IT Security

Fortinet เผยผลสำรวจพบ 78% ขององค์กรธุรกิจมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการโจมตีของแรนซัมแวร์ หากแต่ครึ่งหนึ่งยังคงตกเป็นเหยื่อของภัยคุกคาม

Fortinet เผยรายงานการวิจัยแรนซัมแวร์ทั่วโลกประจำปี 2566 (2023 Global Ransomware Research Report) โดยรายงานอ้างอิงจากการสำรวจทั่วโลกล่าสุดที่จัดทำโดยฟอร์ติเน็ต เพื่อสำรวจมุมมองของผู้นำด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์เกี่ยวกับแรนซัมแวร์ รูปแบบของผลกระทบที่แรนซัมแวร์มีต่อองค์กรของพวกเขาในปีที่ผ่านมา ตลอดจนถึงกลยุทธ์ในการลดความรุนแรงของการโจมตี ทั้งนี้ ผลลัพธ์ในการจากการสำรวจที่จัดทำขึ้นทั่วโลก ได้แก่

  • ภัยคุกคามทั่วโลกของแรนซัมแวร์ยังคงอยู่ในระดับสูงสุด โดยครึ่งหนึ่งขององค์กรในทุกขนาด จากหลายภูมิภาค และหลายอุตสาหกรรมต่างตกเป็นเหยื่อในปีที่ผ่านมา
  • ความท้าทายอันดับต้นๆ ในการหยุดยั้งการโจมตีของแรนซัมแวร์คือผู้คนและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง โดยหลายองค์กรขาดความชัดเจนว่าจะดำเนินการป้องกันภัยคุกคามอย่างไร
  • มีเทคโนโลยีมากมายที่ถูกมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันแรนซัมแวร์ โดยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับแนวทางการรักษาความปลอดภัยแบบบูรณาการ
  • ไม่ว่าสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจมหภาคทั่วโลกจะเป็นอย่างไร แต่งบประมาณด้านความปลอดภัยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในปีหน้า โดยจะเน้นหนักไปที่เทคโนโลยี AI / ML เพื่อเพิ่มความเร็วในการตรวจจับการโจมตี รวมถึงการมีเครื่องมือในการเฝ้าระวังแบบรวมศูนย์เพื่อเร่งการตอบสนองต่อเหตุการณ์ และเพื่อการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและกระบวนการการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

การเตรียมพร้อมและการป้องกันแรนซัมแวร์ที่ไม่สัมพันธ์กันเพิ่มมากขึ้น

จอห์น แมดดิสัน รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และประธานผู้บริหารด้านการตลาด ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า “จากผลการวิจัยของฟอร์ติเน็ต แม้องค์กร 3 ใน 4 จะตรวจพบการโจมตีของแรนซัมแวร์ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่องค์กรจำนวนครึ่งหนึ่งก็ยังคงตกเป็นเหยื่อของการโจมตี ผลลัพธ์ในการสำรวจนี้แสดงให้เห็นถึงความเร่งด่วนในการที่จะต้องก้าวข้ามการตรวจจับแบบธรรมดาไปสู่การตอบสนองในแบบเรียลไทม์ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโซลูชันเนื่องจากองค์กรธุรกิจต่างระบุว่าความท้าทายในอันดับต้นๆ ของการป้องกันการโจมตีเกี่ยวข้องกับตัวบุคคลและกระบวนการในการทำงาน และการดำเนินการแบบองค์รวม (Holistic Approach) เพื่อการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ต้องไปไกลกว่าการลงทุนในเทคโนโลยีที่จำเป็น และการจัดลำดับความสำคัญให้กับการฝึกอบรมก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ”

ดีอีเอส เตรียมดัน Go Cloud First พร้อมตั้ง Center Fraud Registry ลดการโกงดิจิทัล

การวิจัยของฟอร์ติเน็ตเผยว่ามีช่องว่างขนาดใหญ่ของการไม่สัมพันธ์กันระหว่างระดับความพร้อมเชิงกลยุทธ์ที่มีอยู่เดิมของผู้ตอบแบบสอบถามกับความสามารถของพวกเขาในการหยุดยั้งการโจมตีของแรนซัมแวร์ แม้ว่า 78% ขององค์กรจะระบุว่าพวกเขามีความพร้อม “อย่างมาก” หรือ “อย่างยิ่งยวด” ในการลดความรุนแรงของการโจมตี แต่จากการสำรวจพบว่า 50% ยังตกเป็นเหยื่อของแรนซัมแวร์ในปีที่แล้ว และเกือบครึ่งหนึ่งตกเป็นเป้าหมายสองครั้งหรือมากกว่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สี่ในห้าที่เป็นความท้าทายสูงสุดในการหยุดยั้งแรนซัมแวร์ก็คือบุคคลหรือกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ความท้าทายที่สูงเป็นอันดับสองคือการขาดความชัดเจนเกี่ยวกับวิธีป้องกันภัยคุกคามอันเป็นผลมาจากการขาดการรับรู้และการฝึกอบรมของผู้ใช้ และไม่มีกลยุทธ์จากสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจนเพื่อจัดการกับการโจมตี

องค์กรเป็นจำนวนมากยังคงต้องจ่ายค่าไถ่ แม้ว่าจะมีคำแนะนำในอุตสาหกรรมก็ตาม

การสำรวจยังพบว่าแม้ส่วนใหญ่ (72%) จะสามารถตรวจพบเหตุการณ์การโจมตีภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง และบางครั้งอาจเป็นจำนวนไม่กี่นาที แต่เปอร์เซ็นต์ขององค์กรที่ต้องจ่ายค่าไถ่ยังคงมีเป็นจำนวนมาก โดยเกือบสามในสี่ของผู้ตอบแบบสอบถามได้มีการชำระเงินค่าไถ่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลในอุตสาหกรรมต่างๆ องค์กรในภาคการผลิตถูกเรียกค่าไถ่ที่สูงกว่าและมีแนวโน้มในการที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมให้มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนึ่งในสี่ของการโจมตีระหว่างองค์กรด้านการผลิตจะถูกเรียกค่าไถ่ในระดับ 1 ล้านเหรียญหรือสูงกว่านั้น ท้ายที่สุดแล้ว แม้ว่าองค์กรเกือบทั้งหมด (88%) จะรายงานว่าได้มีการทำประกันภัยทางไซเบอร์ (Cyber Insurance) แต่องค์กรเกือบ 40% ไม่ได้รับความคุ้มครองมากเท่าที่คาดหวัง และในบางกรณีก็ไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ เลยเนื่องจากการยกเว้นจากบริษัทประกัน

งบประมาณด้านซีเคียวริตี้จะเพิ่มมากขึ้นแม้เศรษฐกิจจะไม่แน่นอน

ด้วยความกังวลเกี่ยวกับแรนซัมแวร์ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และแม้ว่าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั่วโลกจะยังอยู่ในสภาวะที่มีความท้าทาย องค์กรเกือบทั้งหมด (91%) คาดหวังถึงงบประมาณด้านความปลอดภัยที่จะเพิ่มขึ้นในปีหน้า เมื่อพิจารณาจากเทคโนโลยีที่จำเป็นที่สุดในการรักษาความปลอดภัยจากแรนซัมแวร์ องค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับ ความปลอดภัยของ IoT SASE การป้องกัน Cloud Workload NGFW EDR ZTNA และ Security Email Gateway มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2021 จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามที่อ้างถึง ZTNA และ Secure Email Gateway เพิ่มขึ้นเกือบ 20% โดยที่อีเมลฟิชชิงยังคงถูกระบุเป็นครั้งที่สองว่าเป็นวิธีการโจมตีที่ใช้บ่อยที่สุด จึงมีแนวโน้มว่าผู้ตอบแบบสอบถามจะให้ความสำคัญที่เพิ่มมากขึ้นกับ Secure Email Gateway (51%) อย่างไรก็ตาม การป้องกันที่จำเป็นอื่นๆ เช่น การทำ Sandbox (23%) และการทำ Network Segmentation ( 20%) ยังคงอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนักในลิสต์

ในอนาคต สิ่งที่มีความสำคัญในระดับสูงในมุมมองของผู้ตอบแบบสอบถามคือการลงทุนในเทคโนโลยีขั้นแอดวานซ์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI และ ML เพื่อให้สามารถตรวจจับภัยคุกคามได้เร็วขึ้น รวมถึงเครื่องมือตรวจสอบจากส่วนกลางเพื่อเร่งการตอบสนองให้เร็วขึ้น การลงทุนต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้องค์กรธุรกิจต่อสู้กับภูมิทัศน์ภัยคุกคามที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจากการที่ผู้โจมตีทางไซเบอร์มีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรงมากขึ้น พร้อมการปรับใช้องค์ประกอบใหม่ๆ ในการโจมตี เช่น กลยุทธ์ที่ใช้การโจมตีแบบ Wipers ที่กำลังเติบโตเพิ่มสูงขึ้น

เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันแรนซัมแวร์ในรูปแบบของแพลตฟอร์ม

นอกจากนี้ รายงานยังพบอีกว่าองค์กรที่ใช้รูปแบบของ Point Product มีแนวโน้มที่จะตกเป็นเหยื่อการโจมตีมากที่สุดในปีที่ผ่านมา ในขณะที่องค์กรที่ผสานรวมผลิตภัณฑ์เข้าเป็นแพลตฟอร์มที่มีจำนวนไม่มากมีแนวโน้มที่จะตกเป็นเหยื่อน้อยที่สุด นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมด (99%) มองว่าโซลูชันแบบผสานรวมหรือแพลตฟอร์มเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการโจมตีจากแรนซัมแวร์ ผลการสำรวจนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากแนวทางแพลตฟอร์มที่เป็นหนึ่งเดียวในการป้องกันแรนซัมแวร์

ฟอร์ติเน็ตให้การสนับสนุนองค์กรที่ต้องการปรับปรุงกระบวนการและการฝึกอบรมด้วยการให้บริการต่างๆ เช่น การประเมินความพร้อมต่อเหตุการณ์และการฝึกแบบอภิปราย การประเมินความพร้อมที่มีต่อแรนซัมแวร์ SOC-as-a-Service และการประเมินความพร้อมของ SOC เสริมความแข็งแกร่งให้มากขึ้นด้วย สถาบันฝึกอบรมฟอร์ติเน็ต (Fortinet Training Institute) หนึ่งในโปรแกรมการฝึกอบรมที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรม และด้วย Security Fabric ชั้นนำของอุตสาหกรรมซึ่งมีผลิตภัณฑ์ระดับองค์กรในแบบ Natively Integrated กว่า 50 รายการ ฟอร์ติเน็ตยังคงเป็นผู้จำหน่ายชั้นนำที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถผสานผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้อยู่บนแพลตฟอร์มไซเบอร์ซีเคียวริตี้เดียวกัน ด้วยรูปแบบการดำเนินงานในแบบแพลตฟอร์มที่มาพร้อม API ในระบบเปิดและระบบนิเวศพันธมิตรเทคโนโลยีแบบ Fabric-Ready ที่แข็งแกร่ง ช่วยให้ผู้บริหารที่เป็น CISO และทีมด้านการรักษาความปลอดภัยสามารถลดความซับซ้อนในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและตรวจจับแรนซัมแวร์ อีกทั้งยังสามารถระบุเหตุการณ์ สืบสวนสอบสวน และตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว และเสริมความแข็งแกร่งในการป้องกันแรนซัมแวร์ในท้ายที่สุด

ข้อมูลรายงานโดยสรุป

  • การสำรวจทำในกลุ่มผู้นำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 569 คนจาก 31 ประเทศทั่วโลก รวมถึงสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส อินเดีย ญี่ปุ่น และอื่นๆ
  • ผู้ตอบแบบการสำรวจมาจากหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการผลิต (29%) อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี (19%) อุตสาหกรรมการขนส่ง (12%) และอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ (11%)
supersab

Recent Posts

LINE MAN เผยเทรนด์ “ชาไทย Specialty” แรงจัด! ยอดสั่งพุ่ง 81% ร้านใหม่ผุด 205%

กระแสชาไทย Specialty ฟีเวอร์! ข้อมูลจาก LINE MAN เผยให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด "ชาไทย Specialty" ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่มียอดสั่งซื้อทะยาน 81% ร้านใหม่ตบเท้าเปิดตัวเพิ่มขึ้นถึง…

1 hour ago

China Unicom to Blanket 300+ Cities with 5G-Advanced by 2025, While Thailand Leads APAC’s 5G Revolution

China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…

3 hours ago

AIS ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนวิทยุ สร้างมหานครสวยงาม ปลอดภัย

AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…

3 hours ago

“Trumpism 2.0” กระแทกโลก! สกสว. ชี้ไทยต้องเร่งเครื่อง BCG Economy ดันนวัตกรรมรับมือ ตั้งเป้าปั้นไทยเป็นฮับเทคโนโลยีอาเซียน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน

ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…

3 hours ago

องค์กร 61% กังวลความปลอดภัยคลาวด์ ฟอร์ติเน็ตแนะใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์-เสริมทักษะรับมือภัยคุกคามยุคใหม่

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…

3 hours ago

เปิดเทรนด์ “Conscious Travel” สัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ยุคสมัยที่โรงแรมเป็นเพียง "ที่นอน" ได้ลาจากไปแล้ว! นักท่องเที่ยวไทยยุคใหม่กำลังมองหาประสบการณ์ที่มากกว่าการพักผ่อน พวกเขาต้องการสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น และใส่ใจความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เทรนด์ "Conscious Travel" หรือการเดินทางอย่างมีสติกำลังมาแรง สะท้อนผ่านพฤติกรรมการพักผ่อนที่ยาวนานขึ้นในโรงแรม พร้อมแสวงหาประสบการณ์สุดพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล เจาะลึกเทรนด์นักท่องเที่ยว จากรายงาน Changing…

3 hours ago