ทำความรู้จักกับ O-GA กับผลงานเครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายและผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ผลงานของนักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์ ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คว้ารางวัลชนะเลิศประจำปี 2566 เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขัน James Dyson Award ในระดับนานาชาติต่อไป และ Radiostent อีกหนึ่งทีมมากความสามารถในตำแหน่งรางวัลรองชนะเลิศประเทศไทย ที่มุ่งมั่นช่วยผู้ป่วยเนื้องอกสมองให้เข้าถึงการรักษาได้ดียิ่งขึ้น
O-GA แก้ปัญหาเชื้อเพลิงการเกษตรอย่างยั่งยืน
หากมาดูสถิติเดือนมกราคม ปี 2566 จะพบว่า ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบมากขึ้นเป็น 92% ในขณะที่การผลิตน้ำมันดิบภายในประเทศลดลงเหลือ 8% ส่งผลให้ราคาเชื้อเพลิงภายในประเทศผันผวนตามราคาโลก ขณะที่เกษตรกรภายในประเทศไทยประสบปัญหาเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับการเกษตรมีราคาแพง ส่งผลให้ราคาของสินค้าเกษตรสูงขึ้นตามต้นทุนด้วย
O-GA เห็นปัญหาดังกล่าง จึงมุ่งเน้นไปที่การช่วยลดผลกระทบจากปัญหาราคาเชื้อเพลิงสูง ที่ส่งผลโดยตรงต่อเกษตรกรชาวไทย จนริเริ่มโครงการเพื่อพัฒนาทางเลือกด้านพลังงานให้เกษตรกรชาวไทย โดยเครื่องเพาะเลี้ยงสาหร่ายและผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ซึ่งเป็นโซลูชันที่นำเสนอเชื้อเพลิงในราคาที่สามารถเข้าถึงได้ให้แก่ชุมชนที่ห่างไกลในประเทศไทย
“ภาคการเกษตรของไทยจำเป็นต้องพึ่งพาไบโอดีเซลจำนวนมาก เราจึงมองหาพืชที่จะมาทดแทนการใช้น้ำมันได้มากที่สุด” น้อง ๆ จากทีม O-GA กล่าว
O-GA (โอก้า) คือชื่อของเครื่องจักรแบบ All-In-One ทำหน้าที่เพาะเลี้ยงสาหร่าย สกัดสาหร่ายเป็นน้ำมันไบโอดีเซล และเป็นเครื่องจ่ายน้ำมันแก่ผู้ใช้ ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากการนำหัวเชื้อสาหร่ายไปเพาะเลี้ยงในหลอดเลี้ยงเป็นระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อสาหร่ายเติบโตและเพิ่มปริมาณจนมีจำนวนมากเพียงพอแล้วสาหร่ายจะถูกนำไปเข้าสู่ระบบการสกัดและกระบวนการทางเคมีเพื่อผลิตน้ำมันไบโอดีเซล หลังจากนั้นน้ำมันไบโอดีเซลที่ได้จะถูกเก็บในถังเก็บและแจกจ่ายแก่ผู้ใช้ผ่านหัวจ่ายต่อไป
“ที่เราพัฒนาเป็นเครื่องแบบ All-In-One เพราะเราอยากตัดวงจรด้านโลจิสติกต์หรือเรื่องการขนส่งต่าง ๆ ทิ้งไป และตั้ง O-GA เครื่องเดียวก็สามารถผลิตได้เลย”
ซึ่งทีม O-GA ยังคิดต่อยอดด้วยว่า ปกติเครื่องจักรตัวนี้จะต้องวางไว้กลางแจ้งเพื่อให้สาหร่ายรับแสงและเติบโตได้ แต่หากเป็นช่วงที่ฟ้าครึ้มไม่มีแสงแดด ก็สามารถใช้แสงจากหลอดไฟ LED เข้ามาทดแทนได้ อีกส่วนคือ การใช้งานในชนทบอาจจะมีปัญหาเรื่องไฟฟ้าบ้าง ก็มีแผนจะเชื่อมพลังงานกับแผงโซลาร์เซลล์ กังหันลม หรือพลังงานสะอาดอื่นๆ ที่นำมาปั่นเป็นไฟฟ้าได้
“ในอนาคตหากเทคโนโลยีไปถึง เราเชื่อว่านวัตกรรมของเราไม่ใช่แค่พลังงานทดแทน แต่จะกลายเป็นพลังงานหลักได้ เข้ามาสร้างความยั่งยืนให้กับโลกได้” น้อง ๆ จากทีม O-GA กล่าว
สรวิศ อุปฌาย์ หนึ่งในสมาชิกทีมผู้ออกแบบ O-GA กล่าวในตอนท้ายว่า “เราดีใจมากที่ผลงานในห้องเรียนของทีมเราได้รับรางวัลชนะเลิศ และสามารถนำเสนอในระดับนานาชาติได้ ทำให้เห็นว่าคนไทยก็มีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ไม่แพ้ใคร”
ทั้งนี้ ทีมผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ James Dyson Award ระดับชาติจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 220,000 บาทเพื่อเป็นทุนในการพัฒนาผลงานต่อไป โดยหลังจากได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับประเทศแล้ว O-GA จะเป็นตัวแทนจากประเทศไทยในการประกวดรางวัลในระดับนานาชาติซึ่งจะประกาศผู้เข้ารอบภายในวันที่ 18 ตุลาคม 2566 นี้
Radiostent มุ่งมั่นแก้ปัญหาโรคเนื้องอกในสมอง
อีกหนึ่งผลงานที่น่าประทับใจของการแข่งขันในประเทศไทยครั้งนี้ คือ Radiostent ที่ได้รางวัลรองชนะเลิศในประเทศไทย
ที่มาของการพัฒนา Radiostent สืบเนื่องมาจากการรักษาเนื้องอกในสมองในปัจจุบันเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาล ประกอบกับโรงพยาบาลในประเทศไทยยังขาดแคลนอุปกรณ์การรักษาโรคเนื้องอกในสมองอย่างทั่วถึง ทำให้ผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมองที่รับการรักษาด้วยวิธีการเคมีบำบัดต้องเดินทางเข้ามาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครเพื่อรับการรักษา
ซึ่ง Radiostent เป็นนวัตกรรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในประเทศไทย โดยการทำงานนั้นเป็นการผสานรวมการรักษาเนื้องอกด้วยการฝังแร่กัมมันตรังสีแบบดั้งเดิมเข้ากับเทคโนโลยีการใส่ขดลวดในเส้นเลือด เป็นการรักษาทางเลือกที่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเปิดแผลขนาดใหญ่ นอกจากนั้นการฝังตัว Radiostent ในบริเวณเนื้องอกทำให้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามารับการรักษาเคมีบำบัดบ่อยครั้ง อีกทั้งการรักษาเนื้องอกด้วย Radiostent จะเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าการรักษาแบบเคมีบำบัดอีกด้วย
“เราเชื่อว่านวัตกรรมนี้จะถูกนำมาใช้รักษาทางการแพทย์ได้จริง Radiostent จะเข้ามาช่วยลดเวลาการผ่าตัด และยังลดอัตราการติดเชื้อได้ เพราะไม่จำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่ เพียงแค่ใช้สายสวนเข้าไป ด้านคนไข้จะฟื้นตัวได้เร็วขึ้น สำหรับการพัฒนา Radiostent เบื้องต้นเรากำลังมองหาพื้นที่สำหรับทดลอง คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี เพื่อทดลองกับสัตว์ทดลอง ส่วนการทดลองกับคนจะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 3 ปี รวมแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 5 ปี เพื่อพัฒนา”
James Dyson Award
เป็นงานประกวดที่สนับสนุนให้วิศวกรใช้ความรู้ในการค้นหาหนทางที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้นผ่านเทคโนโลยี ซึ่งในปี 2566 นี้ มีทีมเข้าร่วมแข่งขันทั่วโลกมากกว่า 1,969 ทีม และมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึง 216 ทีม จาก 42 มหาวิทยาลัย
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…