แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ประกาศเปิดตัวโซลูชันซอฟต์แวร์ครบวงจรที่ประกอบด้วยชุดฟังก์ชันสำหรับการติดตามและจัดการเหตุการณ์คุกคามทางไซเบอร์ ชื่อ Kaspersky Unified Monitoring and Analysis Platform หรือ KUMA เพื่อช่วยให้ธุรกิจและองค์กรต่างๆ ปลอดภัยในโลกไซเบอร์สเปซที่สอดคล้องกับการเปิดรับดิจิทัลไลเซชัน
ตามรายงานเรื่อง eConomy SEA 2023 คาดว่าเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) จะสร้างรายได้ 1 แสนล้านดอลลาร์ และคาดว่าประเทศไทยจะยังคงเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลที่ใหญ่เป็นอันดับสองของภูมิภาคนี้ ในแง่ของมูลค่าสินค้ารวม (GMV) ระหว่างปี 2566 ถึง 2573 โดยคาดว่า GMV จะสูงถึง 100 – 165 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2573 เพิ่มขึ้นจาก 49 พันล้านดอลลาร์ในปี 2568 และ 36 พันล้านดอลลาร์ในปี 2566
ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้คาดการณ์ภาพรวมภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ในปีนี้ โดยได้รับแรงผลักจากความเคลื่อนไหวด้านดิจิทัลอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามรายงานของแคสเปอร์สกี้พบว่าอันตรายจากฟิชชิง (phishing) การหลอกลวง (scams) การละเมิดข้อมูล (data breaches) และการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีแรงจูงใจทางภูมิศาสตร์การเมือง (geopolitically-motivated cyberattacks) ยังคงมุ่งเป้าหมายไปที่องค์กรและบุคคลทั่วไปในภูมิภาค
ในปี 2566 แคสเปอร์สกี้สามารถบล็อกภัยคุกคามทางเว็บได้มากกว่า 12.92 ล้านรายการ และบล็อกการติดมัลแวร์จากอุปกรณ์ออฟไลน์ได้ 22.26 ล้านรายการ ที่มุ่งเป้าโจมตีผู้ใช้งานในประเทศไทย
เพื่อให้ธุรกิจและองค์กรต่างๆ ก้าวนำหน้าความท้าทายและความต้องการที่กำลังพัฒนาไปสู่ก้าวต่อไป แคสเปอร์สกี้ได้นำเสนอโซลูชัน Kaspersky Unified Monitoring and Analysis Platform (หรือ KUMA) สำหรับการจัดการข้อมูลและเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย (Security information and event management หรือ SIEM) แบบเนทีฟ สำหรับการจัดการข้อมูลความปลอดภัยและเหตุการณ์คุกคามทางไซเบอร์
ย้อนกลับไปในเดือนมิถุนายน ปี 2566 ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ได้ค้นพบแคมเปญ APT (Advanced Persistent Threat) บนมือถือ ขณะเดียวกันก็ตรวจสอบการรับ-ส่งข้อมูลเครือข่าย Wi-Fi ของแคสเปอร์สกี้โดยใช้ KUMA จากการวิเคราะห์เพิ่มเติม นักวิจัยของบริษัทพบว่าผู้ก่อภัยคุกคามกำหนดเป้าหมายอุปกรณ์ iOS ของพนักงานหลายสิบคน โดยกระจายช่องโหว่แบบซีโร่คลิกผ่าน iMessage เพื่อเรียกใช้มัลแวร์ควบคุมอุปกรณ์และข้อมูลผู้ใช้อย่างสมบูรณ์
เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “เมื่อพูดถึงเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ แม้แต่ระบบปฏิบัติการที่ปลอดภัยที่สุดก็อาจถูกบุกรุกได้ เนื่องจากผู้ก่อภัยคุกคาม APT พัฒนากลยุทธ์อย่างต่อเนื่องและค้นหาจุดอ่อนใหม่ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ ธุรกิจต่างๆ จึงต้องจัดลำดับความสำคัญด้านความปลอดภัยของระบบของตน ซึ่งรวมถึงการจัดหาเครื่องมือล่าสุดให้กับพนักงานและทีมเทคนิคเพื่อจดจำและป้องกันภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการแก้ไขเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที”
KUMA เป็นคอนโซลแบบรวมสำหรับการตรวจสอบและวิเคราะห์เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของข้อมูล โปรแกรมพื้นฐานประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้
จุดเด่นของ KUMA ประกอบด้วย
ด้วยการผสานรวมกับแพลตฟอร์ม Kaspersky CyberTrace ซึ่งประมวลผลรายงานจากศูนย์ประสานงานแห่งชาติสำหรับเหตุการณ์ทางคอมพิวเตอร์ (the National Coordination Center for Computer Incidents) ผู้วิจัยสามารถแยกตัวบ่งชี้การประนีประนอมและใช้เพื่อตรวจจับเหตุการณ์ใน SIEM ได้
SIEM เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่มีความสมบูรณ์สูงสุด ดังนั้น จะต้องตอบสนองความต้องการของตลาดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และคำนึงถึงภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปของภัยคุกคามทางไซเบอร์ KUMA ขยายขีดความสามารถของนักวิเคราะห์ ช่วยให้ธุรกิจและองค์กรต่างๆ เพิ่มประสิทธิภาพงบประมาณสำหรับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยให้การป้องกันในระดับที่เหมาะสมที่สุด
เบญจมาศ จูฑาพิพัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “ผู้ก่อภัยคุกคามใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายมากขึ้นในการโจมตีแบบกำหนดเป้าหมายที่ซับซ้อน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ระบบที่สามารถตรวจสอบกิจกรรมเครือข่าย เช่น ข้อมูลความปลอดภัยและการจัดการเหตุการณ์ ด้วยการเปิดตัว KUMA เราหวังว่าจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ในการจัดการเหตุการณ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนด้วยการตรวจจับและการตอบสนองที่ไม่มีใครเทียบได้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของไซเบอร์สเปซของประเทศไทย”
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพลตฟอร์ม KUMA ได้ที่ support.kaspersky.com
–AOC 1441 เผยโจรออนไลน์ไม่แผ่ว อาศัยจุดอ่อนขู่ให้กลัว! แล้วโอนเงิน 2 เคส สูญเงินร่วม 40 ลบ.
รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เพิ่มมาตรการในด้านการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และอำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการ ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ตามนโยบายกระทรวงคมนาคม นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เปิดเผยว่า เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ประจำปี…
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสายทางในอัตรา 20 บาทตลอดสายว่า ปัจจุบันได้ดำเนินการในโครงการรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน…
Grab ประกาศเปิดตัวแคมเปญสำคัญระดับประเทศ "Grab The Missing" อย่างเป็นทางการ โดยเป็นการผนึกกำลังกับสถานีวิทยุเพื่อความปลอดภัยและการจราจร สวพ. FM91 และ YDM Thailand เอเจนซีผู้เชี่ยวชาญด้านความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างเครือข่ายการค้นหาผู้สูญหายที่ครอบคลุมทั่วประเทศไทย ผ่านศักยภาพของไรเดอร์และพาร์ตเนอร์คนขับ…
สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย (TFA) ร่วมกับ บริษัท ซีพีแรม จำกัด และเครือข่ายพันธมิตร จัดงาน TFA Open House (Thai Future Food) อย่างยิ่งใหญ่…
กระทรวง อว. โดย NIA จับมือ ธนาคารออมสิน เปิดตัวหลักสูตร "Entrepreneurship & Green Business Design" มุ่งเสริมศักยภาพ SME, สตาร์ตอัพ…
AIS ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ปี 2568 อย่างยิ่งใหญ่ ด้วยการนำเทคโนโลยี AI และ Autonomous Network มาเสริมความแข็งแกร่งของโครงข่ายอัจฉริยะทั้งโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตบ้าน เพื่อดูแลคุณภาพเครือข่ายแบบเรียลไทม์ รองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าในช่วงเทศกาลสำคัญนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น อาทิ ถนนสายหลัก…
This website uses cookies.