Metaverse โลกที่ต้องการเครือข่ายระดับ Multi-Terabit

Metaverse ยังคงเป็นกระแสอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะยังเป็นกระแสไปอีกหลายปี เพราะ Facebook คงจะต้องออกมาประกาศความคืบหน้าเรื่อยๆ ให้คนได้ตื่นเต้นกับสิ่งที่กำลังพัฒนาอยู่ทั้งด้านอุปกรณ์ และ แพลตฟอร์ม แต่สิ่งหนึ่งที่อาจจะไม่ได้ถูกพูดถึงกันคือเรื่องเครือข่าย (Network) ที่จะสามารถรองรับผู้คนจำนวนมากเข้าสู่โลก Metaverse ได้เหมือนกันการได้เจอหน้ากันจริงๆ ได้ร่วมอยู่ในบรรยากาศเดียวกันในงานอีเวนต์ต่างๆ

เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว เทคโนโลยี Hologram (การสร้างภาพ 3 มิติ) ที่ทำเป็นรูปคนออก เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เป็นจุดเริ่มต้นของ Metaverse ต้องใช้ความเร็วของเครือข่ายระดับ Terabit PER Second (1000 Gbps) แต่ในปัจจุบันมี Codec (การบีบอัดข้อมูล) ทำให้ใช้ความเร็วเครือข่ายลดลงก็ได้ภาพ Hologram ที่มีคุณภาพดี

สำหรับโลก Metaverse นั้นคือการที่มี Avatar (ตัวแทนตัวตนในโลกเสมือน) แบบ 3 มิติ ในอีกโลกหนึ่ง เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เครือข่ายในระดับ Multi-Terabit PER Second (มากกว่า 1000 Gbps) เพื่อประมวลผลด้านข้อมูล (Data)

ขณะที่องค์กรขนาดใหญ่ในไทยนั้นยังใช้เครือข่ายอยู่ที่ 40 Gbps ส่วน Data Center ใช้อยู่ที่ 100 Gbps

ทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย กล่าวว่า ทุกวันนี้องค์กรใหญ่ๆ ในไทยเพิ่งเริ่มมองหาเครือข่ายระดับ 400 Gbps กัน ขณะที่ Cisco สามารถทำเป็น Commercialize แล้ว ปัจจุบัน Cisco กำลังทดลองเครือข่ายระดับ 800 Gbps แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นของการทำ Super Real Image ได้ เพราะฉะนั้นกว่าจะเป็นโลกเสมือนที่ทุกอย่างเหมือนกับโลกจริง จะต้องใช้เครือข่ายมหาศาล และผู้ให้บริการทุกที่จะใช้เครือข่าย แค่ 400 Gbps ไม่ได้ แต่จะต้องใช้ระดับ Multi-Terabit ในการทำ ซึ่งส่วนตัวมองว่าต้องใช้เวลา 3-5 ปี ถึงจะมีความพร้อม

อีกส่วนหนึ่งที่ต้องใช้เวลาคือ เครือข่ายระดับ 400 Gbps มันเป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยี เพราะมันมีความร้อนมากกว่าเครือข่าย 100 Gbps มาก จึงต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงซึ่งมีอยู่ไม่กี่ราย ขณะที่ Cisco เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการที่เพิ่งเข้ามาพัฒนาในช่วงทดสอบเครือข่ายที่มีความเร็วมากกว่า 400 Gbps

ฮาร์ดแวร์ ปัจจัยหนุนให้คนเข้าสู่โลก Metaverse

ปัจจุบันจะเห็นว่าคนเริ่มเข้าไปจับจองพื้นที่ในโลก Metaverse กันมากมาย ซึ่งการซื้อที่เหล่านี้ก็เพื่อให้คนทั่วไปหรือผู้ประกอบการ สามารถเข้าไปเปิดร้านใน Metaverse ได้ เข้าไปทดลองสินค้าในโลกเสมือน ก่อนตัดสินใจซื้อและรอสินค้ามาส่งที่บ้าน

เมื่อถามว่าต้องใช้เวลาขนาดไหน ทวีวัฒน์ ให้ความเห็นว่า ต้องมาดูว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไรที่เข้ามาสแกนร่างกายคนให้เหมือนจริง และเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนได้ และสามารถทดลองใส่เสื้อผ้าได้ในโลกเสมือน จะต้องใช้ความแรงของเซิร์ฟเวอร์ระดับไหน เพราะความแรงของเซิร์ฟเวอร์นั้นจะต้องไล่ตามจำนวนผู้ใช้ให้ทัน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะต้องใช้เวลาอีกหลายปี แต่ในเมื่อทุกคนกำลังก้าวสู่โลก Metaverse กันหมด Cisco เองก็จะนำคอนเซปต์เหล่านี้มาใช้ อาจจะเริ่มแค่ “กล้องอัจฉริยะ” ที่เมื่อสวมแล้วจะสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มคนที่เข้ามาประชุมร่วมกันในห้องประชุมเสมือน

ซึ่งแพลตฟอร์ม Metaverse ที่จะไปต่อได้ในอนาคต มันขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้ (User) เช่น Facebook ที่วางแผนจะสร้างโลก Metaverse เพราะเขามั่นใจว่ามีผู้ใช้อยู่ในมือมาก ขณะเดียวกันผู้ที่ใช้ Facebook ก็อาจจะใช้ Google และ Microsoft อยู่ด้วย เพราะฉะนั้นถ้า 2 บริษัทนี้สร้างโลก Metaverse ขึ้นมา ก็จะเกิดโลกเสมือนมาอีกหลายโลก ด้านผู้ใช้ก็จะสลับซับซ้อนกันไปในแต่ละโลก

“แต่ส่วนตัวมองว่า โลก Multiverse ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากหลายบริษัท อาจจะเชื่อมต่อกันได้ เหมือนกับระบบคลาวด์ในปัจจุบัน“

ด้านฮาร์ดแวร์จะเห็นว่า ถูกออกแบบมาเป็นแว่นมาโดยตลอด ซึ่งปัจจุบันผู้ใช้งาน Webex สามารถแชร์ภาพ 3D ให้ผู้ที่ใส่แว่น VR หมุนดูภาพ 3D ได้รอบ และยังมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุได้อีกด้วย

ซึ่งฮาร์ดแวร์นั้นมีส่วนกับการที่ผู้คนจะใช้ในวงกว้าง และผู้ให้บริการเองก็จะต้องใช้พลังประมวลผล (Compute Power) มากกว่าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาก เพื่อทำให้คนมีปฏิสัมพันธ์กับภาพในระดับ 3D และยังมี API ที่เชื่อมต่อกันอีกมาก

Cisco กับโลก Metaverse

ทวีวัฒน์ กล่าวว่า Cisco ไม่ได้เป็นบริษัทสร้างฝันเหมือนกับ Facebook หรือ Tesla สิ่งที่ Cisco มองคือการพัฒนาเทคโนโลยีที่อยู่ใกล้เคียงกับการนำมาใช้ได้ของมนุษย์และมีประโยชน์ อาจจะไม่ได้ไปสร้างโลก Metaverse

ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้  Cisco ได้เปิดตัวเทคโนโลยี WebexOne ที่เป็นการนำจุดเริ่มต้นของ Metaverse มาเป็นส่วนประกอบ คือ สามารถใส่แว่น และโต้ตอบกับภาพสามมิติได้ สามารถสร้างเป็น Virtual Meeting ได้

ขณะที่ยุทธศาสตร์ของ Cisco คือการเข้ามาช่วยองค์กรใน 3 เรื่อง คือ Connect, Secure และ Automate ซึ่ง Cisco มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว

ในปัจจุบันมีอุปกรณ์และเครือข่ายใหม่ๆ เข้ามามากมาย เช่นเดียวกับโลก Metaverse ที่เป็นโลกของผู้บริโภค และ องค์กร ขณะที่องค์กรใหญ่ๆ จะต้องชิงความได้เปรียบในธุรกิจ Metaverse แต่จะทำอย่างไรให้มันเชื่อมต่ออย่างปลอดภัย และเป็นอัตโนมัติ

ซึ่งการเชื่อมต่อจาก 2 โลก อาจจะป็นสิ่งที่ Cisco ทำได้ดี เช่นการเชื่อมต่อเครือข่ายจากโลกเสมือนมาโลกจริง และสร้างความปลอดภัยให้ เพราะต้องยอมรับว่า การเข้าไปทำธุรกรรมในโลก Metaverse ก็อาจจะเจอกับมิจฉาชีพ ซึ่งระบบจะต้องมีความปลอดภัยในการบริหารจัดการ

“ถึงแม้ Metaverse จะเป็นโลกเสมือน แต่มันก็ถูกขับเคลื่อนด้วยโลกทางกายภาพ (Physical) ซึ่งคือ Data Center จากทั่วโลก เพราะฉะนั้นองค์กรจะต้องคิดว่า จะบริหารจัดการข้อมูลอย่างไร ให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดี”

ภาพประกอบจาก unsplash.com

supersab

Recent Posts

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึก Edutainment และ Playland จัดแคมเปญ “The Little Campus 2024” ดันทราฟฟิกกลุ่มครอบครัว

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึกกำลังกับพันธมิตรชั้นนำด้าน Edutainment กว่า 300 สถาบัน รวมถึง Playland สุดฮิต จัดแคมเปญ The Little Campus 2024 เปลี่ยนศูนย์การค้าเซ็นทรัลให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้…

6 hours ago

เดนทิสเต้พาลิซ่าจัดงานในไทยอีกครั้ง กับ 3 กิจกรรมในงาน DENTISTE’ x LISA Exclusive After Party

เดนทิสเต้ เดินหน้านำ 3 กิจกรรมสุดยิ่งใหญ่เหนือใคร พาศิลปินระดับโลกชาวไทยอย่าง “ลิซ่า ลลิษา มโนบาล” ซึ่งเป็นหนึ่งในครอบครัวเดนทิสเต้ ในฐานะ Brand Ambassador ของประเทศไทย มาสร้างประสบการณ์สุดพิเศษให้กับแฟนๆ ชาวไทยผ่าน…

6 hours ago

เพอร์เฟค ปิดดีลขายที่ดิน 2 แปลง พร้อมออกหุ้นกู้ 2 ชุด ดอกเบี้ยสูง 7% และ 7.25%

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ปิดดีลขายที่ดิน 2 แปลง รับ 700 ล้านบาท พร้อมออกหุ้นกู้ 2 ชุด ดอกเบี้ยสูง 7% และ 7.25%…

7 hours ago

กทม. x สวทช. สสวท พัฒนาเยาวชน ในโรงเรียนภาษาที่สาม สู่นวัตกรยุค 4.0 ด้วย Digital Innovation Maker space นำร่องพื้นที่กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ชาติ (เนคเทค สวทช.) และ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติ Digital…

7 hours ago

รฟม. เผยครบรอบ 1 ปี นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ผลดีเกินคาด ทำยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT และผู้ใช้บริการอาคารจอดแล้วจรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

นายวิทยา พันธุ์มงคล รักษาการแทน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ รฟม. ได้ดำเนินการตามนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท ซึ่งเป็นหนึ่งนโยบาย Quick Win “คมนาคม…

10 hours ago

เป็นเจ้าของสถานีชาร์จฯ ง่ายนิดเดียว ชมแพคเกจสุดพิเศษจาก กฟผ.ในงาน Bangkok EV Expo 2024 ที่บูท EV3/2

กฟผ. ร่วมออกบูท EGAT EV Business Solutions (บูท EV3/2) ในงาน Bangkok EV Expo 2024 เพื่อส่งต่อความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการพัฒนาและการบริหารจัดการเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า…

10 hours ago