิทัล

supersab

Recent Posts

ธุรกิจปี 2025: รับมือความท้าทาย พลิกวิกฤตเป็นโอกาสทอง

91% ของธุรกิจขนาดเล็กกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเศรษฐกิจ ผลสำรวจจาก Goldman Sachs ระบุว่า ธุรกิจขนาดเล็กกว่า 91% กำลังประสบปัญหาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ และกว่าครึ่งยืนยันว่าสถานการณ์เลวร้ายลงตั้งแต่ต้นปี ในขณะที่ปี 2025 กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า คำถามคือ ธุรกิจของคุณพร้อมรับมือกับความท้าทายและคว้าโอกาสในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหรือยัง?…

18 hours ago

BizTalk x Sunny Horo ดวงประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567

BizTalk x Sunny Horo กับคอลลัมน์ ดวงธุรกิจ Weekly ชวนมาอัพเดต ดวงประจำวันที่ 25 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567 กัน ใครเกิดตรงกับวันไหน…

19 hours ago

ทำอย่างไร เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล รู้ทัน..อันตราย และการป้องกัน

Biztalk วันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย. 2567 คุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไอที โดยเฉพาะการรักษาความปลอดภัยข้อมูล คุณวันพิชิต ชินตระกูลชัย Chief Technology Officer (CTO) บริษัท แร็กน่าร์…

20 hours ago

ไปรษณีย์ไทย ไม่ได้มีดีแค่ส่งของ พลิกโฉมสู่ “ไลฟ์สไตล์แบรนด์” เอาใจคนรุ่นใหม่

จากองค์กรที่อยู่คู่คนไทยมายาวนานถึง 141 ปี ไปรษณีย์ไทย กำลังก้าวสู่ "ไลฟ์สไตล์แบรนด์" ที่มีความทันสมัย และพร้อมตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของผู้คน ใครว่าไปรษณีย์ไทยมีดีแค่ส่งจดหมายและพัสดุ? วันนี้ไปรษณีย์ไทยกำลังก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมๆ สู่การเป็น "ไลฟ์สไตล์แบรนด์" ที่พร้อมเติมเต็มทุกมิติชีวิตของคนไทย ด้วยกลยุทธ์การพัฒนาบริการดิจิทัลควบคู่ไปกับการต่อยอดธุรกิจดั้งเดิม พร้อมสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ๆ…

21 hours ago

10 สตาร์ทอัพเซมิคอนดักเตอร์ สุดฮอตแห่งปี 2024: ท้าทายอำนาจ Nvidia หรือผนึกกำลัง?

10 สตาร์ทอัพเซมิคอนดักเตอร์ แห่งปี 2024 ก้าวข้ามขีดจำกัดของวงการ AI ด้วยเทคโนโลยีชิปสุดล้ำ ในขณะที่ Nvidia ครองตลาดชิป AI ด้วยมูลค่าหลายหมื่นล้านดอลลาร์ในแต่ละไตรมาส บริษัทและนักลงทุนจำนวนมากเชื่อว่ายังมีโอกาสสำหรับผู้เล่นรายอื่นในตลาดโครงสร้างพื้นฐาน AI ทั้งในส่วนของชิปที่ใช้ในอุปกรณ์…

23 hours ago

พรีวิว Oppo Find X8 ซีรีส์ สมาร์ทโฟนกล้องเทพ Hasselblad กับชิปเซ็ต Dimensity 9400

พรีวิว Oppo Find X8 ซีรีส์ สมาร์ทโฟนที่มาพร้อมชิปเซ็ตตัวใหม่ล่าสุด MediaTek Dimensity 9400 ที่ให้ประสิทธิภาพแรงขึ้นกว่าเดิม ทั้ง CPU เร็วขึ้น 35% และ…

23 hours ago