สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ (MoU) ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเสริมสร้างมาตรการและมาตรฐานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ มุ่งยกระดับการป้องกันภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญที่จะสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของไทยให้เกิดขึ้นได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืน
สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธี กล่าวเปิดงานประชาสัมพันธ์ ความก้าวหน้าของกิจกรรมยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ หน่วยงานของรัฐที่มีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ และ พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ระหว่าง สกมช. และ สดช. ความร่วมมือครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้นในยุคดิจิทัล พร้อมเสริมสร้างศักยภาพในการรับมือภัยคุกคามร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน “ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบ การพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจและประชาชน ความร่วมมือนี้จะช่วยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลและระบบดิจิทัล พร้อมส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีอย่างมั่นใจ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ” โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรด้านไซเบอร์และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับความท้าทายที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เวทางค์ พ่วงทรัพย์ เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปกป้องข้อมูลและระบบที่อยู่บนคลาวด์ให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานระบบคลาวด์ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กรสร้างความมั่นใจว่าข้อมูลและความเป็นส่วนตัวจะได้รับการปกป้องในทุกขั้นตอน นอกจากนี้ การส่งเสริมให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานสากลอย่าง GDPR, HIPAA หรือมาตรฐานความปลอดภัยข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้ทั่วโลก จะทำให้การใช้งานระบบคลาวด์เป็นไปอย่างมีมาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมาย และสร้างสภาพแวดล้อมที่มั่นคงปลอดภัย
ปัจจุบัน สดช. ให้บริการระบบคลาวด์ แก่หน่วยงานภาครัฐ ผ่านคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) ไม่น้อยกว่า 43,744 VM จำนวนไม่น้อยกว่า 206 หน่วยงาน (ข้อมูล ณ ตุลาคม 2567) ตามประกาศนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลัก หรือ “Cloud First Policy” โดยจะผลักดันการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ มุ่งสู่การเป็น Cloud Hub ของภูมิภาคมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประเทศ ซึ่งเทคโนโลยีคลาวด์ ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สำคัญในการวางรากฐานและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ทันสมัย มั่นคงปลอดภัยตามมาตรฐานสากล มีความปลอดภัยทางไซเบอร์ มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน ด้วยการนำเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ปรับปรุงการทำงานของภาครัฐให้เป็นรัฐบาลดิจิทัลรวมทั้งสนับสนุนให้ท้องถิ่นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการทำงาน ทำให้ประชาชนสามารถได้รับการบริการจากรัฐ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า “การขับเคลื่อนความร่วมมือด้านความปลอดภัยไซเบอร์ระหว่าง สกมช. และ สดช. ครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในยุคที่มีการนำเทคโนโลยีคลาวด์เข้ามามีบทบาทสำคัญ ระบบคลาวด์ได้กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน แต่ในขณะที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้นเพื่อให้การใช้ระบบคลาวด์ในประเทศไทยเป็นไปอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีมาตรฐาน สกมช. และ สดช. ได้ร่วมกันพัฒนามาตรการ และแนวทางต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลบนระบบคลาวด์ เช่น การกำหนดมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลและการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านไซเบอร์ เพื่อช่วยเสริมสร้างความพร้อมให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ในการเฝ้าระวังและรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น
ในวันนี้ ผมขอเน้นย้ำถึงความสำคัญของนโยบาย Cloud First Policy ของรัฐบาล ซึ่งเป็นแนวทางที่หน่วยงานภาครัฐต้องพิจารณาการใช้ระบบคลาวด์เป็นลำดับแรกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนต่อการดำเนินงาน ตลอดจนรองรับการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล
การขับเคลื่อนนโยบาย Cloud First Policy ให้เกิดผลสำเร็จ จำเป็นต้องมีมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยที่รัดกุม และการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถใช้เทคโนโลยีคลาวด์ได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่ง กมช. ได้ออกประกาศเกี่ยวกับมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของระบบคลาวด์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงของการใช้บริการคลาวด์สาธารณะในหน่วยงานรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐาน โดยกล่าวถึงหน้าที่ในฐานะของผู้ให้บริคลาวด์กับหน่วยงานข้างต้น และหน่วยงานทั้งสามส่วนที่เข้าไปใช้งานบริการคลาวด์ เพื่อรองรับการขับเคลื่อนนโยบาย Cloud First Policy ของรัฐบาลให้มีความมั่นคงปลอดภัย ด้วยการสนับสนุนจากทั้ง สกมช. และ สดช. คาดว่าความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยสร้างพื้นฐานที่มั่นคงในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ สกมช. ยังมุ่งเน้นที่จะสร้างระบบความปลอดภัยไซเบอร์ให้มีความยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ สดช. มีบทบาทในการสนับสนุนการวางนโยบายและกฎหมายเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยของข้อมูลและระบบดิจิทัลของไทย
กิจกรรมยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ หน่วยงานของรัฐที่มีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ ภายใต้โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของหน่วยงานภายใต้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศด้านสาธารณสุข ในการช่วยเฝ้าระวัง ตรวจจับ รับมือ ป้องกัน แจ้งเตือน บรรเทาสถานการณ์จากภัยคุกคามใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น และจัดการกับช่องโหว่ รวมทั้งตรวจสอบและประมวลผลหลังเกิดเหตุขององค์กรในแต่ละภาคส่วนของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศให้มีความปลอดภัย มีการแจ้งเตือนล่วงหน้าสำหรับภัยคุกคามที่มีความเสี่ยงสูง โดยให้บริการด้านการตรวจสอบและการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศภายในให้กับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบป้องกัน ตรวจจับ วิเคราะห์ และโต้ตอบภัยคุกคามไซเบอร์เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินในระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข สร้างทีมบุคลากรและศูนย์ประสานงานเฉพาะที่มีศักยภาพในการติดต่อ ประสานงาน และรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการรับแจ้งเตือนภัยคุกคามล่วงหน้า พร้อมทั้งให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติที่เหมาะสมแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
–NT เดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์ม Cell Broadcast ยกระดับความมั่นคงปลอดภัยผ่านโครงข่ายมือถือของประเทศ
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…