Technology IT

NIA ชู MINE Smart Ferry – Thai smile bus นวัตกรรมเรือและรถไฟฟ้ากับบทบาทพาผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจสู่ฝั่งฝันความยั่งยืน

ปิดฉากเป็นที่เรียบร้อยสำหรับการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC 2022) ที่ปีนี้ประเทศไทยได้รับโอกาสในการเป็นเจ้าภาพ และหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจที่สุดก็หนีไม่พ้นวาระแห่งความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดและนโยบาย “BCG Model” ของรัฐบาลไทยที่ต้องการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ประสบความสำเร็จเร็วขึ้นด้วยการเปิดพื้นที่ให้ภาคเอกชน เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ ที่มีความพร้อมและกำลังลงทุนในเทคโนโลยี มาร่วมส่งเสริมความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจกับการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยนวัตกรรม ยิ่งไปกว่านั้นการจัดประชุมครั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้ไทยได้แสดงออกถึงดีเอ็นเอทางนวัตกรรมผ่านศิลปวัฒนธรรมด้านอาหารไทย ของที่ระลึก การแสดง ฯลฯ และหนึ่งในนวัตกรรมที่มีการเปิดตัวและเรียกความน่าสนใจไม่น้อย นั่นก็คือ “นวัตกรรมยานยนต์รถและเรือไฟฟ้าเพื่อใช้รับ ส่ง ผู้เข้าร่วมการประชุมและสื่อมวลชน”

สำหรับรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า Thai smile bus และเรือไฟฟ้าโดยสาร MINE Smart Ferry ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ ประจำปี 2563 จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA องค์กรนวัตกรรมที่มีเป้าหมายผลักดันแบรนด์นวัตกรรมจากไทยให้เป็นที่ยอมรับในสายตาชาวโลก โดยนวัตกรรมดังกล่าวนับว่ามีดีเอ็นเอความเป็นไทยค่อนข้างสูง เนื่องจากเชื่อมโยงกับวิถีความผูกพันของการเดินทางทางสายน้ำ มีความประณีตในเชิงความคิด สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงไปกับบริบทสังคมได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนได้รู้จักกับ 2 นวัตกรรมนี้ได้ดียิ่งขึ้น วันนี้ NIA จึงขอพาไปเปิดความว้าวของรถและเรือไฟฟ้าที่เพิ่งเสร็จสิ้นภารกิจ พา 21 ผู้นำเขตเศรษฐกิจบรรลุเป้าหมายแห่งความยั่งยืน

“THAI SMILE BUS – MINE SMART FERRY ยานยนต์ไฟฟ้าฝีมือคนไทย บริการด้วยใจ ห่วงใยสิ่งแวดล้อม”

ระบบขนส่งสาธารณะเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อภูมิอากาศของโลก เนื่องจากมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เห็นได้จากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ COP26 ที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามโดยมีการกล่าวถึงข้อตกลงสัญญาที่มุ่งเน้นแก้ปัญหาและลดภาระด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change จากข้อกำหนดดังกล่าวทำให้กระทรวงคมนาคมมีนโยบายที่จะนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยมากขึ้น ตามเป้าหมายของภาครัฐที่ต้องการเชื่อมต่อการเดินทางทั้งรถ ราง เรือ ให้มีระดับมาตรฐานการบริการที่ใกล้เคียงกัน

NIA เปิดภารกิจ 13 ปี กับการเชื่อมนวัตกรรมไทยไปถึงระดับท็อปของโลก

ทั้งนี้ ถือเป็นจังหวะเหมาะสมที่ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน) หรือ EA และกลุ่มบริษัทพันธมิตรจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนและสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านคมนาคมของไทย โดยการดำเนินธุรกิจด้านอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เช่น “สถานีให้บริการอัดประจุไฟฟ้า EA Anywhere” ที่มีมากกว่า 430 สถานี รวมทั้งสิ้นกว่า 1,800 หัวชาร์จ ตั้งแต่ระบบธรรมดา (AC Charger) ไปจนถึงระบบชาร์จเร็ว และทันสมัยที่สุด หรือ DC Ultra-Fast Charge ที่ใช้เวลาเพียง 15-20 นาที และโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแบบครบวงจร ที่มีความทันสมัยและใหญ่ที่สุดในอาเซียน ภายใต้ชื่อ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีกำลังผลิต 1 กิ๊กกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ทั้งหมดนี้จะเกิดอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ที่จะเข้ามาเสริมสายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยให้เติบโตขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล

นอกจากนี้ ยังผลิตรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า “Thai smile bus” จำนวน 500 คัน ให้บริการโดย บริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด ตามเส้นทางในพื้นที่เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เช่น สาย 8 แฮปปี้แลนด์ – สะพานพุทธ สาย 12 พระประแดง – บางลำพู และสาย 17 พระประแดง – อนุสาวรีย์ชัยฯ ซึ่งภายในปี 2566 จะผลิตรถบัส EV เพิ่มอีกประมาณ 2,500 – 3,000 คัน เพื่อมาวิ่งให้บริการแทนรถร่วมใน 117 เส้นทาง

โดยตั้งเป้ากำลังการผลิตของโรงงานที่มีอยู่ให้สามารถผลิตรถได้ปีละ 5,000 คัน และ “เรือไฟฟ้าโดยสาร MINE Smart Ferry” จำนวน 23 ลำ ให้บริการโดย บริษัท อี สมาร์ท ทรานสปอร์ต จำกัด ใน 3 เส้นทาง คือ สาย Urban Line พระนั่งเกล้า – สาทร สาย Metro Line สะพานพระราม 7 – วัดวรจรรยาวาส และ City Line สายสีเขียว พระปิ่นเกล้า – สาทร เพื่อรองรับการบริการในระบบขนส่งโดยสารสาธารณะของไทยให้มีมาตรฐานเดียวกัน และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงทุกระบบบริการขนส่งได้อย่างเท่าเทียม ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยเทียบเท่าสากล เนื่องจากมีการใช้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน IP68 เช่นเดียวกับที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผลิตที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ และบริษัท อมิตา เทคโนโลยี(ไต้หวัน) ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตแบตเตอร์รี่ไฟฟ้ามานานกว่า 10 ปี แถมยังช่วยประหยัดพลังงาน เพราะเป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่มีวงจรการผลิตพลังงานทดแทน สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้ร้อยละ 30 – 40 ทำให้ระบบเศรษฐกิจของไทยในส่วนของภาคการขนส่งปรับตัวได้รวดเร็วมากขึ้น

“EA ส่งยานยนต์ไฟฟ้ารองรับคณะผู้เข้าร่วมประชุม APEC 2022 โชว์ศักยภาพนวัตกรรมไทยในเวทีโลก”

นาวาโท ปริญญา รักวาทิน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อี สมาร์ท ทรานสปอร์ต จำกัด กล่าวว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC 2022) ที่ผ่านมานั้น บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน) และและกลุ่มบริษัทพันธมิตร ร่วมกับกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดโปรแกรมท่องเที่ยวสำหรับสื่อมวลชนและผู้แทน APEC 2022 ด้วยรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า “Thai smile bus” โดยเดินทางจากศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ไปท่าเรือ cat tower เพื่อล่องเรือไฟฟ้า MINE Smart Ferry ชมความงามของปรากฎการณ์แห่งแสงสีริมแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมเก็บภาพประทับใจกับสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญริม 2 ฝั่งแม่น้ำ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในฐานะพันธมิตรด้านการสื่อสารการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค

“การประชุมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยจะได้นำนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นโดยฝีมือคนไทย 100% ตั้งแต่การผลิตแบตเตอร์รี่ การประกอบรถบัส EV และการต่อเรือ ไปนำเสนอให้ทั่วโลกได้รับรู้ว่าประเทศไทยมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่พร้อมสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาคเอกชนมีการพัฒนาและความพร้อมมากพอที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน หากมองในกลุ่มประเทศอาเซียน เชื่อว่า EA และบริษัทพันธมิตร มีความพร้อมที่จะรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี เพราะเรามีธุรกิจที่เป็นห่วงโซ่การผลิตของระบบยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งสถานีให้บริการอัดประจุไฟฟ้าที่เป็นระบบชาร์จเร็วของเรือไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถชาร์จไฟได้ 800 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ภายใน 15 นาที โดยในปี 2566 ตั้งเป้าจะเพิ่มสถานีให้บริการอัดประจุไฟฟ้าให้ครบ 700 สถานี เพื่อรองรับตลาดยานยนต์ไฟฟ้าส่วนตัวที่เติบโตขึ้นต่อเนื่อง”

supersab

Recent Posts

บางจากฯ ย้ำความพร้อม เดินหน้าผลิตน้ำมันอากาศยานยั่งยืน “SAF” 100% รายแรกในไทย ชูวัตถุดิบในประเทศ ลดคาร์บอนภาคการบิน

บางจากฯ ประกาศความพร้อมเต็มสูบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) 100% รายแรกของประเทศไทย ด้วยวัตถุดิบจากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว (Used Cooking Oil: UCO) และวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ภายใต้มาตรฐานสากล…

3 hours ago

MK ประกาศแผนชำระคืนหุ้นกู้ 3,383 ล้าน ตามกำหนด ตอกย้ำสถานะทางการเงินแข็งแกร่งหลังปรับโครงสร้าง

บมจ.มั่นคงเคหะการ หรือ MK ประกาศแนวทางชำระคืนหุ้นกู้คงค้างรวมทั้งหมด 3,383 ล้านบาท โดยมีกำหนดชำระในช่วงระหว่างปี 2568 และ 2569 พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและผู้ถือหุ้นกู้ ปูทางสู่ความมั่นคงระยะยาว หลังจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจครั้งสำคัญ มุ่งเน้นธุรกิจสร้างรายได้ประจำ ภายใต้เรือธงหลักอย่าง…

5 hours ago

รฟม.มอบโอกาสแห่งการเรียนรู้ “ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน”ให้กับน้องๆ โรงเรียนตามแนวสายรถไฟฟ้ามหานคร ในกิจกรรม MRTA Rail Journey

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (ด้านขนส่ง) ในฐานะประธานอนุกรรมการบริหาร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิศิษฐ์ แสง-ชูโต อนุกรรมการบริหาร รฟม. และคณะผู้บริหาร รฟม. เข้าร่วมกิจกรรม…

5 hours ago

ทรูฯ เร่งเครื่องเซฟสัญญาณทั่วไทย! หลังแผ่นดินไหวสะเทือนกรุง

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่มีศูนย์กลางในประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เร่งส่งทีมวิศวกรโครงข่ายเข้าตรวจสอบเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือทั่วประเทศอย่างเร่งด่วน…

6 hours ago

ฟอร์ติเน็ต ผนึกกำลัง ม.สงขลานครินทร์ ปั้นยอดฝีมือไซเบอร์ ป้อนตลาดแรงงาน

ท่ามกลางภัยไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรง ฟอร์ติเน็ต จับมือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) สร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ! ด้วยการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) เพื่อยกระดับทักษะความรู้ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ให้แก่นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมไฟฟ้า (แขนงวิชาไฟฟ้าสื่อสาร) ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก ภารกิจครั้งนี้ไม่ได้เป็นเพียงการถ่ายทอดองค์ความรู้…

6 hours ago

This website uses cookies.